กรุสมบัติตัลอัสมัร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุสมบัติตัลอัสมัร
ผู้บูชาชายชาวซูเมอร์ ทำจากอะลาบัสเตอร์และดวงตาจากหอย หนึ่งในสิบสองรูปปั้นจากกรุ[1]
วัสดุยิปซั่ม, หินปูน, อะลาบัสเตอร์
สร้างราชวงศ์ต้น I-II แห่งเมโสโปเตเมีย, ป. 2900–2550 BC
ค้นพบตัลอัสมัร ประเทศอิรัก
ที่อยู่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มหานคร นิวยอร์ก, พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิรัก, สถาบันบูรพคดี ชิคาโก
ตัลอัสมัรตั้งอยู่ในตะวันออกใกล้
ตัลอัสมัร
ตัลอัสมัร
ที่ตั้งของตัลอัสมัร

กรุสมบัติตัลอัสมัร (อังกฤษ: Tell Asmar Hoard; ราชวงศ์ยุคต้น I-II, ป. 2900–2550 BC) เป็นกลุ่มรูปปั้นจำนวน 12 ชิ้น ขุดพบที่เอชนุนนา (ตัลอัสมัร) ในแคว้นดิยัล ประเทศอิรัก อายุราว 2900-25500 ก่อนคริสต์กาล

ในปลายทศวรรษ 1920s พ่อค้าของโบราณในแบกแดดได้รับโบราณวัตถุคุณภาพสูงเป็นพิเศษจำนวนมากจากทะเลทรายทางตะวันออกของแม่น้ำดิยลา ไม่ไกลนักจากจุดที่รวมเข้ากับแม่น้ำไทกริสทางเหนือ[2] ในปี 1929 สถาบันบูรพคดี มหาวิทยาลัยชิคาโกได้รับความยินยอมให้ขุดค้นที่บริเวณพื้นที่นั้น[2] เจมส์ เฮนรี เบรดสเตด (1865–1935) ผู้ก่อตั้งสถาบัน ได้เชื้อเชิญนักโบราณคดีชาวดัตช์ อองรี ฟรังก์ฟอร์ (1897–1954) เพื่อนำทีมขุดค้น ระหว่างปี 1930 ถึง 1937 คณะขุดค้นได้ทำการขุดค้นทางแนวตั้งและแนวนอนโดยละเอียดในสี่เนินดิน ได้แก่: ฆาฟาจะฮ์, ตัลอัสมัร, ตัลอกรับ และ อิชชลี[2] จากขุดค้นได้ค้นพบวิหาร อาคารที่ทำการรัฐ บ้านเรือน วัง อายุราว 3100-1750 ปีก่อนคริสต์กาล โบราณวัตถุนับร้อยชิ้นที่พบในซากปรักหักพังที่แบ่งเป็นชั้น ๆ นี้มีส่วนอย่างมากในการช่วยทำความเข้าใจและจัดช่วงเวลาในสมัยราชวงศ์ตอนต้น[3]

ในบรรดาโบราณวัตถุที่ค้นพบที่เป็นที่รู้จักและคงสภาพสมบูรณ์ที่สุดคือรูปปั้นสิบสองชั้นที่เรียกรวมกันว่ากรุสมบัติตัลอัสมัร ค้นพบระหว่างฤดูขุดค้นในตัลอัสมัร ปี 1933-34 โดยค้นพบอยู่ใต้พื้นของวิหารบูชาเทพเจ้าอะบู รูปปั้นเหล่านี้ถูกวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านหลังแท่นบูชาในวิหาร การวางโดยเป็นระเบียบเสนอว่ารูปปั้นเหล่านี้ถูกวางไปโดยตั้งใจ กระนั้น เหตุผลสำหรับการฝังและผู้รับผิดชอบการฝังยังคงไม่เป็นที่ทราบ ในขณะที่ปรังก์ฟอร์ซึ่งเขียนเกี่ยวกับการค้นพบนี้โดยละเอียด เสนอว่านักบวชน่าจะเป็นผู้ค่อย ๆ ฝังรูปปั้นที่เก่าหรือเสียหายหนัก เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับรูปปั้นใหม่มาวางแทนที่[4]:16

ระเบียงภาพ[แก้]

รูปปั้นผู้บูชา (worshipper) ชาวสุเมเรียจากกรุสมบัติตัลอัสมัรจำนวน 7 ชิ้นที่จัดแสดง ณ ส่วนสุเมเรีย พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิรัก แบกแดด

อ้างอิง[แก้]

  1. "Standing male worshiper | Sumerian | Early Dynastic I-II | The Met". The Metropolitan Museum of Art, i.e. The Met Museum. สืบค้นเมื่อ 2017-11-08.
  2. 2.0 2.1 2.2 Karen L. Wilson, Excavations in the Diyala Region, in Art Of The First Cities: The Third Millennium B.C. from the Mediterranean to the Indus, ed. Joan Aruz (New York and London: The Metropolitan Museum of Art, Yale University Press, 2003), 58.
  3. Jean M. Evans, "The Square Temple at Tell Asmar and the Construction on Early Dynastic Mesopotamia ca. 2900-2350 B.C.E.", American Journal of Archaeology 11 (2007): 600.
  4. Henri Frankfort, Sculpture of the Third Millennium B.C. from Tell Asmar and Khafãjah (Chicago: University of Chicago Press, 1939).

บรรณานุกรม[แก้]

  • Evans, Jean. 2012. The Lives Of Sumerian Sculpture: An Archaeology of the Early Dynastic Temple. Chicago: University of Chicago.
  • Evans, Jean. 2007. The Square Temple at Tell Asmar and the Construction of Early Dynastic Mesopotamia, ca. 2900-2350 B.C.E. American Journal of Archaeology 4: 599-632.
  • Frankfort, Henri. 1939. Sculpture of the 3rd Millennium B.C. from Tell Asmar and Khafajah. The University of Chicago, Oriental Institute Publications 60. Chicago.
  • 1943. More Sculpture from the Diyala Region. The University of Chicago, Oriental Institute Publications 60. Chicago.
  • Jacobsen, Thorkild, "God or Worshipper", in Essays in Ancient Civilization Presented to Helene J. Kantor, edited by A. Leonard Jr. and B.B. Williams, p 125-30. Chicago. 1989.
  • [1] Henri Frankfort, Thorkild Jacobsen, and Conrad Preusser, Tell Asmar and Khafaje: The First Season Work in Eshnunna 1930/31, Oriental Institute Publication 13, 1932
  • [2] เก็บถาวร 2010-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Henri Frankfort, Tell Asmar, Khafaje and Khorsabad: Second Preliminary Report of the Iraq Expedition, Oriental Institute Publication 16, 1933
  • [3] เก็บถาวร 2010-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Henri Frankfort, Iraq Excavations of the Oriental Institute 1932/33: Third Preliminary Report of the Iraq Expedition, Oriental Institute Publication 17, 1934
  • [4] Henri Frankfort with a chapter by Thorkild Jacobsen, Oriental Institute Discoveries in Iraq, 1933/34: Fourth Preliminary Report of the Iraq Expedition, Oriental Institute Publication 19, 1935
  • [5] Henri Frankfort, Progress of the Work of the Oriental Institute in Iraq, 1934/35: Fifth Preliminary Report of the Iraq Expedition, Oriental Institute Publication 20, 1936
  • [6] Henri Frankfort, Seton Lloyd, and Thorkild Jacobsen with a chapter by Günter Martiny, The Gimilsin Temple and the Palace of the Rulers at Tell Asmar, Oriental Institute Publication 43, 1940