กั้งกระดาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กั้งกระดาน
กั้งกระดานบนจาน
เนื้อกั้งกระดานพร้อมปรุง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
วงศ์: Scyllaridae
วงศ์ย่อย: Theninae
Holthuis, 1985
สกุล: Thenus
Leach, 1815
สปีชีส์: T.  orientalis
ชื่อทวินาม
Thenus orientalis
(Lund, 1793)
กั้งกระดานที่ตลาดเกาะสมุย

กั้งกระดาน หรือ กุ้งกระดาน (อังกฤษ: Flathead lobster, Lobster Moreton Bay bug, Oriental flathead lobster) เป็นกุ้งชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกั้ง จึงนิยมเรียกกันว่ากั้ง[2] มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thenus orientalis จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Thenus และวงศ์ย่อย Theninae[3]

มีส่วนหัวและอกอยู่รวมกัน แต่ไม่มีกรีแหลมที่หัวลำตัวแบนและสั้นกว่ากุ้งทั่วไป ส่วนหัวแผ่ออกเป็นแผ่นใหญ่ ผิวขรุขระ เบ้าตาบุ๋มลงในขอบหน้าส่วนของหัว นัยน์ตามีขนาดเล็กอยู่บนก้านตา นัยน์ตาสามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายกับตาของปู หนวดสั้น มีข้อต่อกันคล้ายใบสน แนวกลางหัวและลำตัวเป็นสันแข็ง มีขาเดิน 5 คู่ ปลายแหลมและมีขนสั้น ๆ อยู่บนขา ขาเดินคู่ที่ 5 ของตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้มาก ลำตัวแบ่งออกเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีขาว่ายน้ำอยู่หนึ่งคู่ หางมีลักษณะเป็นแผ่นแบนประกอบด้วยรยางค์ 5 อัน อันกลางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง ใช้ในการดีดตัวหลบหนีศัตรู หัว ลำตัว และหางเป็นสีน้ำตาล มีตุ่มเล็กเรียงเป็นแถวบนลำตัว นัยน์ตาสีดำ

อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน แถบที่เป็นพื้นโคลนปนทราย มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร หากินสัตว์น้ำขนาดเล็กตามหน้าดินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, ทะเลอันดามัน, ตอนใต้ของญี่ปุ่น, จีน จนถึงอ่าวมอร์ตัน ในออสเตรเลีย

นิยมรับประทานเป็นอาหาร มีรสชาติดีแต่เหนียวกว่ากุ้ง จึงนิยมแช่แข็งส่งออกขายต่างประเทศ เป็นที่นิยมกันมากที่สิงคโปร์[4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Thenus orientalis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. 2011. สืบค้นเมื่อ December 31, 2011.
  2. "กระดาน ๒". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-24.
  3. "Theninae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  4. Straits Cafe @ Rendezvous Hotel – International Buffet
  5. "Singapore-Malaysia Trip: East Coast Seafood Centre".
  6. "Sweet Chilli Crayfish (龙马精神)". http://www.mywoklife.com/2010/02/sweet-chilli-crayfish.html.

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]