กัปตันคอมมานโด
กัปตันคอมมานโด | |
---|---|
![]() ใบปลิวอาร์เคดแบบแรกในทวีปอเมริกาเหนือของกัปตันคอมมานโด | |
ผู้พัฒนา | แคปคอม |
ผู้จัดจำหน่าย | แคปคอม |
ออกแบบ | อากิระ ยาซูดะ จุงอิจิ โอโนะ |
ศิลปิน | อากิระ ยาซูดะ |
แต่งเพลง | มาซากิ อิซูตานิ |
เครื่องเล่น | อาร์เคด, แคปคอมเพาเวอร์ซิสเตมเชนเจอร์, ซูเปอร์แฟมิคอม, เพลย์สเตชัน |
วางจำหน่าย | อาร์เคด
|
แนว | บีตเอ็มอัป |
รูปแบบ | ผู้เล่นสูงสุด 4 คนร่วมมือกัน |
ระบบอาร์เคด | ซีพี ซิสเตม |
กัปตันคอมมานโด (ญี่ปุ่น: キャプテンコマンドー; อังกฤษ: Captain Commando) เป็นวิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปแบบเลื่อนด้านข้างฉากอนาคต ค.ศ. 1991 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยแคปคอมในฐานะวิดีโอเกมอาร์เคคแบบหยอดเหรียญ และต่อมาได้ย้ายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ อีกหลายแพลตฟอร์ม โดยเป็นเกมที่สิบเจ็ดที่ผลิตขึ้นสำหรับฮาร์ดแวร์ซีพี ซิสเตม ของบริษัท เกมดังกล่าวนำโดยซูเปอร์ฮีโรโดยตำแหน่งซึ่งเดิมทีคิดว่าเป็นโฆษกที่แคปคอม ยูเอสเอ ใช้ในเกมคอนโซลของบริษัทในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980[ต้องการอ้างอิง] เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2018 แคปคอมได้ประกาศเปิดตัวแคปคอมบีตเอ็มอัปบันเดิลโดยกัปตันคอมมานโดได้เป็นหนึ่งในเจ็ดเกม และได้วางจำหน่ายแบบดิจิทัลสำหรับเพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโด สวิตช์, เอกซ์บอกซ์วัน และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2018[1]
โครงเรื่อง[แก้]
เกมกัปตันคอมมานโดมีฉากอยู่ในอนาคตที่เต็มไปด้วยอาชญากรรมของเมโทรซิตีใน ค.ศ. 2026 ที่ซูเปอร์ฮีโรชื่อกัปตันคอมมานโดได้รับความช่วยเหลือจากสหายหน่วยคอมมานโดที่ไว้ใจได้สามคน ซึ่งลุกขึ้นเพื่อปกป้องโลกและกาแล็กซีทั้งหมดจากแก๊งอาชญากรระดับอภิมหาอำนาจ
ตัวละคร[แก้]
เขาเป็นผู้นำของ "ทีมคอมมานโด" นอกจากจิตใจที่แข็งแกร่งและร่างกายที่ทนทานแล้ว เขายังใช้ "ถุงมือพลังงาน" ซึ่งสามารถยิงเพลิงและไฟฟ้าอันทรงพลังได้[2] เทคนิคที่มีประสิทธิภาพอย่างมากของเขาคือ "กัปตันคอร์ริดอร์" ซึ่งเป็นการกระแทกพื้นด้วยถุงมือพลังงานทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตที่สังหารทุกคนรอบตัว การโจมตีแบบพุ่งของกัปตันคอมมานโดคือ "กัปตันแคนนอน" (หรือที่รู้จักในชื่อ "กัปตันไฟร์") ซึ่งเผาผลาญศัตรูด้วยเปลวเพลิง และ "กัปตันคิก" ซึ่งสามารถโจมตีศัตรูหลายตัวพร้อมกันบนพื้นดินหรือในอากาศ[2] กัปตันคอมมานโดยังสามารถจับคู่ต่อสู้ของเขา และเตะท้อง หรือทุ่มทั้งตัว สิ่งอื่น ๆ ที่เขาใช้คือ "แว่นตากัปตัน" ซึ่งช่วยให้เขาระบุใบหน้าของอาชญากรได้ในระยะ 2 กม. เมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลแล้ว ส่วน "กัปตันโพรเทกเตอร์" ที่ทำจากวัสดุที่ทนทานเป็นพิเศษ เรียกว่า "กัปเทเนียม" และทนความร้อนได้สูงถึงล้านล้านองศา นอกจากนี้ ยังมี "ถุงมือกัปตัน" ที่เพิ่มพลังกัปตัน 48 เท่า ทำให้เขาทุบแผ่นเหล็กหนาได้ง่าย และ "รองเท้าบูตกัปตัน" ที่ทำให้เขาสามารถตกในระยะ 100 เมตรได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ หรือทำให้รองเท้าบูตเสียหาย[2]
มัมมี่คอมมานโด เป็นมนุษย์ต่างดาวที่เหมือนมัมมี่จากนอกโลก[2] ในฐานะอาวุธ เขาใช้มีดความเร็วต่ำกว่าเสียงที่จะละลายศัตรูที่เขาแทง เทคนิคการสังหารของเขาคือ "สปินนิงแอตแทก"[2] โดยการหมุนตัวเหมือนลูกข่าง และผ้าพันแผลของเขาฟาดศัตรูราวกับแส้ การโจมตีแบบพุ่งของแม็กคือ "ดับเบิลทรับเบิล" ซึ่งใช้มีดทั้งสองแทงศัตรูของเขา และ "สกายแอสซอลต์" ซึ่งเป็นดับเบิลทรับเบิลเวอร์ชันกลางอากาศ แม็กยังสามารถจับศัตรูของเขาและแทงหรือเหวี่ยงพวกมัน อีกอย่างที่เขามีคือ "หมวกแก๊ปกัปตัน" ซึ่งเป็นของที่ระลึกจากการพบกับกัปตันคอมมานโดครั้งแรก, "ผ้าพันแผลทางพันธุกรรม" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ค้ำจุนชีวิตของเขาเพื่อความอยู่รอดบนโลก, "มีดพันธุกรรม" ที่ละลายสสารทั้งหมด และ "ตัวควบคุมแรงโน้มถ่วง" ซึ่งเป็นรองเท้าคู่ของเขาที่ปรับแรงดึงโน้มถ่วงให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับการต่อสู้[2] ทั้งนี้ ชื่อภาษาอังกฤษของแม็ก มาจากเพลงของแบร์ท็อลท์ เบร็ชท์ ที่มีชื่อเดียวกัน
นินจาคอมมานโดเป็นนินจาที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และเป็นผู้สืบทอดวิชาบูชินริวนินโป ซึ่งเป็นรูปแบบการต่อสู้ของนินจุตสึที่ได้รับการสืบทอดมาจากไกจากไฟนอลไฟต์ ดาบที่คมกริบของเขาสามารถตัดคู่ต่อสู้ออกเป็นสองส่วน[3] เทคนิคการสังหารของเขาคือ "ระเบิดควัน" หลังจากสร้างม่านควันรอบ ๆ ตัวเขา ควันจะระเบิด โดยสังหารศัตรูที่อยู่ใกล้กัน[3] การโจมตีแบบพุ่งของงินซุคือ "อิไอซูกิ" ซึ่งเจาะศัตรูหลายตัวพร้อมกัน และ "ฟลายอิงคาตานะ" ที่ตัดศัตรูจากด้านบนขณะกระโดด นอกจากนี้ งินซุสามารถคว้าคู่ต่อสู้ของเขาแล้วเตะท้อง หรือทุ่มไหล่ หรือทุ่มเหนือศีรษะ ส่วนสิ่งอื่น ๆ ที่เขาได้รับการจัดให้มีคือ "เนตรนินจา" ซึ่งสามารถช่วยให้เขาค้นหาศัตรูที่อยู่ข้างหน้า 500 เมตรในความมืดมิด, "ดาบบริวาร" ของเขาไม่รับใช้ใครนอกจากเขา ซึ่งมีชื่อว่า "สายฟ้าแลบ" และฟันสิ่งต่าง ๆ ในระดับอะตอม รวมถึง "ชุดนินจา" ของเขา ที่แกร่งกว่าเหล็กและนุ่มกว่าไหม[3] ตลอดจนเป็นตัวละครเดียว ที่สามารถขว้างดาวกระจายใส่คู่ต่อสู้
เบบีคอมมานโดเป็นทารกอัจฉริยะที่ต่อสู้โดยใช้หุ่นยนต์ที่เขาออกแบบเอง หุ่นยนต์ของเขาทั้งแข็งแกร่งและว่องไว เทคนิคการสังหารของเขาคือ "นีร็อกเกต" ซึ่งยิงขีปนาวุธจากเข่าของหุ่นยนต์[3] ที่ผลิตขึ้นภายในหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่อง ส่วนการโจมตีแบบพุ่งของเบบีเฮดคือ "โรลลิงพันช์" ซึ่งเป็นหมัดหนักที่หมุนเหมือนสว่านและ "เอลโบว์สแมช" ที่จะกระแทกศัตรูด้วยศอกที่พุ่งออกมาจากการกระโดด[3] เบบีเฮดสามารถจับศัตรูของเขาและแทงเข่า, ใช้ท่า "ไพล์-ไดรเวอร์" หรือ "เหวี่ยงออกไป" คุณสมบัติอื่น ๆ ที่เขาใช้คือ "เครื่องพูด" ซึ่งคล้ายกับจุกนมหลอกและช่วยให้เขาพูดได้ 3 ล้านภาษาจักรวาล, "เปลเสถียร" ที่ช่วยให้หุ่นยนต์ไม่โยกเยกไม่ว่าจะเอียงแค่ไหน, "หุ่นซิลเวอร์ฟิสต์” ซึ่งมีกำลัง 12,000 แรงม้า น้ำหนักตัว 582 กิโลกรัม (1280.4 ปอนด์) และติดตั้งเครื่องควบคุมแบบฟัซซีลอจิก, "เครื่องยิงขีปนาวุธ" ซึ่งเป็นโรงงานผลิตขีปนาวุธที่อยู่ภายในขา เช่นเดียวกับในหุ่นซิลเวอร์ฟิสต์ และเพื่อนของเบบีเฮดมีชื่อเล่นว่า "เบบีแคร์ริจ" กับ "เจ็ตฮัฟเวอร์" ซึ่งใช้สำหรับเปลี่ยนตำแหน่งความเร็วสูง[3]
รูปแบบการเล่น[แก้]
กัปตันคอมมานโดดำเนินตามรูปแบบการเล่นบีตเอ็มอัปแบบเดียวกับในไฟนอลไฟต์ของบริษัทแคปคอมก่อนหน้านี้ เวอร์ชันอาร์เคดอนุญาตให้มีผู้เล่นพร้อมกันได้สูงสุดสอง, สาม หรือสี่คน โดยขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของเกม ผู้เล่นสามารถเลือกระหว่าง "คอมมานโด" สี่ตัวใดก็ได้ (ได้แก่ แม็ก, กัปตัน, งินซุ หรือเบบีเฮด) ในฐานะตัวละครของพวกเขา โดยผู้เล่นแต่ละคนจะควบคุมตัวละครที่แตกต่างกัน เป้าหมายตามปกติของผู้เล่นคือการไปยังจุดสิ้นสุดของแต่ละด่าน เอาชนะศัตรูทุกตัวที่ขวางทางในขณะที่หลีกเลี่ยงกับดักที่พวกเขาอาจขว้างใส่ผู้เล่นก่อนที่จะต่อสู้กับบอสที่รออยู่ในพื้นที่สุดท้ายของแต่ละด่าน และเกมนี้ประกอบด้วยทั้งหมดเก้าด่าน
การตอบรับ[แก้]
ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนในฉบับวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ระบุว่ากัปตันคอมมานโดเป็นหน่วยอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งปี โดยมีประสิทธิภาพเหนือกว่าเกมอย่างสตรีทไฟเตอร์ II: เดอะเวิลด์วอร์ริเออร์ และดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเฟสต์[4]
เมื่อวางจำหน่าย นิตยสารแฟมิคอมซือชินได้ให้คะแนนเกมเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมที่ 21 เต็ม 40[5] ครั้นใน ค.ศ. 2013 เกมอาร์เคดต้นฉบับได้รับการจัดอันดับให้เป็นวิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปที่ตีที่สุดอันดับที่ 21 ตลอดกาลโดยเว็บไซต์เฮฟวี.คอม[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Romano, Sal (13 September 2018). "Capcom Beat 'Em Up Bundle announced for PS4, Xbox One, Switch, and PC". Gematsu. สืบค้นเมื่อ 18 September 2018.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 North American Arcade Flyer of "Captain Commando", Pg. 4. 1991.
{{cite journal}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 North American Arcade Flyer of "Captain Commando". 1991. p. 5.
- ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 416. Amusement Press, Inc. 1 December 1991. p. 25.
- ↑ NEW GAMES CROSS REVIEW: キャプテン コマンドー. Weekly Famicom Tsūshin. No.327. Pg.40. 24 March 1995.
- ↑ The Top 25 Beat 'Em Up Video Games - Part 1 | HEAVY
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Captain Commando at arcade-history
- กัปตันคอมมานโด ใน MobyGames