กัญชาทางการแพทย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Map of world medical cannabis laws
สถานะทางกฎหมายของกัญชาทางการแพทย์ทั่วโลก
  ชอบด้วยกฎหมายภายใต้การดูแลของแพทย์
  ชอบด้วยกฎหมายทุกกรณี (ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์)

ดูเพิ่ม countries that have decriminalized or where enforcement is limited

การใช้กัญชาทางการแพทย์ คือการใช้กัญชาหรือสารแคนนาบินอยด์ซึ่งแพทย์เป็นผู้สั่งใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ต่อผู้ป่วย[1][2] เป็นแนวทางการรักษาที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างที่ถ้วนเนื่องจากข้อจำกัดทางการผลิตและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[3] มีหลักฐานอยู่เล็กน้อยที่บ่งชี้ว่ากัญชาอาจสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด เพิ่มความรู้สึกอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์ และลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้[4][5][6]

ผลข้างเคียงในระยะสั้นมีหลายอย่างทั้งแบบเล็กน้อยและแบบรุนแรง[5] ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่อาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย อาเจียน และประสาทหลอน[5] ผลข้างเคียงระยะยาวยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน[5] มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความจำและความคิด เสี่ยงต่อการติดยา ทำให้เกิดโรคจิตเภทในคนอายุน้อย และเสี่ยงต่อการมีเด็กมาใช้โดยบังเอิญ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Murnion B (Dec 2015). "Medicinal cannabis". Australian Prescriber. 38 (6): 212–5. doi:10.18773/austprescr.2015.072. PMC 4674028. PMID 26843715.
  2. "What is medical marijuana?". National Institute of Drug Abuse. July 2015. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016. The term medical marijuana refers to using the whole unprocessed marijuana plant or its basic extracts to treat a disease or symptom.
  3. "Release the strains". Nature Medicine. 21 (9): 963. September 2015. doi:10.1038/nm.3946. PMID 26340110. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
  4. 4.0 4.1 Borgelt LM, Franson KL, Nussbaum AM, Wang GS (February 2013). "The pharmacologic and clinical effects of medical cannabis" (PDF). Pharmacotherapy. 33 (2): 195–209. doi:10.1002/phar.1187. PMID 23386598.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Whiting PF, Wolff RF, Deshpande S, Di Nisio M, Duffy S, Hernandez AV, Keurentjes JC, Lang S, Misso K, Ryder S, Schmidlkofer S, Westwood M, Kleijnen J (23 June 2015). "Cannabinoids for Medical Use: A Systematic Review and Meta-analysis". JAMA. 313 (24): 2456–73. doi:10.1001/jama.2015.6358. PMID 26103030.
  6. Jensen B, Chen J, Furnish T, Wallace M (October 2015). "Medical Marijuana and Chronic Pain: a Review of Basic Science and Clinical Evidence". Current Pain and Headache Reports. 19 (10): 50. doi:10.1007/s11916-015-0524-x. PMID 26325482.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]