การท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น ได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 19,730,000 คนในปี ค.ศ. 2015 [1] ประเทศญี่ปุ่นมีมรดกโลก 19 แห่ง ซึ่งรวมทั้งปราสาทฮิเมะจิ, อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เคียวโตะโบราณ และอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์นะระโบราณ สถานที่ท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาตินิยม ได้แก่ โตเกียวและฮิโระชิมะ, ภูเขาฟุจิ, สกีรีสอร์ท เช่น นิเซะโกะ ในจังหวัดฮกไกโด, จังหวัดโอะกินะวะ, นั่งการนั่งรถไฟชิงกันเซ็ง ตลอดจนมีความได้เปรียบจากโรงแรมของญี่ปุ่น รวมถึงการแช่บ่อน้ำร้อน
ประวัติศาสตร์
[แก้]ต้นกำเนิดของประเพณีการเยี่ยมชมเมืองที่งดงามยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การเที่ยวชมสถานที่ในช่วงต้น คือการเดินทางในปี ค.ศ. 1689 ของมะสึโอะ บะโช ไปยัง"เหนือสุด"ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่ฮะยะชิ ระซัง ได้จัดไตรทรรศน์แห่งญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1643 ในช่วงยุคเอะโดะของญี่ปุ่น จากประมาณ ค.ศ. 1600 สู่การฟื้นฟูเมจิในปี ค.ศ. 1867 การเดินทางได้รับการวางระเบียบภายในประเทศโดยการใช้ชูกุบะหรือสถานีหลัก ซึ่งเป็นชุมชนที่นักท่องเที่ยวจะต้องนำเสนอเอกสารที่เหมาะสม แม้จะมีข้อจำกัดเหล่านี้ แต่ก็มีที่ทำการคนขนของและคอกม้า, เช่นเดียวกับสถานที่สำหรับที่พักและอาหาร ที่มีอยู่ในเส้นทางอยู่พอสมควร ในช่วงเวลานี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ปิดประเทศจากชาวต่างชาติ จึงไม่มีการท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
หลังจากการฟื้นฟูเมจิและการสร้างเครือข่ายทางรถไฟแห่งชาติ กิจการท่องเที่ยวกลายมาเป็นโอกาสมากขึ้นในราคาที่ไม่แพงสำหรับประชาชนในประเทศ และผู้มาเยือนจากต่างประเทศก็สามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ยอมรับความจำเป็นในการจัดระบบเพื่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในชื่อ คิฮินไก (貴賓会) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการประสานงานในการท่องเที่ยว โดยได้ก่อตั้งในปีดังกล่าว กับการอำนวยพรโดยนายกรัฐมนตรีอิโต ฮิโระบุมิ โดยผู้นำในช่วงต้นประกอบด้วยชิบุซะวะ เออิชิ และเอะคิดะ ทะกิชิ อีกก้าวสำคัญในการพัฒนาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นคือปี ค.ศ. 1907 ที่มีกฎหมายการพัฒนาโรงแรม ซึ่งเป็นผลมาจากกระทรวงทางรถไฟเริ่มก่อสร้างโรงแรมที่สาธารณชนเป็นเจ้าของทั่วประเทศญี่ปุ่น[2]
สถิติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 2015 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศญี่ปุ่น 19,737,409 คน[3]
อันดับ | ประเทศ | จำนวน (คน) | อัตราการเปลี่ยนแปลง |
---|---|---|---|
1 | จีน | 4,993,689 | 107.3% |
2 | เกาหลีใต้ | 4,002,095 | 45.3% |
3 | ไต้หวัน | 3,677,075 | 29.9% |
4 | ฮ่องกง | 1,524,292 | 64.6% |
5 | สหรัฐ | 1,033,258 | 15.9% |
6 | ไทย | 796,731 | 21.2% |
7 | ออสเตรเลีย | 376,075 | 24.3% |
8 | สิงคโปร์ | 308,783 | 35.5% |
9 | มาเลเซีย | 305,447 | 22.4% |
10 | ฟิลิปปินส์ | 268,361 | 45.7% |
11 | สหราชอาณาจักร | 258,488 | 17.5% |
12 | แคนาดา | 231,390 | 26.5% |
ทุกประเทศ | 19,737,409 | 47.1% |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Visitors to Japan surge to record 19.73 million, spend all-time high ¥3.48 trillion
- ↑ Leheny, David Richard. The Rules of Play: National Identity and the Shaping of Japanese Leisure. Cornell University Press. p. 59. ISBN 0-8014-4091-2.
- ↑ 2015年推計値 เก็บถาวร 2016-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Japan National Tourism Organization