พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367
สิ้นพระชนม์4 ธันวาคม พ.ศ. 2405 (38 ปี)
หม่อมหม่อมจิ๋ม
หม่อมบาง
หม่อมแช่ม
พระบุตร14 พระองค์
ราชสกุลสุประดิษฐ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฏ บุรุษยรัตนราชวโรรส กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 – 4 ธันวาคม พ.ศ. 2405) พระนามเดิม หม่อมเจ้าสุประดิษฐ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4 (ธิดาของพระอินทร์อภัย (พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี)) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีวอกฉศก จ.ศ. 1186 ตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์เป็นพระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูตินอกเศวตฉัตร (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส) แรกประสูติ เป็น หม่อมเจ้าสุประดิษฐ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสถาปนาขึ้นเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ

ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร กำกับราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฏ บุรุษยรัตนราชวโรรส กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร สิ้นพระชนม์เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ ปีจอจัตวาศก จ.ศ. 1224 ตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2405 สิริพระชันษา 38 ปี เป็นต้น ราชสกุลสุประดิษฐ

พระโอรส-พระธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร มีหม่อม 3 คน ได้แก่

  • หม่อมจิ๋ม
  • หม่อมบาง
  • หม่อมแช่ม

มีพระโอรส 5 องค์ และมีพระธิดา 1 พระองค์ กับ 8 องค์ รวม 14 พระองค์/องค์ ได้แก่

ลำดับ พระรูปและพระนาม เพศ พระมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระชันษา คู่สมรส
1
หม่อมเจ้าสถิตย์เสถียร
ช. ไม่มีข้อมูล 30 มกราคม พ.ศ. 2393[1] 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 81 ปี 7 วัน หม่อมเลื่อม
2
หม่อมเจ้าหญิงจันทร
ญ. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2447 ไม่มีข้อมูล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบงกช
3
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงแก้วกัลยาณี
ญ. หม่อมจิ๋ม พ.ศ. 2392 3 ธันวาคม พ.ศ. 2456 63 ปี 235 วัน ถึง 64 ปี 234 วัน หม่อมเจ้าเดช นพวงศ์
4
หม่อมเจ้าหญิงใหญ่
ญ. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2396 ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[1] ไม่เกิน 72 ปี 203 วัน
5
หม่อมเจ้าหญิงโสภา หรือโสภานารีรัตน
ญ. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2396 2 ตุลาคม พ.ศ. 2449 52 ปี 173 วัน ถึง 53 ปี 172 วัน
6
หม่อมเจ้าหญิงสฤกษาสัณฐาน
ญ. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2396 13 มกราคม พ.ศ. 2452 54 ปี 276 วัน ถึง 55 ปี 275 วัน
7
หม่อมเจ้าหญิงผกา หรือพวงผกา
ญ. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2396 ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[1] ไม่เกิน 72 ปี 203 วัน
8
หม่อมเจ้าหญิงสยุมยุพี หรือยุพี
ญ. หม่อมบาง พ.ศ. 2398 12 มีนาคม พ.ศ. 2431 31 ปี 334 วัน ถึง 32 ปี 333 วัน
9
หม่อมเจ้าสง่างาม
ช. หม่อมแช่ม พ.ศ. 2400 23 เมษายน พ.ศ. 2460 59 ปี 11 วัน ถึง 60 ปี 10 วัน หม่อมแช่ม
หม่อมมี
หม่อมละม้าย
หม่อมเยื้อน
หม่อมเขียน
หม่อมพลู
10
หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ
ช. หม่อมบาง 15 มกราคม พ.ศ. 2401[1] 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 70 ปี 126 วัน
11
หม่อมเจ้าหญิงวงแข หรือดวงแข
ญ. หม่อมบาง พ.ศ. 2405 2 กันยายน พ.ศ. 2453 47 ปี 143 วัน ถึง 48 ปี 142 วัน
12
หม่อมเจ้าหญิงกมลมาต
ญ. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[1] ไม่มีข้อมูล
13
หม่อมเจ้างาม
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[1] ไม่มีข้อมูล
14
หม่อมเจ้าเล็ก
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[1] ไม่มีข้อมูล

พระนัดดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร มีพระนัดดารวม 31 คน ดังนี้

  • หม่อมเจ้าสถิตย์เสถียร สุประดิษฐ์ มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์จันทรคาธ สุประดิษฐ์
    • หม่อมราชวงศ์ขจร สุประดิษฐ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงศรีสวาสดิ์ นพวงศ์ สมรสกับหลวงบวรวาที (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ นพวงศ์)
    • หม่อมราชวงศ์รัตน์ สุประดิษฐ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทิพาภรณ์ ไชยาคำ สมรสกับพระยาภูวนัยสนิท (อุ่น ไชยาคำ)
    • หม่อมราชวงศ์ฉวีวรรณ สุประดิษฐ์
    • จ่าโขนเชิดประทีปใน (หม่อมราชวงศ์อนุสรณ์ สุประดิษฐ์)
  • หม่อมเจ้าหญิงจันทร นพวงศ์ มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอุบล นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงกลาง นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจงกล พรหมปิณฑะ สมรสกับจ่าใจแกว่น (สวัสดิ์ พรหมปิณฑะ)
    • หลวงศิวพันธ์นิภาธร (หม่อมราชวงศ์ส่อศรี นพวงศ์)
    • หม่อมราชวงศ์ประภาส นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์ไพฑูรย์ นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงรวย นพวงศ์
  • หม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ มีโอรสธิดา 16 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงมลิ สุประดิษฐ์
    • หลวงสมุทรโคจร (หม่อมราชวงศ์เล็ก สุประดิษฐ์) ในหม่อมแช่ม
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสอาด สุประดิษฐ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงลมุล ทวีวงศ์ หม่อมห้ามในหม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์เจริญ สุประดิษฐ์
    • หม่อมราชวงศ์ประวัติ สุประดิษฐ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสงวน วัชรเสถียร ในหม่อมละม้าย สมรสกับพระยาธนพิธพิศาล (ตง วัชรเสถียร)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสอิ้ง แสงอร่าม ในหม่อมเขียน สมรสกับพลตำรวจตรีชุลี แสงอร่าม
    • หม่อมราชวงศ์ไศลรัตน์ สุประดิษฐ์ ที่ 1 ในหม่อมเยื้อน
    • หม่อมราชวงศ์หญิงลดา ยุคล ในหม่อมมี เป็นหม่อมห้ามในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
    • หม่อมราชวงศ์มีน สุประดิษฐ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเลื่อน สุประดิษฐ์ ที่ 2 ในหม่อมเยื้อน
    • หม่อมราชวงศ์สนั่น สุประดิษฐ์ ที่ 3 ในหม่อมเยื้อน
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสรัท สุประดิษฐ์ ในหม่อมเขียน
    • หม่อมราชวงศ์สง่า สุประดิษฐ์ ในหม่อมละม้าย
    • หม่อมราชวงศ์สมชาย สุประดิษฐ์ ในหม่อมพลู

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • หม่อมเจ้าสุประดิษฐ (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ วรฤทธิราชมกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส (2 เมษายน พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2399)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พ.ศ. 2399 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2405)

ภายหลังการสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฏ บุรุษยรัตนราชวโรรส กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  2. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468.