การจัดการภาวะวิกฤต
การจัดการภาวะวิกฤต (อังกฤษ: crisis management) คือกระบวนการที่องค์กรจัดการกับเรื่องยุ่งและเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ที่อาจคุกคามสู่ความอันตรายขององค์กรหรือผู้มีผลประโยชน์[1] การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการภาวะวิกฤตเริ่มต้นขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมและหายนะทางสิ่งแวดล้อมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980[2][3] และยังถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการประชาสัมพันธ์[3]
สามองค์ประกอบของภาวะวิกฤตคือ (1) คุกคามต่อองค์กร, (2) มีส่วนประกอบที่สร้างความประหลาดใจ และ (3) ต้องใช้การตัดสินใจในระยะเวลาสั้น ๆ[4] แต่เวเนตต์แย้งว่า "วิกฤตเป็นกระบวนการที่แปรเปลี่ยนที่ระบบเก่าไม่สามารถคงอยู่ได้ ดังนั้นคุณลักษณะนิยามที่ 4 คือ ต้องการ การเปลี่ยนแปลง หากไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์นั้นอาจนิยามได้อย่างถูกต้องมากกว่า ว่าเป็นความล้มเหลวหรืออุบัติการณ์"[5]
ในทางกลับกัน การบริหารความเสี่ยง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินแนวโน้มสิ่งคุกคามและหาหนทางที่ดีที่สุดเพื่อหนีปัญหาเหล่านั้น การจัดการภาวะวิกฤตเกี่ยวข้องกับการจัดการก่อน ระหว่าง และหลังสิ่งคุกคาม ที่ประสบ มีข้อบังคับความสำคัญต่อบริบทในการจัดการ อันประกอบด้วยความชำนาญและเทคนิคที่จะบ่งชี้ ประเมิน เข้าใจ และรับมือกับสถานการณ์อันตึงเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงในเริ่มเกิดขึ้น ไปถึงจุดขั้นตอนการฟื้นฟู
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bundy, J.; Pfarrer, M. D.; Short, C. E.; Coombs, W. T. (2017). "Crises and crisis management: Integration, interpretation, and research development". Journal of Management. 43 (6): 1661–1692. doi:10.1177/0149206316680030.
- ↑ Shrivastava, P. Mitroff, I.I., Miller, D. and A. Miglani, " Understanding industrial crises".Journal of Management Studies, 1988, 25, 4, 285-304.
- ↑ 3.0 3.1 ASIS International, "Organizational Resilience: Security, Preparedness, and Continuity Management Systems-Requirements with Guidance for Use, ASIS SPC.1-2009, American National Standard", 2009
- ↑ Seeger, M. W.; Sellnow, T. L.; Ulmer, R. R. (1998). "Communication, organization and crisis". Communication Yearbook. 21: 231–275.
- ↑ Venette, S. J. (2003). Risk communication in a High Reliability Organization: APHIS PPQ's inclusion of risk in decision making. Ann Arbor, MI: UMI Proquest Information and Learning.