การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกรีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกรีก
พลเรือนชาวกรีกต่างโศกเศร้าเสียใจกับญาติที่เสียชีวิตไป เหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในเมืองอิซเมียร์, ปี ค.ศ. 1922
สถานที่จักรวรรดิออตโตมัน
วันที่1913–1922
เป้าหมายประชากรชาวกรีก, โดยเฉพาะมาจากพอนตัส, แคปพาโดเชีย, ไอโอเนีย และดินแดนตุรกีฝั่งยุโรป
ประเภทการเนรเทศ, สังหารหมู่, การเดินขบวนแห่งความตาย, อื่นๆ
ตาย450,000–750,000 คน (ดูที่ จำนวนผู้เสียชีวิต ด้านล่าง)
ผู้ก่อเหตุจักรวรรดิออตโตมัน, ขบวนการแห่งชาติตุรกี
เหตุจูงใจความรู้สึกต่อต้านชาวกรีก, Turkification

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกรีก(กรีก: Γενοκτονία των Ελλήνων, Genoktonia ton Ellinon), รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พอนติก เป็นการสังหารอย่างเป็นระบบต่อประชาชนชาวกรีกออตโตมันที่นับถือศาสนาคริสต์ที่ดำเนินในอนาโตเลียในช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914 - 1922) บนพื้นฐานมาจากศาสนาและเชื้อชาติของพวกเขา[1] โดยมีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลจักรวรรดิออตโตมันและขบวนการแห่งชาติตุรกีที่ต่อต้านประชากรชาวกรีกในจักรวรรดิและรวมทั้งการสังหารหมู่ การบังคับเนรเทศที่เกี่ยวข้องด้วยการเดินขบวนแห่งความตาย การขับไล่อย่างเร่งรัด การประหารชีวิตตามอำเภอใจ และการทำลายวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ทางศาสนาของนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[2] ตามที่มีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ประชากรชาวกรีกออตโตมันหลายแสนคนล้วนเสียชีวิตในช่วงสมัยนั้น[3] ส่วนใหญ่ของผู้ลี้ภัยและผู้รอดชีวิตได้หลบหนีไปยังกรีซ (เพิ่มมากกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนประชากรชาวกรีซก่อนหน้านี้)[4] บางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดทางด้านตะวันออก ได้ลี้ภัยไปอยู่ในจักรวรรดิรัสเซียที่อยู่ใกล้เคียง

ในปลาย ค.ศ. 1922 ชาวกรีกส่วนใหญ่ในเอเชียน้อยล้วนหลบหนีหรือไม่ก็ถูกฆ่าตาย[5] ส่วนที่เหลือได้ย้ายไปยังกรีซภายใต้เงื่อนไขของการแลกเปลี่ยนประชากรระหว่างชาวกรีกและชาวตุรกีใน ค.ศ. 1923 ซึ่งทำให้การอพยพอย่างเป็นทางการและขัดขวางการกลับมาของผู้ลี้ภัย กลุ่มเชื้อชาติอื่น ๆ ก็ถูกโจมตีเหมือนกันโดยจักรวรรดิออตโตมันในช่วงสมัยนั้น รวมทั้งชาวอัสซีเรียและชาวอาร์มีเนีย และนักวิชาการบางคนและบางองค์กรได้ยอมรับเหตุการณ์เหล่านี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุเดียวกัน[6][7][8][9][10]

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ประณามการสังหารหมู่ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออตโตมัน เมื่อไม่นานมานี้ในปี ค.ศ. 2007 สมาคมระหว่างประเทศของนักวิชาการการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุได้มีการลงมติในการยอมรับอย่างแน่วแน่ว่า การรณรงค์ของออตโตมันต่อชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริตส์ รวมทั้งชาวกรีก เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[7] องค์กรอื่นๆ บางแห่งก็มีมติในการยอมรับอย่างแน่วแน่ว่า การรณรงค์ของออตโตมันต่อชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริตส์ เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เช่นเดียวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติของกรีซ[11][12][13] ไซปรัส[14] สหรัฐอเมริกา[15][16][17][18] สวีเดน[19][20] อาร์มีเนีย[21] เนเธอร์แลนด์[22][23] เยอรมนี[24][25] ออสเตรีย[26][27] และสาธารณรัฐเช็ก[28][29][30]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jones, Adam (2010). Genocide: A Comprehensive Introduction. Routledge. p. 163. ISBN 978-1136937972.
  2. I. Law (17 October 2014). Mediterranean Racisms: Connections and Complexities in the Racialization of the Mediterranean Region. Palgrave Macmillan UK. p. 54. ISBN 978-1-137-26347-6.
  3. Jones 2006, pp. 154–55.
  4. Howland, Charles P. "Greece and Her Refugees", Foreign Affairs, The Council on Foreign Relations. July 1926.
  5. Matthew J. Gibney, Randall Hansen. (2005). Immigration and Asylum: from 1900 to the Present, Volume 3. ABC-CLIO. p. 377. ISBN 978-1-57607-796-2. The total number of Christians who fled to Greece was probably in the region of I.2 million with the main wave occurring in 1922 before the signing of the convention. According to the official records of the Mixed Commission set up to monitor the movements, the "Greeks' who were transferred after 1923 numbered 189,916 and the number of Muslims expelled to Turkey was 355,635 [Ladas I932, 438–439; but using the same source Eddy 1931, 201 states that the post-1923 exchange involved 192,356 Greeks from Turkey and 354,647 Muslims from Greece].
  6. Jones 2010, pp. 171–2: ‘A resolution was placed before the IAGS membership to recognize the Greek and Assyrian/Chaldean components of the Ottoman genocide against Christians, alongside the Armenian strand of the genocide (which the IAGS has already formally acknowledged). The result, passed emphatically in December 2007 despite not inconsiderable opposition, was a resolution which I co-drafted, reading as follows:...’
  7. 7.0 7.1 "Resolution" (PDF). IAGS. 16 December 2007. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.[ลิงก์เสีย].
  8. "Genocide Resolution approved by Swedish Parliament", News (full text), AM, containing both the IAGS and the Swedish resolutions.
  9. Schaller, Dominik J; Zimmerer, Jürgen (2008). "Late Ottoman genocides: the dissolution of the Ottoman Empire and Young Turkish population and extermination policies – Introduction". Journal of Genocide Research. 10 (1): 7–14. doi:10.1080/14623520801950820.
  10. Gaunt, David (2006), Massacres, Resistance, Protectors: Muslim-Christian Relations in Eastern Anatolia during World War I, Piscataway, NJ: Gorgias, ISBN 9781593333010[ลิงก์เสีย]
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ETGRMay19
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GreekReporter
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ETGRSep14
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MOI
  15. "Text - H.Res.296 - 116th Congress (2019-2020): Affirming the United States record on the Armenian Genocide". 29 October 2019.
  16. "Text - S.Res.150 - 116th Congress (2019-2020): A resolution expressing the sense of the Senate that it is the policy of the United States to commemorate the Armenian Genocide through official recognition and remembrance". 12 December 2019.
  17. https://www.nytimes.com/2019/10/29/us/politics/armenian-genocide-resolution.html
  18. "US House says Armenian mass killing was genocide". BBC News. 30 October 2019.
  19. "Sweden to recognize Armenian genocide". thelocal.se. 2010. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  20. "Sweden: Parliament Approves Resolution on Armenian Genocide". loc.gov. 2010. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  21. "Adoption of declaration to certify that Armenia recognizes Greek and Assyrian genocide: Eduard Sharmazanov". armenpress.am. 2015. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  22. "Dutch Parliament Recognizes Greek, Assyrian and Armenian Genocide". greekreporter.com. 2015. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  23. "Dutch Parliament Recognizes Assyrian, Greek and Armenian Genocide". aina.org. 2015. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  24. "German Bundestag recognizes the Armenian Genocide". armradio.am. 2016. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  25. "Bundestag calls Turkish crimes against Armenians genocide". b92.net. 2016. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  26. "Austrian Parliament Recognizes Armenian, Assyrian, Greek Genocide". aina.org. 2015. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  27. "Austrian Parliament Recognizes Armenian Genocide". MassisPost. 2015. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  28. "Czech Parliament Approves Armenian Genocide Resolution". The Armenian Weekly. 2017. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017.
  29. "Czech Republic recognizes the Armenian Genocide". ArmenPress. 2017. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017.
  30. "Czech Republic Parliament recognizes the Armenian Genocide". ArmRadio. 2017. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017.