กานาฉ่าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กานาฉ่าย

กานาฉ่าย (จีน: 橄榄菜; พินอิน: gǎnlǎn cài; อังกฤษ: olive pickled green mustard with mushroom) เป็นอาหารเครื่องเคียงของแต้จิ๋วที่มีมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าอาจมีถิ่นกำเนิดที่มณฑลเสฉวนของจีน[1] มีสีดำและชุ่มไปด้วยน้ำมัน มีรสชาติกลมกล่อมที่เป็นเอกลักษณ์ ในประเทศไทยนิยมทานในหมู่คนไทยเชื้อสายจีน และในต่างประเทศ เช่น ชาวไต้หวันและคนเชื้อสายจีนทั่วโลก สามารถทานในช่วงเทศกาลกินเจและเก็บไว้รับประทานได้นาน นิยมนำมาทานคู่กับข้าวต้ม เพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น บางครั้งนำมาผัดกับข้าวสวยหรือเนื้อหมูสับกิน ด้านสรรพคุณ กานาฉ่ายช่วยขับร้อนถอนพิษ แก้ร้อนใน ช่วยให้ชุ่มคอ[2]

กานาฉ่ายมีส่วนผสมของผักกาดปลีหรือผักเคลดองสับ ลูกสมอจีนดอง (ลูกกานาดอง) และเห็ดหอม อาจเติมกระเทียมสับทอด[3] นำมาตุ๋นด้วยน้ำมัน[3]และเคี่ยวจนได้ที่ ขั้นตอนสำคัญในการเคี่ยวคือการควบคุมความร้อนและเทคนิคการทุบด้วยตะหลิว[3]

กานาฉ่ายไม่เพียงมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ยังมีคุณค่าด้านทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอีกด้วย หลังจากเปิดซัวเถาเป็นเมืองท่าสำคัญ ชาวเฉาซ่านเดินทางข้ามมหาสมุทรออกไปทำงานและค้าขาย ได้นำกานาฉ่ายไปยังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย คนแต้จิ๋วในต่างประเทศเรียกกานาฉ่ายว่า "อาหารคิดถึงบ้าน" (思乡菜) ซึ่งทำให้ชาวแต้จิ๋วในต่างแดนมีวัฒนธรรมบ้านเกิดที่แข็งแกร่งขึ้น[3] ในประเทศไทยหาซื้อได้ตามตลาดย่านคนจีน ทั้งแบบตักแบ่งและบรรจุในผลิตภัณฑ์หลากหลาย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 2019-10-21.
  2. "มารู้จักกับกานาฉ่าย เมนูสุดฮอตในช่วงทานเจ". ผู้จัดการออนไลน์. 12 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 潮汕橄榄菜制作技艺. 广东省文化馆, 8 เมษายน 2018.
  4. "สารกันบูดในกานาฉ่าย". ไทยรัฐ. 27 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)