กลุ่มภาษาบันตู
หน้าตา
บันตู | |
---|---|
กลุ่มเชื้อชาติ: | กลุ่มชนบันตู |
ภูมิภาค: | แอฟริกากลาง, แอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาใต้, โซมาเลียตอนใต้ |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | ไนเจอร์-คองโก |
ภาษาดั้งเดิม: | บันตูดั้งเดิม |
ISO 639-2 / 5: | bnt |
กลอตโตลอก: | narr1281[1] |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กลุ่มภาษาบันตู (อังกฤษ: Bantu languages) เป็นตระกูลภาษาประมาณ 600 ภาษาที่มีกลุ่มผู้พูดคือกลุ่มชนบันตูในแอฟริกากลาง แอฟริกาใต้ และแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้
จำนวนภาษาของกลุ่มภาษามีทั้งหมดประมาณอยู่ระหว่าง 440 ถึง 680 ภาษาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความของ "ภาษา" กับ "ภาษาย่อย" ภาษากลุ่มบันตูหลายภาษายืมคำจากกันและกัน และบางคำก็สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ ภาษาบางภาษามีผู้พูดเพียงไม่กี่คน เช่น ใน ค.ศ. 2007 คาดว่าภาษาคับวามีผู้พูดเพียง 8,500 คนเท่านั้น แต่ได้รับการประเมินว่าเป็นภาษาแยกต่างหากจากภาษาอื่น
คาดว่าจำนวนผู้พูดในภาษากลุ่มบันตูทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 350 ล้านคนใน ค.ศ. 2015 (ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรในแอฟริกา หรือร้อยละ 5 ของประชากรโลก)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "บันตู". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.