กลุ่มภาษาชูคอต
![]() |
กลุ่มภาษาชูคอต | |
---|---|
Ləɣˀoravetlˀan | |
ภูมิภาค: | รัสเซียตะวันออกไกล |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | ชูคอตโก-คัมชัตกัน
|
กลุ่มย่อย: | |
กลอตโตลอก: | chuk1272[1] |
![]() การกระจายตัวของประชากรผู้พูดภาษาในกลุ่มภาษาชูคอตก่อนการมาถึงของชาติตะวันตก (สีชาด) และภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาชูคอตโก-คัมชัตกัน |
กลุ่มภาษาชูคอต (อังกฤษ: Chukotkan languages; Chukotian; Chukotic) เป็นกลุ่มภาษาย่อยที่ประกอบเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาชูคอตโก-คัมชัตกัน มีการพูดกันในสองเขตปกครองตนเองทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศรัสเซีย ที่ซึ่งมีอาณาเขตทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก และทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก
คำว่า "ลูโอราเวตลัน" (อังกฤษ: Luorawetlan; Luoravetlan) ที่ซึ่งใช้เรียกชาวชูคอตในช่วงคริสต์ทศวรรษปี 1930 นั้น จริง ๆ แล้วมีพื้นฐานมาจากชื่อชาติพันธุ์ของทั้งชาวชูคอตและกอร์ยัก
ภาษาย่อย
[แก้]- ภาษาชูคอต ที่ซึ่งพูดส่วนใหญ่ในเขตปกครองตนเองชูคอตคา
- ภาษากอร์ยัก หรือเรียกอีกอย่างว่านือมือลัน (Nymylan) พูดในเขตกอร์ยักของดินแดนคัมชัตคา ภาษาย่อยหลักของภาษากอร์ยักเรียกว่ากอร์ยักชัฟชูเวน (Chavchuven Koryak)
- ภาษาอะลยูตอร์ (Alyutor, Alutor, Aliutor) มีผู้พูดในพื้นที่กอร์ยาเกียด้วย ตามที่ไมเคิล ฟอร์เทสคู (2005) กล่าวไว้ว่า ภาษาปาลานากอร์ยัก (Palana Koryak) และภาษาอะลยูตอร์ ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นภาษาย่อยที่มาจากภาษาเดียวกัน
- ภาษาเกเรก มีผู้พูดอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของชูคอตคา ในปีคริสต์ศักราช 1997 มีผู้พูดที่เป็นผู้สูงอายุสองคนยังคงมีชีวิตอยู่ แต่ปัจจุบันภาษาดังกล่าวได้สูญไปแล้ว โดยกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้กลมกลืนเข้ากับชาวชูคอตเป็นที่เรียบร้อย (ฟอร์เทสคู 2005: 1)
โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มภาษาชูคอตถือว่ามี 2 ภาษาคือภาษาชูคอตและภาษากอร์ยักเนื่องมาจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์อย่างชัดเจนระหว่างชาวชุกชี (ชูคอต) และชาวกอร์ยัก อย่างไรก็ตาม ภาษาเกเรกและอะลยูตอร์ที่พูดโดยชาวชุกชีและกอร์ยัก มีความแตกต่างจากภาษาย่อยอื่น ๆ อย่างมาก อนึ่ง ในปัจจุบัน กลุ่มภาษาชูคอตได้รับการจำแนกโดยทั่วไปว่ามี 4 ภาษา แต่ก็อาจถือได้ว่าเป็น 1 ภาษาที่มีความแตกต่างของภาษาย่อยในแต่ละถิ่นหรือตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
บรรณานุกรม
[แก้]- เบอร์นาร์ด คอมรี 1981 ภาษาของสหภาพโซเวียต สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- ไมเคิล ฟอร์เทสคู 1998. ความสัมพันธ์ทางภาษาข้ามช่องแคบแบริ่ง ลอนดอน: Cassell & Co.
- ไมเคิล ฟอร์เทสคู 2005. พจนานุกรมเปรียบเทียบภาษาชูโคตโก–คัมชัตกัน แนวโน้มในทางภาษาศาสตร์ 23 เบอร์ลิน: มูตง เดอ กรูย์เตอร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Chukotian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.