กรมดับเพลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานดับเพลิง
FDMA
消防庁

สำนักงานใหญ่ของ FDMA อยู่ที่ชั้น 3 ของอาคาร 2 ของสำนักราชการส่วนกลาง ในเขตมินาโตะ กรุงโตเกียว
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (ปีโชวะที่ 35)
เขตอำนาจประเทศญี่ปุ่น
สำนักงานใหญ่คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ กรุงโตเกียว
35°40′31.9″N 139°45′4.6″E / 35.675528°N 139.751278°E / 35.675528; 139.751278
เว็บไซต์http://www.fdma.go.jp

สำนักงานดับเพลิง (ญี่ปุ่น: 消防庁โรมาจิShōbōchō) หรือ หน่วยดับเพลิงและการจัดการภัยพิบัติ (อังกฤษ: Fire and Disaster Management Agency) หรือที่รู้จักในชื่อย่อ FDMA เป็นหน่วยกำกับดูแลหน่วยดับเพลิง ที่ดำเนินด้านการจัดการเหตุฉุกเฉิน, การค้นหาและกู้ภัย รวมถึงการดับเพลิง ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระสังกัดกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร

ภูมิหลัง[แก้]

หน่วยงานบริหารจัดการอัคคีภัยและภัยพิบัติก่อตั้งขึ้นตามมาตรา 3 วรรค 2 ของพระราชบัญญัติองค์การรัฐบาลแห่งชาติ พ.ศ. 2491 และมาตรา 2 ของกฎหมายสำนักงานดับเพลิง พ.ศ. 2490 หน่วยงานมีหน้าที่กำกับดูแลความพยายามในการดับเพลิงตลอดจนการวางแผนโครงการ การบังคับใช้กฎหมาย และการกำหนดมาตรฐานและนโยบายเกี่ยวกับการดับเพลิง

หน่วยงานไม่ได้ดูแลเรื่องการดับเพลิง, การจัดการโดยตรง หรือกิจกรรมประจำวันของหน่วยงานเทศบาลแต่ละแห่ง แต่เป็นเจ้าของและบำรุงรักษารถดับเพลิง, เฮลิคอปเตอร์ และยานพาหนะสนับสนุนอื่น ๆ ที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศใช้ พวกเขายังให้การฝึกอบรม คำแนะนำ และการสนับสนุนอื่น ๆ สำหรับแต่ละหน่วย

มีสำนักงาน FDMA ในจังหวัดทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อช่วยจัดการกับภัยธรรมชาติ, การโจมตีของผู้ก่อการร้าย และอื่น ๆ โครงสร้างบางส่วนตั้งแต่ปี 2546 ได้รับการออกแบบตามสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลางในสหรัฐ จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แนวทางที่เป็นหนึ่งเดียวในการรับมือและจัดการกับภัยพิบัติทุกประเภท โดยปี 2563 มีงบประมาณ ¥16,344,273,000 เยน[1]

ความร่วมมือกับต่างประเทศ[แก้]

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศไทย ได้ร่วมลงนามความร่วมมือกับ FDMA ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการ เนื่องด้วยประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบภัยธรรมชาติค่อนข้างมากแต่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว จัดเป็นความร่วมมือในรูปแบบทวิภาคี[2] รวมถึงคณะเจ้าหน้าที่หน่วยงาน FDMA ยังเคยเดินทางมาเพื่อร่วมดูงานที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี ที่จัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อชมการสาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน โดยเทศบาลตำบลประจันตคามร่วมกับศูนย์ป้องกันภัย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 令和2年度一般会計予算 [2020 Fiscal Year General Accounting Budget] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). National Diet. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2020. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020.
  2. "ไทย-ญี่ปุ่น ร่วมมือทวิภาคีด้านจัดการสาธารณภัย". กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. ทศางค์. 6 กรกฎาคม 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012.
  3. "คณะเจ้าหน้าที่จาก FDMA และ Clair เยี่ยมชม ศูนย์ ปภ. เขต 3 ปราจีนบุรี". กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. 24 มีนาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]