พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช | |
---|---|
![]() | |
| |
พระนาม | พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช |
พระอิสริยยศ | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 |
ฐานันดรศักดิ์ | พระองค์เจ้าชั้นเอก |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จักรี |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 |
สิ้นพระชนม์ | 16 เมษายน พ.ศ. 2468 (69 ปี) |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาจันทร์ |
หม่อม | หม่อมขาบ ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา หม่อมแช่ม ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา หม่อมสุ่น ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา หม่อมนวล ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา หม่อมราชวงศ์เพี้ยน ศุขสวัสดิ หม่อมชุ่ม ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา หม่อมเขียน ศุขสวัสดิ หม่อมเอียด ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา หม่อมเปล่ง ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา หม่อมเจริญ ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา หม่อมตี่ ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 37 พระองค์ |
พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช เมื่อประสูติมีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายศุขสวัสดี เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 23 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. 1217 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2398
ในตอนต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะจัดตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ขึ้น จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี ซึ่งในเวลานั้นทรงเจริญพระชนมายุแล้ว ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (Cadet- นักเรียนนายร้อย)
เมื่อถึง พ.ศ. 2414 จึงได้ทรงเป็นนายดาบในกองร้อยที่ 5 กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
พ.ศ. 2416 ได้เลื่อนพระยศเป็นนายร้อยเอกในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 5 กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และในปีนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาตำแหน่งราชองครักษ์ขึ้นเป็นปฐม ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า "ราชเอดเดอแกมป์" (Aid-de-Camp) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี เป็นราชองครักษ์พระองค์แรกก่อนบุคคลอื่น ดังนั้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองต่างประเทศมี มลายู ชวา และอินเดีย พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี ก็ได้โดยเสด็จในหน้าที่ราชองครักษ์ทุกแห่งไป และในปีต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นผู้กำกับแตรวงในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
พ.ศ. 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมและให้ออกวัง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช ครุฑนาม ทรงศักดินา 15000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง แล้วให้ทรงตั้งเจ้ากรมเป็นหมื่นอดิศรอุดมเดช ถือศักดินา 600 ปลัดกรมเป็นหมื่นภูเบศรบริรักษ์ ถือศักดินา 400 และสมุห์บาญชีเป็นหมื่นประจักษ์พลขันธ์ ถือศักดินา 300 โดยในการออกวังให้ทรงย้ายจากพระตำหนักสวนกุหลาบในบริเวณพระบรมมหาราชวังและโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวังท้ายวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามพระราชทาน แล้วเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระสุพรรณบัฏที่วังตามประเพณีซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้น
พ.ศ. 2430 ได้ทรงเป็นผู้แทนผู้บังคับการทหารล้อมวัง ซึ่งปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2431 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายพันเอกผู้บังคับการทหารราบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ จนได้เลื่อนเป็นนายพลตรี
พ.ศ. 2433 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มาว่าการในหน้าที่ปลัดทหารบกใหญ่
พ.ศ. 2435 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นผู้บังคับการกรมทหารหน้า ซึ่งปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 4
พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 10
พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 4 และในปีนี้เอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ครุฑนาม ทรงศักดินา 15000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง แล้วให้ทรงเลื่อนเจ้ากรมเป็นหลวงอดิศรอุดมเดช ถือศักดินา 800 ปลัดกรมเป็นขุนภูเบศร์บริรักษ์ ถือศักดินา 600 สมุห์บาญชีคงเป็นหมื่นประจักษ์พลขันธ์ ถือศักดินา 400 แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการกรมพระคชบาล
พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายมาเป็นจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า และดำรงตำแหน่งนี้จนตลอดพระชนมายุ และในปีนี้ได้ทรงดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2462 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายพลโท
พ.ศ. 2463 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารบกม้ากรุงเทพ ฯ รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากการรับราชการทหารอันเป็นหน้าที่เฉพาะแล้ว พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ยังเคยทรงทำหน้าที่พิเศษถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เป็นช่างถ่ายรูป ผู้บัญชาการมหาดเล็กตั้งเครื่อง เป็นต้น
ในตอนปลายพระชนมายุ พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช มีพระอาการประชวรพระปัปผาสะ ครั้นถึง ณ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2468 เวลา 7 นาฬิกา 20 นาที หลังเที่ยง ก็สิ้นพระชนม์โดยสงบ แวดล้อมด้วยพระโอรส พระธิดา ชายา และพระประยูรญาติอันสนิท เป็นที่เศร้าโศกสลดเสียดายแก่ผู้ใกล้ชิดพระองค์ทั่วกัน สิริพระชันษาได้ 69 ปี 1 เดือน 13 วัน ได้รับพระราชทาน พระโกศทองน้อย บรรจุพระศพ ตั้งบำเพ็ญพระกุศล ณ วังถนนพระอาทิตย์ และ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง
พระโอรสและพระธิดา[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ทรงเป็นต้นราชสกุลสุขสวัสดิ มีหม่อม 11 ท่าน ได้แก่
- หม่อมขาบ
- หม่อมแช่ม ธิดาพระนนทบุรี
- หม่อมสุ่น
- หม่อมนวล
- หม่อมราชวงศ์เพี้ยน (ราชสกุลเดิม: คเนจร)
- หม่อมชุ่ม
- หม่อมเขียน ธิดาพระนนทบุรี
- หม่อมเอียด
- หม่อมเปล่ง
- หม่อมเจริญ
- หม่อมตี่
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 37 พระองค์ เป็นชาย 22 พระองค์ หญิง 14 พระองค์ และไม่ปรากฏว่าเป็นหญิงหรือชาย 1 พระองค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ | ที่ 1 ในหม่อมขาบ | 28 เมษายน 2415 | 25 พฤษภาคม 2471 | หม่อมเจ้ารำไพยุภา (เกษมศรี) หม่อมละม่อม หม่อมฮวย หม่อมละมัย หม่อมเทียบ หม่อมแจ๋ว | |
![]() |
2. หม่อมเจ้ามนัศสวาสดิ์ (พ.ศ. 2472: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามนัศวาสดิ์) |
ที่ 1 ในหม่อมชุ่ม | 19 พฤศจิกายน 2419 | 9 พฤศจิกายน 2495 | |
![]() |
3. หม่อมเจ้าสอาดศรี | ที่ 2 ในหม่อมขาบ | พ.ศ. 2421 | 21 กุมภาพันธ์ 2438 | |
![]() |
4. หม่อมเจ้าด้วง (หญิง) | พ.ศ. 2422 | ไม่ทราบปี | ||
![]() |
5. หม่อมเจ้าอลงกฎ (พ.ศ. 2473: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ พ.ศ. 2495: กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์) |
ที่ 3 ในหม่อมขาบ | 24 ตุลาคม 2423 | 19 ธันวาคม 2495 | หม่อมหลวงชุบ (สนิทวงศ์) |
![]() |
6. หม่อมเจ้าถูกถวิล | ที่ 1 ในหม่อมสุ่น | 29 มกราคม 2431 | 8 เมษายน 2472 | หม่อมเลื่อน หม่อมเหรียญ |
![]() |
7. หม่อมเจ้าศรีสุคนธ์ | ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์เพี้ยน | 14 มิถุนายน 2431 | 19 มกราคม 2506 | |
![]() |
8. หม่อมเจ้าอภิลักษณ์ | ที่ 1 ในหม่อมนวล | พ.ศ. 2432 | 23 สิงหาคม 2446 | |
9. หม่อมเจ้าทินทัต | ที่ 1 ในหม่อมแช่ม | 10 กรกฎาคม 2433 | 27 พฤศจิกายน 2463 | หม่อมผิว (วสุวัต) | |
![]() |
10. หม่อมเจ้าพุฒิสวัสดิ์ | ที่ 1 ในหม่อมเอียด | 24 กันยายน 2433 | พ.ศ. 2506 | หม่อมเจ้าแจ่มจำรัส (กาญจนะวิชัย) หม่อมกุหลาบ |
![]() |
11. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | 7 กุมภาพันธ์ 2434 | 29 เมษายน 2436 | ||
12. หม่อมเจ้ารัตจันทร์ | ที่ 2 ในหม่อมแช่ม | 5 ตุลาคม 2434 | 24 ธันวาคม 2509 | ||
![]() |
13. หม่อมเจ้าจัตุรัส | ที่ 2 ในหม่อมนวล | 20 ธันวาคม 2435 | 18 ตุลาคม 2518 | หม่อมอารีย์ (อิศรางกูร ณ อยุธยา) |
![]() |
14. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | 8 มีนาคม 2435 | 14 ธันวาคม 2436 | ||
![]() |
15. หม่อมเจ้าประพัฒพงษ์ | พ.ศ. 2436 | 14 มีนาคม 2449 | ||
16. หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ | ที่ 2 ในหม่อมสุ่น | 28 ธันวาคม 2437 | 19 มิถุนายน 2523 | หม่อมเจ้าอุทัยพงษ์ (เกษมศรี) หม่อมเจ้าวิไลวรรณ (เกษมศรี) หม่อมเยื้อน หม่อมสงบ | |
![]() |
17. หม่อมเจ้าดำเล็ก | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
18. หม่อมเจ้าอุบลเกษร | ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์เพี้ยน | 23 พฤศจิกายน 2438 | พ.ศ. 2506 | หม่อมเจ้าอุดมมงคล ชยางกูร | |
19. หม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ | ที่ 1 ในหม่อมเขียน | 15 มีนาคม 2439 | 31 มีนาคม 2519 | หม่อมเจ้ารัชมาลินี (ดิศกุล) | |
![]() |
20. หม่อมเจ้าสอาดองค์ | ไม่ทราบปี | พ.ศ. 2457 | ||
![]() |
21. หม่อมเจ้าแป๋ว (หญิง) | ไม่ทราบปี | พ.ศ. 2443 | ||
![]() |
22. หม่อมเจ้าดวง (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
![]() |
23. หม่อมเจ้าแต๋ว | ไม่ทราบปี | 14 มกราคม 2451 | ||
![]() |
24. หม่อมเจ้านิต (ชาย) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
25. หม่อมเจ้าวงศ์อดิศร | ที่ 3 ในหม่อมสุ่น | 4 ตุลาคม 2442 | พ.ศ. 2506 | หม่อมนพรัตน์ | |
![]() |
26. หม่อมเจ้าภาธรมณี | ที่ 3 ในหม่อมาชวงศ์เพี้ยน | 24 กันยายน 2444 | 30 มิถุนายน 2533 | |
27. หม่อมเจ้ากิตติเดชขจร | ที่ 4 ในหม่อมสุ่น | 4 เมษายน 2446 | 1 มีนาคม 2518 | หม่อมจอน หม่อมสมบุญ (เมระยาภรณ์) หม่อมแส หม่อมวิไล หม่อมสมจิต หม่อมบัวเงิน หม่อมเทียมตา หม่อมประยงค์ (ทองแท้) หม่อมบัวเขียว | |
![]() |
28. หม่อมเจ้าแป๊ะ | 21 มกราคม 2446 | ไม่ทราบปี | ||
29. หม่อมเจ้าวรศักดิเดชอุดม | ที่ 2 ในหม่อมเขียน | 22 มิถุนายน 2447 | 10 กุมภาพันธ์ 2524 | หม่อมราชวงส์สดถิ์ศรี (สวัสดิกุล) หม่อมพัฒนา (คงสวัสดิ์) | |
30. หม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ | ที่ 3 ในหม่อมเขียน | 23 มีนาคม 2450 | 17 กุมภาพันธ์ 2529 | หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร (ฉัตรชัย) หม่อมมาลินี (สีบุญเรือง) | |
![]() |
31. หม่อมเจ้าพันธ์อดิศร | ที่ 2 ในหม่อมเอียด | 23 ธันวาคม 2452 | 21 เมษายน 2529 | หม่อมถนอม หม่อมสมัคร หม่อมสังเวียน หม่อมสมบัติ หม่อมยุพดี (ตันหยง) หม่อมอูจานี หม่อมตุ๊ |
![]() |
32. หม่อมเจ้ามานิตสวัสดิ์ | หม่อมเปล่ง | พ.ศ. 2452 | 26 มกราคม 2500 | หม่อมเล็ก (นิตย์เจริญ) |
33. หม่อมเจ้าประสพสุข | หม่อมเจริญ | 20 พฤศจิกายน 2454 | 12 สิงหาคม 2528 | หม่อมเจ้ากฤษณาพักตรพิมล (ดิศกุล) | |
![]() |
34. หม่อมเจ้าเล็ก (หญิง) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
![]() |
35. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
![]() |
36. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
37. หม่อมเจ้าอดิศรานุวงศ์ | หม่อมตี่ | 1 พฤศจิกายน 2457 | 17 มกราคม 2540 | หม่อมทองลิ (อิศรเสนา ณ อยุธยา) |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[1]
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๑, ตอน ๒๗, ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๔๖๔
- กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง-แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , 2547.
- หอพระสมุดวชิรญาณ. จดหมายเหตุเสด็จประพาสต่างประเทศ ในรัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองสิงคโปร์ แลเมืองปัตตาเวียครั้งแรก แลเสด็จประพาสอินเดีย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2468. (เจ้าภาพพิมพ์ในงานพระศพ พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช).
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต, ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
แหล่งข้อมุลอื่น[แก้]
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2398
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2468
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้า
- กรมหลวง
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- ราชสกุลศุขสวัสดิ
- ทหารบกชาวไทย
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- เสียชีวิตจากโรคปอด