กราฟการแตกตัวของออกซิเจนและเฮโมโกลบิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นโค้งความอิ่มตัวของเฮโมโกลบิน

กราฟการแตกตัวของออกซิเจนและเฮโมโกลบิน (อังกฤษ: oxygen-haemoglobin dissociation curve, oxyhemoglobin dissociation curve, oxygen dissociation curve (ODC)) เป็นกราฟที่แสดงสัดส่วนของเฮโมโกลบินที่อิ่มตัว (มีออกซิเจน) บนแกนตั้ง กับความหนาแน่นของออกซิเจนในเลือด ในแกนนอน กราฟนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำความเข้าใจการเก็บและปล่อยออกซิเจนออกจากเลือด โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างความอิ่มตัวของออกซิเจน (SO2) และความดันย่อยของออกซิเจนในเลือด (PO2) ซึ่งแปรตามความสามารถ (affinity) ในการจับออกซิเจนของเฮโมโกลบินในสถานะหนึ่ง ๆ

ปัจจัยที่ส่งต่อกราฟ[แก้]

ตัวแปรควบคุม ลดลง เพิ่มขึ้น
อุณหภูมิ เลื่อนซ้าย เลื่อนขวา
2,3-BPG เลื่อนซ้าย เลื่อนขวา
p(CO2) เลื่อนซ้าย เลื่อนขวา
pH (Bohr effect) เลื่อนขวา (ภาวะกรดเกิน) เลื่อนซ้าย (ภาวะเบสเกิน)

หมายเหตุ:

  • เลื่อนซ้าย: เฮโมโกลบินจับกับออกซิเจนได้มากขึ้น ที่ความดันย่อยออกซิเจนค่าเดิม
  • เลื่อนขวา: เฮโมโกลบินจับกับออกซิเจนได้น้อยลง ที่ความดันย่อยออกซิเจนค่าเดิม
  • ฮีโมโกลบินของทารกในครรภ์มีความสามารถในการจับกับ O2 สูงกว่าฮีโมโกลบินของผู้ใหญ่ สาเหตุหลักมาจากความสามารถที่ลดลงมากในการจับกับ 2,3-bisphosphoglycerate

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Nosek, Thomas M. "Section 4/4ch5/s4ch5_18". Essentials of Human Physiology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24.
  • The Interactive Oxyhemoglobin Dissociation Curve เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Simulation of the parameters CO2, pH and temperature on the oxygen–hemoglobin dissociation curve (left or right shift)