กลัยโอบลาสโตมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลัยโอบลาสโตมา
(Glioblastoma)
ชื่ออื่นGlioblastoma multiforme, grade IV astrocytoma
ภาพสแกนเอ็มอาร์ไอสมองตัดแนวหน้าหลัง แสดงให้เห็นก้อนกลัยโอบลาสโตมาในผู้ป่วยชายอายุ 15 ปี คนหนึ่ง
สาขาวิชาประสาทมะเร็งวิทยา, ประสาทศัลยศาสตร์
อาการปวดศีรษะ, บุคลิกเปลี่ยนแปลง, คลื่นไส้, อาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง[1]
การตั้งต้นอายุประมาณ 64 ปี[2][3]
สาเหตุมักไม่ทราบสาเหตุชัดเจน[2]
ปัจจัยเสี่ยงโรคพันธุกรรม (นิวโรไฟโบรมาโตซิส, กลุ่มอาการลี-ฟรอเมอไน), เคยได้รับการรักษาด้วยรังสี[2][3]
วิธีวินิจฉัยซีทีสแกน, เอ็มอาร์ไอ, การตัดชิ้นเนื้อ[1]
การป้องกันไม่ทราบ[3]
การรักษาผ่าตัด, เคมีบำบัด, รักษาด้วยรังสี[3]
ยาทีโมโซโลไมด์, คอร์ติโคสเตียรอยด์[1][4]
พยากรณ์โรคอายุคาดเฉลี่ยประมาณ 14 เดือน กรณีได้รับการรักษา, อัตรารอดชีวิต 5 ปีเท่ากับ 7%[2][5]
ความชุก3 ต่อ 100,000 ประชากร ต่อปี[3]

กลัยโอบลาสโตมา[6] (อังกฤษ: glioblastoma) หรือ กลัยโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เม (อังกฤษ: glioblastoma multiforme, GBM) เป็นมะเร็งของสมองชนิดหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดในสมอง[7] อาการแรกเริ่มมักเป็นอาการแบบไม่จำเพาะ[1] เช่น ปวดศีรษะ บุคลิกเปลี่ยนแปลง คลื่นไส้ หรืออาการคล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดสมอง[1] ผู้ป่วยมักมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว อาจถึงระดับที่ไม่รู้สึกตัวได้[2]

สาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[2] มีปัจจัยเสี่ยงที่ได้รับการยืนยันอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น โรคทางพันธุกรรมอย่างโรคท้าวแสนปม กลุ่มอาการลี-ฟรอเมอนี และการเคยได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง แต่ผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็ยังเป็นเพียงส่วนน้อย[2][3] โรคนี้พบเป็นร้อยละ 15 ของเนื้องอกในสมองทั้งหมด[1] อาจตั้งต้นจากเซลล์สมองปกติ หรือเปลี่ยนแปลงมาจากแอสโตรซัยโตมาเกรดต่ำก็ได้[8] การวินิจฉัยโดยส่วนใหญ่ทำได้โดยการรวบรวมข้อมูลจากการทำซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ และการตัดชิ้นเนื้อตรวจ[1]

โรคนี้ยังไม่พบวิธีป้องกัน[3] การรักษาส่วนใหญ่ทำได้โดยใช้ยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีเพื่อลดขนาดก้อนแล้วจึงผ่าตัด[3] โดยมักใช้ทีโมโซโลไมด์เป็นยาตัวหนึ่งในชุดยาเคมีบำบัด[3][4][9] อาจสามารถลดขนาดของก้อนและลดอาการบวมของเนื้อสมองรอบก้อนได้ด้วยยาสเตียรอยด์ขนาดสูง[1] การผ่าตัดเอาเนื้องอกและเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ ออกเป็นวงกว้างจะสัมพันธ์กับการมีรอดชีวิตที่ยาวนานขึ้น[10]

แม้จะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ที่สุดแล้วมะเร็งชนิดนี้ก็มักจะกลับมาเป็นได้อีก[3] ระยะเวลารอดชีวิตหลังวินิจฉัยโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 12-15 เดือน โดยมีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อย (น้อยกว่า 3-7%) ที่มีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปี[2][5] หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยมักจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน[11] ถือเป็นมะเร็งที่พบในเนื้อสมองได้บ่อยที่สุด และเป็นเนื้องอกสมองที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองรองลงมาจากเนื้องอกของเยื่อหุ้มสมองหรือเมนินจิโอมา[7][12] ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยโรคนี้ด้วยสัดส่วน 3 ใน 100,000 คน[3] ส่วนใหญ่มักพบที่อายุ 64 ปีขึ้นไป และพบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง[2][3] ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาวิจัยว่าจะสามารถใช้การบำบัดด้วยวิทยาภูมิคุ้มกันในการรักษาโรคนี้ได้หรือไม่[13]

การรักษา[แก้]

การรักษาด้วยการฉายรังสี[แก้]

หลังจากการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีร่วมไปกับการให้ยา temozolomide[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Young RM, Jamshidi A, Davis G, Sherman JH (June 2015). "Current trends in the surgical management and treatment of adult glioblastoma". Annals of Translational Medicine. 3 (9): 121. doi:10.3978/j.issn.2305-5839.2015.05.10. PMC 4481356. PMID 26207249.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Chapter 5.16". World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. ISBN 978-9283204299.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 Gallego O (August 2015). "Nonsurgical treatment of recurrent glioblastoma". Current Oncology. 22 (4): e273–81. doi:10.3747/co.22.2436. PMC 4530825. PMID 26300678.
  4. 4.0 4.1 Hart MG, Garside R, Rogers G, Stein K, Grant R (April 2013). "Temozolomide for high grade glioma". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4 (4): CD007415. doi:10.1002/14651858.CD007415.pub2. PMC 6457743. PMID 23633341.
  5. 5.0 5.1 Ostrom QT, Cioffi G, Gittleman H, Patil N, Waite K, Kruchko C, Barnholtz-Sloan JS (November 2019). "CBTRUS Statistical Report: Primary Brain and Other Central Nervous System Tumors Diagnosed in the United States in 2012-2016". Neuro-Oncology. 21 (Supplement 5): v1–v100. doi:10.1093/neuonc/noz150. PMC 6823730. PMID 31675094.
  6. นันทอารี, ศรัณย์ (Mar 4, 2011). "เนื้องอกสมองสำหรับประชาชน (ตอนที่ 2)". si.mahidol.ac.th. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ June 6, 2021.
  7. 7.0 7.1 Bleeker FE, Molenaar RJ, Leenstra S (May 2012). "Recent advances in the molecular understanding of glioblastoma". Journal of Neuro-Oncology. 108 (1): 11–27. doi:10.1007/s11060-011-0793-0. PMC 3337398. PMID 22270850.
  8. "Chapter 3.8". World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. ISBN 978-9283204299.
  9. 9.0 9.1 Khosla D (February 2016). "Concurrent therapy to enhance radiotherapeutic outcomes in glioblastoma". Annals of Translational Medicine. 4 (3): 54. doi:10.3978/j.issn.2305-5839.2016.01.25. PMC 4740000. PMID 26904576.
  10. Van Meir EG, Hadjipanayis CG, Norden AD, Shu HK, Wen PY, Olson JJ (2010). "Exciting new advances in neuro-oncology: the avenue to a cure for malignant glioma". Ca. 60 (3): 166–93. doi:10.3322/caac.20069. PMC 2888474. PMID 20445000.
  11. Schapira AH (2007). Neurology and clinical neuroscience. Philadelphia: Mosby Elsevier. p. 1336. ISBN 978-0323070539. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-29.
  12. McNeill KA (November 2016). "Epidemiology of Brain Tumors". Neurologic Clinics. 34 (4): 981–98. doi:10.1016/j.ncl.2016.06.014. PMID 27720005.
  13. "With Immunotherapy, Glimmers of Progress against Glioblastoma". National Cancer Institute. 9 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2015. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก