กระทรวงยุติธรรม (สหราชอาณาจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงยุติธรรม

ที่ทำการกระทรวง ณ เลขที่ 102 ตึกเพ็ตตี ฟรานซ์ ลอนดอน
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้งพ.ศ. 2550
กระทรวงก่อนหน้า
เขตอำนาจสหราชอาณาจักร (ในข้อกฎหมายที่ยังมีผลบังคับถึงปัจจุบัน ในเขต อังกฤษ และ เวลส์)
สำนักงานใหญ่102 Petty France
Westminster, London, SW1H 9AJ
บุคลากรมากกว่า 77,000 คน
งบประมาณประจำปี8.2 พันล้าน ปอนด์ (ปัจจุบัน) และ 400 ล้านปอนด์ (เงินต้น) ในปี 2011–12 [1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารกระทรวง
ลูกสังกัด
เว็บไซต์Official website

กระทรวงยุติธรรมแห่งสหราชอาณาจักร เป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลสหราชอาณาจักร รับผิดชอบเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อกฎหมายโดยโอนย้ายงานด้านนี้มาจาก รองนายกรัฐมนตรี รวมไปถึงงานด้านสิทธิมนุษยชน และงานกฎหมายใน สหราชอาณาจักร โดยผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงมีชื่อตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า เสนาบดีใหญ่ในสมเด็จฯฝ่ายยุติธรรม (รัฐมนตรียุติธรรม) ซึ่งจะดำรงตำแหน่ง ประธานศาลสูงสุด ด้วย ตั้งแต่ปี 2007

โดยกระทรวงนี้ก่อตั้งในเดือน พฤษภาคม 2007 โดยโอนอำนาจหน้าที่บางส่วนจาก สำนักปิตุภูมิ และอำนาจหน้าที่ทั้งหมดของ กระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญ[2] ซึ่งโอนย้ายหน้าที่จาก สำนักประธานศาลสูงสุด ในปี 2003

โดยพันธกิจของกระทรวงคือ การลดผู้กระทำผิดซ้ำ และปกป้องจากกระแสสังคม, ให้ข้อมูลด้านยุติธรรมแก่ประชาชน, สร้างเสริมความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม, และส่งเสริมสิทธิพลเมือง[3] โดยอำนาจหน้าที่ใน รัฐสภาอังกฤษ จะดูแลด้านตุลาการ, ระบบศาล และ งานราชทัณฑ์และคุมประพฤติ ในเขต อังกฤษ และ เวลส์, รวมถึงหน้าที่เพิ่มเติมที่มีอำนาจทั่ว สหราชอาณาจักร เช่น ศาลฏีกาแห่งสหราชอาณาจักร และการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่ได้รับการตั้งแต่งโดยพระมหากษัตริย์

อำนาจหน้าที่[แก้]

เขตสหราชอาณาจักร[แก้]

ในช่วงที่ รัฐบาลผสมของแคเมอรอน บริหารในเดือน พฤษภาคม 2010 กระทรวงมีอำนาจจัดการในด้านความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐบาลสหราชอาณาจักร และรัฐบาลท้องถิ่น ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารแห่งไอร์แลนด์เหนือ, รัฐบาลสกอตแลนด์, และ รัฐบาลเวลส์

ต่อมาอำนาจหน้าที่ได้เปลื่ยนแปลงหลังจากที่มีการยกเลิกตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี โดยโอนหน้าที่ไปเป็นความรับผิดชอบของ สำนักคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีอำนาจชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวกับ การปฏิรูปการเมือง และ กฎหมาย เช่น การปฏิรูป สภาขุนนาง, กระทู้ถาม เวสต์โลเทียน, นโยบายด้านการส่งเสริมการเลือกตั้ง, นโยบายการระดมทุนพรรคการเมือง และ การสืบราชสันตติวงศ์

โดยรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ร่วมกันในการพิจารณา ข้อกฎหมายต่างๆ ในสหราชอาณาจักร[4]

โดยอำนาจของกระทรวงที่มีในสหราชอาณาจักรมีดังต่อไปนี้:

ด้านอำนาจของ ประธานศาลสูงสุดแห่งบริเตนใหญ่ รัฐมนตรีจะดูแลในด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ สมุหเทศาภิบาล (ผู้แทนพระองค์ในนาม สมเด็จฯ), งานพิเศษที่มอบหมายจากทางวัง นอกเหนืออำนาจหน้าที่, งานคัดเลือกและการสืบตระกูลขุนนาง, และงานที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญที่ยังไม่ชัดเจน[5]

โดยนับตั้งแต่ ไอร์แลนด์ ประกาศเอกราชในปี 1922 แต่ ไอร์แลนด์เหนือ ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่ว่าอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการประสานงานได้โอนย้ายไปยังตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการไอร์แลนด์เหนือ ในปัจจุบัน

เขต อังกฤษและเวลส์[แก้]

โดยอำนาจการบริหารด้านการยุติธรรม, การราชทัณฑ์, และการคุมประพฤติ กระทรวงมีอำนาจในเขต อังกฤษ และ เวลส์ เท่านั้น กระทรวงไม่สมารถแทรกแซง รบบยุติธรรมในเขตของ สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์เหนือ ได้

นอกเกาะอังกฤษ[แก้]

กระทรวงมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อประสานงานกับ ดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร อย่าง เจอร์ซีย์, เกิร์นซีย์ และ ไอล์ออฟแมนโดยในตำแหน่งดยุกแห่งนอร์มังดี ในดินแดนหมู่เกาะช่องแคบอีกด้วย

โดยในทางกฎหมาย, กฎหมายที่ออกในสหราชอาณาจักร ย่อมจะมีผลบังคับใช้ร่วมกับหมู่เกาะหรือดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร อีกด้วย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Budget 2011 (PDF). London: HM Treasury. 2011. p. 48. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
  2. National Audit Office (6 July 2010). Ministry of Justice, Financial Management Report (PDF). TSO. p. 10. ISBN 978-0-10-296533-9.
  3. List of Ministerial Responsibilities. London: Cabinet Office. 2010. p. 44.
  4. "สำนักคณะรัฐมนตรี". รายซื่อกระทรวงและส่วนราชการในรัฐบาลสหราชอาณาจักร. สำนักคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  5. "สำนักคณะรัฐมนตรี". รายซื่อกระทรวงและส่วนราชการในรัฐบาลสหราชอาณาจักร. สำนักคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  6. "Ministry of Justice – What we do – Crown dependencies". สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.