กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรมสื่อสารทหารเรือ)
กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
ประเทศ ไทย
บทบาทการสื่อสาร[1][2]
เทคโนโลยีสารสนเทศ[1][2]
การสงครามอิเล็กทรอนิกส์[1][2]
ส่งกำลังและซ่อมบำรุง[1][2]
กิจการวิทยุกระจายเสียง[1][2]
กองบัญชาการพระราชวังเดิม ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
สมญานักรบไซเบอร์[3]
เพลงหน่วยเพลงมาร์ชกรมสื่อสารทหารเรือ
(ประพันธ์โดยพันจ่าเอก บรรพต พุทธรักษา)
วันสถาปนา13 มกราคม พ.ศ. 2456; 111 ปีก่อน (2456-01-13)[2]
ปฏิบัติการสำคัญสงครามอินโดจีน[4]
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[5]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมปัจจุบันพลเรือโท[6] วัชระ พัฒนรัฐ​[7]
ผบ. สำคัญพลเรือตรี ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง[4]
พลเรือตรี ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์[2]

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ (อักษรย่อ: สสท.ทร.[8]; อังกฤษ: Naval Communications and Information Technology Department) หรือชื่อเดิม กรมสื่อสารทหารเรือ (อักษรย่อ: สส.ทร.[4]) เป็นส่วนราชการของกองทัพเรือไทย ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ[1][2] โดยมีเจ้ากรมคนปัจจุบัน ( 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566) ได้แก่ เจ้ากรมคนปัจจุบันได้แก่ พลเรือโท วัชระ พัฒนรัฐ​[9]รองเจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือได้แก่ พลตรี วรัญ เกษร[10] นอกจากนี้ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ยังเป็นหนึ่งในกำลังพลที่เข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[11]

ประวัติ[แก้]

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ถือกำเนิดพร้อมกับการก่อตั้งกรมเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะแผนกหนึ่งของกรมเสนาธิการทหารเรือ ในชื่อ "แผนกอาณัติสัญญาณ" โดยมีหน่วยงานในสังกัด 3 หน่วย ได้แก่ สถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือกรุงเทพ, สถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือสงขลา และสถานีวิทยุโทรเลขในเรือหลวง[2]

ซึ่งสถานีวิทยุของแผนกอาณัติสัญญาณได้เปิดการติดต่อสื่อสารทางวิทยุครั้งแรกในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณากระทำพิธีเปิดสถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ณ ตำบลศาลาแดง พระนคร ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ รับพระราชโทรเลขฉบับปฐมฤกษ์ ที่สถานีวิทยุทหารเรือสงขลา[2][4]

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ จึงถือเอาวันที่ 13 มกราคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา[2][4]

สำหรับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 การสื่อสารราชนาวีได้ถือกำเนิดใหม่ในชื่อ "กองสื่อสาร" ซึ่งขึ้นกับกรมยุทธการทหารเรือ โดยในช่วงประมาณกลางปีดังกล่าวได้ย้ายจากพระราชวังเดิม ไปอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า[4]

ครั้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 ได้มีพระราชกฤษฎีกา ให้กองสื่อสารเปลี่ยนชื่อเป็น "กรมสื่อสารทหารเรือ" และในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ก็ได้ย้ายมาอยู่พระราชวังเดิมชั้นใน พร้อมจัดตั้งส่วนราชการใหม่ โดยจัดเป็นกรมในส่วนบัญชาการของกองทัพเรือ[4]

กระทั่งปี พ.ศ. 2552 กองทัพเรือไทยได้ปรับปรุงโครงสร้างกองทัพ โดยได้ทำการเปลี่ยนกรมสื่อสารทหารเรือ มาเป็น "กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ"[2]

การศึกษาดูงาน[แก้]

ตั้งแต่อดีต กรมสื่อสารทหารเรือได้จัดส่งบุคลากรไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เพื่อกลับมาพัฒนาระบบของทหารเรือให้มีประสิทธิภาพ[4] รวมถึงปี พ.ศ. 2555 คณะข้าราชการจากกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[12] ส่วนในปี พ.ศ. 2561 กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ก็ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เดินทางมาศึกษาดูงาน[13]

สิ่งสืบทอด[แก้]

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ยังได้นำเสนอแนวทางการรักษาความปลอดภัย ด้านการสื่อสารและสารสนเทศ แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ[14] รวมถึงพัฒนาบุคลากรทางการทหารให้มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ทั้งเชิงรับและเชิงรุก[3]

กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ได้มีส่วนช่วยผู้ประสบภัยหนาวอย่างรุนแรง ในบริเวณชายแดนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการมอบผ้าห่มกันหนาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)[15]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2560 : รางวัลระดับพื้นฐาน – วันแห่งการจัดการความรู้ของกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2560 จากพลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ[16][17]

รายนามเจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ[แก้]

  1. นาวาโท พระวิทยุทูรลิขิต (1 เมษายน พ.ศ. 2456 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2468)
  2. นาวาโท พระโทรกิจชำนาญ (1 มิถุนายน พ.ศ. 2468 - 4 มกราคม พ.ศ. 2475)
  3. นาวาตรี หลวงวิทยุกลวิจักษณ์ (5 มกราคม พ.ศ. 2475 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476)
  4. เรือเอก หลวงตะรีกลรักษ์ (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2476)
  5. เรือเอก หลวงชินะนาวิน (22 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 14 มกราคม พ.ศ. 2477)
  6. นาวาโท หลวงสวัสดิ์วรฤทธิ์ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2477 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482)
  7. นาวาโท สงบ จรูญพร (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2484)
  8. พลเรือตรี ชรี สินธุโสภณ (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494)
  9. นาวาเอก ชลอ สินธุเสนีย์ (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2494)
  10. นาวาเอก ใบ เทศนสดับ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2494 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2495)
  11. นาวาเอก แสวง กาญจนกนก (1 มกราคม พ.ศ. 2496 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2498)
  12. พลเรือตรี เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา (1 มกราคม พ.ศ. 2499 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2499)
  13. พลเรือตรี ยิ่ง ศรีหงษ์ (1 มกราคม พ.ศ. 2500 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2500)
  14. พลเรือตรี ประสิทธิ์ ใยเงิน (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2500)
  15. พลเรือตรี ประชุม ธรรมโมกขะเวส (1 มกราคม พ.ศ. 2501 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2501)
  16. พลเรือตรี สถาปน์ เกยานนท์ (1 มกราคม พ.ศ. 2502 - 30 กันยายน พ.ศ. 2504)
  17. พลเรือตรี ปิติ ตันติเวสส (1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 - 30 กันยายน พ.ศ. 2510)
  18. พลเรือตรี สุรพล แสงโชติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516)
  19. พลเรือตรี ศิริ ศิริรังษี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2526)
  20. พลเรือตรี เจตน์ ธัมมรัคคิต (1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - 30 กันยายน พ.ศ. 2529)
  21. พลเรือตรี สมพงษ์ กมลงาม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - 30 กันยายน พ.ศ. 2531)
  22. พลเรือตรี สุวิทย์ บัวเผื่อน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532)
  23. พลเรือตรี เกษมศักดิ์ พรหมบุตร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2533)
  24. พลเรือตรี พยุง ผดุงนาวิน (1 เมษายน พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2533)
  25. พลเรือตรี ทวีศักดิ์ ศรีประยูร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2534)
  26. พลเรือตรี ธำรง วิบูลย์เสถียร (1 เมษายน พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2535)
  27. พลเรือตรี เกรียงวุธ สมุทรกลิน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 - 30 กันยายน พ.ศ. 2537)
  28. พลเรือตรี วีระ จงเจริญ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539)
  29. พลเรือตรี มนตรี อติแพทย์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2540)
  30. พลเรือตรี วิชล ภูษา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541)
  31. พลเรือตรี ไพศาล อัมระปาล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542)
  32. พลเรือตรี ชัชวาลย์ อัมระปาล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544)
  33. พลเรือตรี นพดล โชคระดา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2545)
  34. พลเรือตรี ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547)
  35. พลเรือตรี อมรเทพ ณ บางช้าง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549)
  36. พลเรือตรี ชุมนุม อาจวงษ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
  37. พลเรือตรี พัลลภ ตมิศานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
  38. พลเรือตรี ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553)
  39. พลเรือตรี พงษ์เทพ หนูเทพ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
  40. พลเรือตรี พลเดช เจริญพูล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
  41. พลเรือตรี วิโรจน์ ธันวรักษ์กิจ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
  42. พลเรือโท พูลศักดิ์ อุบลเทพ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
  43. พลเรือโท วิโรจน์ ธันวรักษ์กิจ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560)
  44. พลเรือโท พงศกร กุวานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
  45. พลเรือโท อรัญ นำผล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562)
  46. พลเรือโท กฤษดา ประพฤติธรรม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564)
  47. พลเรือโท อะดุง พันธุ์เอี่ยม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565)
  48. พลเรือโท ชยุต นาเวศภูติกร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 30 กีนยายน พ.ศ. 2566)
  49. พลเรือโท[18] วัชระ พัฒนรัฐ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)[19]

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 ๑๓ มกราคม วันคล้ายวันสถาปนากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
  3. 3.0 3.1 ทัพเรือเร่งฝึก 'นักรบไซเบอร์' รับมือภัยคุกคามระบบสารสนเทศ - ไทยรัฐ
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 วารสาร 100 ปี กรมสื่อสาร - SlideShare
  5. ไม่ใช่แค่ สวย แกร่ง เก่ง...แต่เสียสละสุด ๆ !! พร้อมแล้ว !! 121 "เหยี่ยวดำ" ทหารพรานหญิง นย.รุ่นแรกลงใต้.ผบ.ทร.ให้กำลังใจ และชื่นชมประดู่เหล็กหญิง
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 8 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 27 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  8. "ส่วนบัญชาการ : Command and General Staff Group - โรงเรียนนายเรือ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 34 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 38 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  11. "บ้านเมือง - แกร่งไม่แพ้ชาย! ทหารพรานหญิงคืนความสงบสุขภาคใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-19. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  12. ไอซีทีต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทหารเรือ
  13. "นางเสาวณี สุวรรณชีพ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม พร้อมคณะ ศึกษาดูงานเกี่ยวกับระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศและศูนย์ไซเบอร์กองทัพเรือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  14. “ทัพเรือ” จัดกิจกรรม “โชว์ แชร์ ช็อป ใช้” เพิ่มทักษะ-เสริมความรู้กำลังพล - ข่าวสด
  15. ทร.รับมอบผ้าห่มกันหนาว 7,000 ผืน-อุปกรณ์การศึกษา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว
  16. ทร.ยกระดับขีดความสามารถกำลังพลในกิจกรรม 'วันแห่งการจัดการความรู้' - ไทยรัฐ
  17. หอประชุมกองทัพเรือ
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 8 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 34 วันที่ 30 สิงหาคม 2566

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]