กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน
กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน (อังกฤษ: Halo effect) หมายถึงกระบวนการคิดเชิงลำเอียง (Cognitive bias) ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญชานของบุคลิกภาพหนึ่งก่อตัวขึ้นจากอิทธิพลของอีกบุคลิกภาพเดิมบุคลิกภาพหนึ่งตามขั้นตอนของกระบวนการการตีความหมาย
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเอดเวิร์ด แอล. ธอร์นไดค์เป็นบุคคลแรกที่สนับสนุนทฤษฎี “กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน” ที่มาจากการค้นคว้าการวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) ในการวิจัยค้นคว้าทางจิตวิทยาที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1920 จากการขอให้ผู้บังคับการกองทหารจัดลำดับบุคลิกภาพทหารของแต่ละคนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาธอร์นไดค์พบว่าผลที่ออกมามีสหสัมพันธ์ไขว้ (cross-correlation) สูงระหว่างบุคลิกภาพทางบวกทั้งหมด หรือ บุคลิกภาพทางลบทั้งหมด จากการศึกษาดังว่าดูเหมือนว่าคนเรามักจะไม่มองผู้อื่นอย่างมีบุคลิกภาพผสมทั้งทางบวกและลบในบุคคลเดียวกัน แต่จะมักจะมองแต่ละคนว่าถ้าดีก็ดีตลอด หรือถ้าไม่ดีก็ไม่ดีตลอดไปทุกบุคลิกภาพที่วัด
งานวิจัยของนักจิตวิทยาชาวอเมริกันและผู้นำทางด้านจิตวิทยาสังคมโซโลมอน แอสค์เสนอว่าความมีหน้าตาดีเป็นบุคลิกภาพศูนย์กลาง ฉะนั้นเราจึงสรุปว่าบุคลิกภาพอื่นของผู้ที่มีหน้าตาดีเป็นบุคลิกภาพควรจะดีเท่ากันและเป็นบุคลิกภาพที่ต้องการที่จะแสวงหา
“กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน” เกี่ยวข้องกับทฤษฎีบุคลิกภาพเชิงปริยาย (Implicit personality theory) โดยนักจิตวิทยาสังคมแฮโรลด์ เคลลีย์บุคลิกภาพแรกที่เราเรียนรู้จากผู้อื่นจะมีอิทธิพลต่อการตีความหมายและสัญชานของบุคลิกภาพที่ตามมาเพราะการวางมาตรการการเปรียบเทียบเอาไว้แล้ว บุคคลที่มีหน้าตาดีมักจะทำให้คิดกันโดยปริยายว่าเป็นผู้มีบุคลิกภาพดีและมีความสามารถมากว่าผู้มีหน้าตาธรรมดา ฉะนั้นเราจึงเห็นการใช้ผู้มีชื่อเสียงในการสนับสนุนสินค้าที่ตนเองไม่มีความรู้จริงในการวัดว่าสินค้าดีจริงหรือไม่ และอาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าดังว่ามาก่อนหน้าที่จะมาทำการสนับสนุน
“กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน” มักจะเป็นศัพท์ที่ใช้บ่อยในแผนกจัดหาบุคคลกร ที่หมายถึงความลำเอียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้สัมภาษณ์ที่เมื่อเห็นบุคลิกภาพทางบวกของผู้ถูกสัมภาษณ์แล้วก็จะมองข้ามบุคลิกภาพทางลบหรือลดความสนใจที่จะแสวงหาบุคลิกภาพทางลบ หรือ ในกรณีตรงกันข้าม
กระบวนการคิดเชิงเทิดทูนมุมกลับ
[แก้]ในทางตรงกันข้ามกับ “กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน” เกิดขึ้นเมื่อบุคคล, ตรา หรือสิ่งอื่นๆ ที่ถือว่ามีลักษณะหนึ่งลักษณะใดที่ออกไปในทางลบเพียงอย่างเดียวที่เป็นผลให้ได้รับการตัดสินรวบยอดว่าคุณภาพอื่นๆ ไม่ดีตามไปด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการใช้จุดอ่อนจุดเดียวในการเป็นอิทธิพลต่อการตัดสินว่าลักษณะอื่นๆ เป็นลักษณะทางลบทั้งสิ้น[1][2] This is also called the "devil effect."[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Weisman, Jonathan (August 9, 2005). "Snow Concedes Economic Surge Is Not Benefiting People Equally". washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.
- ↑ Deutsch, Claudia H. (August 16, 2006). "With Its Stock Still Lackluster, G.E. Confronts the Curse of the Conglomerate". nytimes.com. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.
- ↑ Hatcher, Cathrine (January 14, 2008). "Polishing Your Halo". cbs11tv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.