ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มอัคบารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลุ่มอัคบารี (อาหรับ: أخباریون; เปอร์เซีย: ‌اخباریان, ฮาดิษนิยม) คือลัทธิหนึ่งในนิติศาสตร์อิสลาม และ ฮาดิษศึกษาในนิกายชีอะห์ ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๐ ถึง ๑๑๗๐

อัคบารี มีแนวทางในการวินิจฉัยโดยอาศัยฮาดิษเพียงอย่างเดียว ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มอุศูลียูนที่ใช้หนทางอื่น ๆ จากแนวทางการอิจติฮาด หรือ การวินิจฉัยบทบัญญัติของตนเอง แนวทางการวินิจฉัยเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคแรกเพียงแต่ไม่ได้ถูกขนานนามและแบ่งเป็นสองสำนักอย่างชัดเจน[1]

กลุ่มอัคบารี

[แก้]

บุคคลที่โด่งดังในสำนักนี้คือ มุฮัมหมัด บาเก็ร มัจลีซี /เชค ฮุร อามิลี/เฟฎกาชานี/เชคยูซุฟ บะฮ์รอนี ยุคต่าง ๆ ของกลุ่มอัคบารี มีทั้งช่วงที่แข็งเกรงและอ่อนแอในด้านหลักเกณฑ์ เพราะมีบางท่านจากสำนักอัคบารีใช้แนวทางที่ผสมผสานระหว่าง อัคบารีและอุศูลี อาทิ ท่านอัลลามะห์มัจลิซีได้กล่าวว่า “ฉันไม่ได้เป็นอัคบารี แต่ทว่าฉันใช้สายกลางระหว่างอัคบารีและอุศูลี เช่นเดียวกับเชคยูซูฟ บะฮรอนี ที่โด่งดังในนาม “ศอฮิบ ฮะดาอิก” ได้เดินตามแนวทางสายกลางเช่นเดียวกัน และได้กล่าวถึงเศษหนึ่งส่วนสามของหนังสือเล่มที่หนึ่งของตนนามว่า “อัลฮะดาอิก อันนาฎิเราะห์ ฟี อะห์กาม อัลอิตเราะห์ อัฏฏอฮเราะ” ถึงแนวทางอุศูลี บนรากฐานโองการอัลกุรอานและวัจนะต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวทางนิติอิสลามที่ท่านเลือกใช้ในหนังสือ ฮะดาอิก เช่นเดียวกันเจ้าของหนังสือ “อัรเราฎอตุลญะนาต” กล่าวถึงเชคยูซูฟ บะฮ์รอนีว่า “เขาคือผู้ที่เดินสายกลางในนิติศาสตร์อิสลามระหว่างแนวทางอุศูลี และ อัคบารี” ซึ่งน่าจะเป็นทัศนะที่ถูกต้อง

จุดกำเนิดของแนวทางอัคบารี

[แก้]

ขบวนการอัคบารีมีจุดกำเนิดจากยุคสมัยของบรรดาอิมามมะอฺศูม(อ) และ เหล่าสาวกของบรรดาอิมาม(อ)ล้วนแล้วใช้แนวทางอัคบารีในการวินิจฉัยบทบัญญัติอิสลาม แต่คำว่า “กลุ่มอัคบารี”ถูกขนานนามครั้งแรกโดยมุฮัมหมัดอามีน อิสตาร์ ออบอดี ซึ่งทัศนะดังกล่าวถูกบันทึกในหนังสือหลายเล่มอาทิ “มัรญะอียัต”โดย ซัยยิด ฮิดายะตุลลอฮ ฏอลิกอนี บรรดาผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่อาทิ เชค ศอดูก และ เชคกุลัยนี ได้ตามแนวทางนี้เช่นกัน 

ในเริ่มต้น ศตวรรษที่ ๑๑ (ฮ.ศ) ได้มีการปฏิเสธแนวทางของการวินิจฉัยเกิดขึ้นโดยบุคคลหนึ่งนามว่า มุฮัมหมัด อามีน อิสตาร์ ออบอดีซึ่งก่อตั้งสำนักต่อต้าน ฟิกฮ (การวินิจฉัยบทบัญญัติ) โดยมีความเชื่อว่าอัลกุรอานไม่สามารถเป็นบทพิสูจน์ในการวินิจฉัยได้ และพวกเขายังคงปฏิเสธ การอิจมะอฺ (การลงมติในการวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ) นอกเหนือจากนั้นพวกเขายังต่อต้านแนวทางปรัชญาและรหัสยะด้วยเช่นกัน แนวทางเช่นนี้เกิดขึ้นในทุกสำนักทั้งสำนักในเชิงนิติอิสลาม และสำนักเชิงเทววิทยา ในนิกายซุนนี่กลุ่มดังกล่าวจะถูกเรียกว่าชาว ฮาดิษ (บรรดาฟะกิฮ ฮิญาซ) ตรงกันข้ามกับสำนักสติปัญญาและตรรกะ(บรรดาฟะกิฮในอิรัก) ซึ่งเปรียบเสมือนความแตกต่างในทัศนะเชิงหลักศรัทธาที่เกิดขึ้นระว่างสำนัก[2] อาชาอิเราะห์ (ซึ่งถือหนทางการถ่ายทอดเป็นหลักและเชื่อไปยังความหมายภายนอกของฮาดิษ) ตรงกันข้ามกับสำนักมุอฺตะซีละ(ซึ่งใช้หนทางการใช้เหตุผลด้วยสติปัญญา) ในชีอะห์ แนวทางอัคบารีจะปรากฏในฟิกฮ์มากกว่าเทววิทยา

แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอัคบารี

[แก้]

. ยุคที่หนึ่ง ตรงกับยุคที่สามของการบันทึกฮาดิษในนิกายชีอะห์ หมายถึงศตวรรษที่สามถึงศตวรรษที่หก บรรดาผู้อวุโสของกลุ่มอัคบารีมีดังต่อไปนี้ “ นัศร อิบนิ มะซาฮิม/ มุฮัมหมัด อิบนิ อะห์หมัด อิบนิ ยะฮ์ยา/ มุฮัมหมัด อิบนิ ยะอฺฟัร อัลอะซะดี/ มุฮัมหมัด อิบนิ ญะอฺฟัร อัลเมาดิบ/มุฮัมหมัด อิบนิ ฮิซาน/ อะห์หมัดอิบนิ มุฮัมหมัด อัลบัรกี/ อาลีอิบนิ คอตัมอัลกัซวีนี/ อบูอัมรว์ อัลกิชี/มุฮัมหมัด อิบนิ มัซอูด อัลอะยาชี และ ซัยยิดรอฎี (ผู้รวบรวมตำรานะฮญุลบะลาเฆาะห์)

 ยุคที่สอง ตรงกับยุคที่สี่ของการบันทึกฮาดิษในนิกายชีอะห์หมายถึง ศตวรรษที่หกถึงศตวรรษที่สิบ บรรดาผู้อาวุโสในยุคนี้คือ เชคฏอบัรซี/กุฏบ์ รอวันดี และ อิบนิ ชะฮร์ ออชูบ/ 

ยุคที่สาม ตรงกับยุคที่ห้าของการบันทึกฮาดิษในนิกายชีอะห์หมายถึงศตวรรษที่ ๑๑ และ ๑๒ ซึ่งอยู่ในยุคสมัยการปกครอง ราชวงศ์ซาฟาวิด เริ่มต้นโดย มุลลามุฮัมหมัดอามีน อิสตาร์ ออบอดี และจบลงที่ยุคสมัยของเชคยูซูฟ บะฮ์รอนี

ยุคที่สี่และห้า คือช่วงศตวรรษที่ผ่านมาซึ่งมีผู้คนให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้วิชาความรู้ด้านศาสนา และบางครั้งอาจไม่ได้ให้ความสำคัญต่อฮาดิษเท่าที่ควรในการเผยแพร่ ซึ่งยังคงมีกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อฮาดิษและ แม้ว่าพวกเขาจะใช้แนวทางอุศูลีในการวินิจฉัยบทบัญญัติแต่ยังคงมุ่งไปยังฮาดิษและใช้แนวทางของกลุ่มอัคบารีในการยอมรับฮาดิษต่าง ๆ [3]

คุณลักษณะของกลุ่มอัคบารีในยุคราชวงศ์ซาฟาวิด(ยุคที่สาม)

[แก้]

1. ปฏิเสธหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย กลุ่มอัคบารีมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยเป็นของตนเอง และยังคงมีหลายกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มอุศูลีฝ่ายตรงข้ามของคุณลักษณะเช่นนี้คือ กลุ่มอุศูลีนิกายชีอะห์

2. ปฏิเสธความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสายรายงาน แม้ว่ากลุ่มอัคบารีจะมีความรู้ต่อสายรายงานฮาดิษมากมายถือเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ แต่พวกเขากลับปฏิเสธเรื่องราวดังกล่าวในการยอมรับฮาดิษบทหนึ่ง และยังคงยอมรับฮาดิษหลายบทซึ่งไม่มีความน่าเชื่อถือตามหลักความรู้ที่ว่าด้วยสายรายงาน กลุ่มที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามคุณลักษณะนี้ของอัคบารี คือ กล่มุ ริญาลียูน (ผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องสายรายงานฮาดิษ)

3. ปฏิเสธความเป็นบทพิสูจน์ในภายนอกของอัลกุรอาน และ ต่อต้านการอรรถาธิบายอัลกุรอานที่ไม่ได้มาจากฮาดิษ กลุ่มอัคบารีมีความเชื่อว่าการอรรถาธิบายโองการอัลกุรอานจะต้องพึ่งไปยังฮาดิษเพียงเท่านั้นและฮาดิษคือแนวทางเดียวที่จะทำให้มนุษย์เข้าใจเนื้อหาของอัลกุรอานได้ พวกเขายังคงปฏิเสธความหมายที่ได้จากภายนอกของอัลกุรอาน ฝ่ายตรงข้ามของลักษณะนี้คือกลุ่มอุศูลี และ บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานที่เชื่อในแนวทางอื่นในการให้ความหมายต่ออัลกุรอานนอกเหนือจากฮาดิษ

4. ต่อต้านปรัชญา กลุ่มอัคบารีมีทัศนะเช่นเดียวกับสาวกบางท่านของบรรดาอิมามและบางกลุ่มจากกลุ่มอุศูลีมีความเชื่อว่าปรัชญาคือแนวทางที่ผิด ความคิดดังกล่าวทั้งกลุ่มอัคบารีและอุศูลีมีความคิดเหมือนกันซึ่งฝ่ายตรงข้ามของลักษณะนี้คือกลุ่มนักปรัชญา

5. ต่อต้านแนวทางอิรฟานและตะเศาวุฟ ในคุณลักษณะนี้กลุ่มอัคบารีมีทัศนะเช่นเดียวกันกับบรรดาสาวกของอิมามบางท่าน และส่วนมากของอุศูลี โดยคัดค้าน แนวทางตะเศาสุฟของ อิบนิ อะรอบี และ ซัยยิด ฮัยดัร ออมุลี ซึ่งมีคำสั่งสอนที่ตรงกันข้ามกับนิกายชีอะห์ [4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.hawzah.net/fa/articleview.html?ArticleID=6490&Type=-1&SearchText=عبدالجلیل+رازی
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-17. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
  3. «رجال و درایه - جلسه ۸». سایت رسمی علامه شیخ علی ریاحی نبی، مؤسسه حکمت اسلامی احتجاج، ۱۳۹۵/۵/۱۰. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  4. و ۱۱ / «رجال و درایه- جلسه ۱۰»[ลิงก์เสีย]. سایت رسمی علامه شیخ علی ریاحی نبی، مؤسسه حکمت اسلامی احتجاج، ۱۳۹۵/۵/۱۰. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)