การคล้อยตาม
การคล้อยตาม (อังกฤษ: conformity) คือการที่บุคคลปรับทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรมของตนให้เข้ากับบรรทัดฐานของกลุ่มทางสังคม ด้านการเมืองหรือการมีความคิดเหมือนกัน[1] บรรทัดฐาน คือกฎเฉพาะที่ไม่ได้เขียนไว้ แต่เป็นแนวทางที่กลุ่มคนใช้ร่วมกันเพื่อกำกับการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ผู้คนมักคล้อยตามสังคม มากกว่าที่จะทำตามความต้องการส่วนตัว บางครั้งการเดินตามเส้นทางที่มีคนปูไว้แล้วนั้นง่ายกว่าการสร้างเส้นทางใหม่ขึ้นมาเอง ด้วยเหตุนี้ ความสอดคล้องกับกลุ่มจึงมักเกิดขึ้นจากการสื่อสารระหว่างกันในกลุ่ม[2] แนวโน้มของการคล้อยตามนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในกลุ่มเล็ก ๆ และในระดับสังคมโดยรวม ซึ่งอาจเป็นผลมาจากอิทธิพลที่แฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว (เช่น สภาพจิตใจที่ถูกโน้มน้าวไว้ก่อนแล้ว) หรือจากแรงกดดันทางสังคมที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา การคล้อยตามอาจเกิดขึ้นแม้ในเวลาที่มีผู้อื่นอยู่ร่วมด้วย หรือแม้แต่เมื่อตัวบุคคลอยู่คนเดียว เช่น คนเรามักจะปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมเมื่อต้องกินอาหารหรือดูโทรทัศน์ แม้ในเวลาที่อยู่คนเดียวก็ตาม[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cialdini, Robert B.; Goldstein, Noah J. (February 2004). "Social Influence: Compliance and Conformity". Annual Review of Psychology. 55 (1): 591–621. doi:10.1146/annurev.psych.55.090902.142015. PMID 14744228. S2CID 18269933.
- ↑ Infante; และคณะ (2010). Contemporary Communication Theory. Dubuque, IA: Kendall Hunt Publishing Company. ISBN 978-0-7575-5989-1.
- ↑ Robinson, Eric; Thomas, Jason; Aveyard, Paul; Higgs, Suzanne (March 2014). "What Everyone Else Is Eating: A Systematic Review and Meta-Analysis of the Effect of Informational Eating Norms on Eating Behavior". Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics. 114 (3): 414–429. doi:10.1016/j.jand.2013.11.009. PMID 24388484.