กลุ่มภาษาสะฮารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กลุ่มภาษาซาฮาราน)
สะฮารา
ภูมิภาค:ชาด, ไนจีเรีย, ไนเจอร์, ซูดาน, แคเมอรูน
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ไนล์-สะฮารา?
  • ซองไฮ-สะฮารา?
    • สะฮารา
กลุ่มย่อย:
  • สะฮาราตะวันออก
  • สะฮาราตะวันตก
กลอตโตลอก:saha1256[1]
{{{mapalt}}}
การกระจายของกลุ่มภาษาสะฮารา (ในสีส้ม)

กลุ่มภาษาสะฮารา เป็นกลุ่มภาษาขนาดเล็กพูดทางตะวันออกของทะเลทรายสะฮารา ตั้งแต่ดาร์ฟูร์ตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงตอนใต้ของลิเบีย, เหนือและกลางของชาด, ตะวันออกของไนเจอร์ และตะวันออกเฉียงเหนือของไนจีเรีย ภาษาที่โดดเด่นในกลุ่มภาษานี้คือภาษาเคอนูริ, ภาษาดาซา และภาษาซากฮาวา กลุ่มภาษานี้จัดอยู่ในตระกูลภาษาไนล์-สะฮารา

รายการคำเปรียบเทียบของกลุ่มภาษาสะฮารารวบรวมโดย Václav Blažek (2007)[2]

การจัดกลุ่ม[แก้]

การจัดอันดับกลุ่มภาษาสะฮาราโดย Václav Blažek ใน ค.ศ. 2007
สะฮารา 
 ตะวันออก 

 เบอร์ติ † (หรือ Sagato;[3] สูญแล้ว), ซากฮาวา (หรือ Beria[3])


 ตะวันตก 
 Kanuri 

 เคอนูริ (Bilma, Manga, Tumari, กลาง), คาเนมบุ (Tarjumo)


 เตบุ 

 ดาซา, เตดา





กาารจัดอันดับภายนอก[แก้]

รอเจอร์ เบลนช์โต้แย้งว่ากลุ่มภาษาสะฮารากับซองไฮอยู่ในสาขาซองไฮ-สะฮารา ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไนล์-สะฮารา[3]

การสร้างคำใหม่[แก้]

Cyffer (2020:385) ให้ตัวอย่างการสร้างคำใหม่ในภาษาสะฮาราดั้งเดิมดังนี้:[4]

ศัพท์ สะฮาราดั้งเดิม เคอนูริ เทดา-ดาซา เบเรีย
ปาก *kai kai āā
ลิ้น *tiram tə́lam tirmẽ́su tàmsī
หู *simo sə́mo šímo
ตับ *masin kəmáttən maasen màī
หัวเข่า *kurum ngurumngurum kórú
บุคคล *am âm (pl.) amo ɔ̄ɔ̄
ใบไม้ *kur kálú kólú ɔ́gʊ́r
ใหญ่ *kut kúra kɔra ʊ́gʊ́rī
นั่น *tu túdu te̥ye tɔ̄
ตาย *nu nus nʊ́í
มา *it ís ri tíí
ดู *tu ru ír̥ì
ดื่ม *sa yá, sá ya
พูด *n n n n

เทียบคำศัพท์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Saharan". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Blažek, Václav. 2007. On application of glottochronology for Saharan languages.
  3. 3.0 3.1 3.2 Blench, Roger. m.s. Saharan and Songhay form a branch of Nilo-Saharan.
  4. Cyffer, Norbert. 2020. Saharan. In: Rainer Vossen and Gerrit J. Dimmendaal (eds). The Oxford Handbook of African languages, 383-391. Oxford University Press.