การค้าโดยชอบธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การค้าที่เป็นธรรม)
การค้าระหว่างประเทศ
ประวัติการค้าระหว่างประเทศ
มุมมองการเมือง
การค้าโดยชอบธรรม
การค้าเสรี
การค้าคุ้มกัน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การให้สิทธิพิเศษทางการค้า
เขตการค้าเสรี
สหภาพศุลกากร
ตลาดร่วม
สหภาพทางเศรษฐกิจ

การค้าที่เป็นธรรม, การค้าโดยชอบธรรม หรือ แฟร์เทรด (อังกฤษ: fair trade) เป็นการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ ความยุติธรรมในการค้า สนับสนุนมาตรฐานสากลในเรื่อง แรงงาน สิ่งแวดล้อม และสังคม สำหรับสินค้าและบริการ โดยเฉพาะที่ส่งออกมาจากประเทศโลกที่สามและโลกที่สอง ไปยังประเทศโลกที่หนึ่ง. มาตรฐานเหล่านี้อาจเป็นแบบสมัครใจ หรือแบบที่บังคับโดยรัฐบาลหรือองค์กรระหว่างประเทศ

ชื่อของแฟร์เทรดนั้น เป็นการล้อ ฟรีเทรด (free trade - การค้าเสรี)

สำหรับในเอเชียนั้น เมื่อ พ.ศ. 2546 นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในขณะนั้น ได้กล่าวสุนทรพจน์แก่ที่ประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค (APEC CEO Summit) ในหัวข้อ "ความท้าทายต่อกระแสโลกาภิวัตน์" (Globalization and its challenges) มีใจความว่า การเปิดเสรีการค้าโลกเพื่อรับกระแสโลกาภิวัตน์นั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การเปิดเสรีทางการค้า (ฟรีเทรด) นั้น ยังไม่สำคัญเท่ากับการค้าที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย (แฟร์เทรด) เพราะการค้าที่เป็นธรรมนั้นนั้นอาจก่อให้เกิดการค้าเสรีได้ แต่การค้าเสรีส่วนใหญ่นั้นก่อให้เกิดการค้าที่ไม่เป็นธรรม และความล้มเหลวในการเจรจาการค้าที่ผ่าน ๆ มาของ WTO นั้น ก็เป็นเพราะเหตุนี้

จุดมุ่งหมายของหลักของแฟร์เทรด[1][แก้]

  • พัฒนาความเป็นอยู่ของผู้ผลิตโดยการเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และประกันราคาที่เป็นธรรม
  • ไม่ใช้แรงงานเด็ก และ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการผลิตและการค้าของผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้หญิงและชาวพื้นเมือง
  • กระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการค้าโดยชอบธรรม
  • เพื่อเป็นตัวอย่างของการค้าที่โปร่งใสและชอบธรรม
  • รณรงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์และวิถีการค้าขายแบบดั้งเดิมที่ผู้ผลิตรายย่อยมักจะถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง
  • ปกป้องสิทธิมนุษยชน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ฉลากสินค้าแฟร์เทรด[แก้]

Fairtrade Labelling Organizations International (FLO) เป็นองค์กรที่รับรอง ดูแล และประชาสัมพันธ์เรื่องการติดฉลากสินค้าแฟร์เทรด โดยจะมีการตรวจสอบการผลิตสินค้าว่าได้มาตรฐานการค้าโดยชอบธรรมหรือไม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มั่นใจว่า การบริโภคสินค้าดังกล่าว จะทำให้ผู้ผลิตในทุกลำดับชั้นได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมจริง. FLO ประกอบไปด้วยองค์กรสมาชิกจากชาติต่าง ๆ ซึ่งโดยมากจะมาจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและมีมาตรฐานในการครองชีพสูง สำหรับตราสินค้าของ FLO นั้น จะใช้คำว่า Fairtrade ติดกัน (ไม่มีเว้นวรรคระหว่าง fair และ trade)

ถึงแม้ว่าผู้ผลิตไม่น้อยรายในประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้วจะประสบกับปัญหาการค้าโดยไม่ชอบธรรมก็ตาม การติดฉลากสินค้าแฟร์เทรดถูกจำกัดโดยองค์การ FLO ให้มีได้กับเฉพาะสินค้าที่ผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนาเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะหนึ่งในจุดประสงค์หลักของการติดฉลากสินค้าแฟร์เทรดคือการบรรเทาความยากจนในประเทศเหล่านั้นนั่นเอง

หากสังเกตให้ดี ฉลากสินค้าแฟร์เทรดจะเป็นรูปคนโบกมือ ซึ่งคนโบกมือนี้จะหมายถึงทั้งผู้ผลิตหรือผู้บริโภคก็ได้

อ้างอิง[แก้]

  1. Duncan, Clark (2007). The Rough Guide to Ethical Living: Energy, Food, Clothes, Money, Transport. Penguin Books. ISBN 13: 9-781-84353-792-2

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]