ข้ามไปเนื้อหา

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
Thailand International Cooperation Agency
ตราประจำกรมความร่วมระหว่างประเทศ
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง19 กรกฎาคม พ.ศ. 2493; 74 ปีก่อน (2493-07-19)
กรมก่อนหน้า
  • คณะกรรมการความร่วมมือทางเทคนิคและเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2506)
  • กรมวิเทศสหการ (พ.ศ. 2506 – พ.ศ. 2547)
  • สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2558)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 8 ฝั่งทิศใต้ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณต่อปี424,287,900 บาท
(พ.ศ. 2566)
ฝ่ายบริหารกรม
  • จุลวัจน์ นรินทรางกูร ณ อยุธยา, รักษาการอธิบดี
  • พิมพ์วดี โสวรัตนพงศ์, รองอธิบดี
  • อรุณี ไฮมม์, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงการต่างประเทศ
เว็บไซต์กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือ TICA เป็นส่วนราชการระดับกรมสังกัดกระทรวงการการต่างประเทศ มีหน้าที่หลักในการจัดการและดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความช่วยเหลือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนความรู้

ประวัติ

[แก้]

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 รัฐบาลไทยได้ก่อตั้ง คณะกรรมการความร่วมมือทางเทคนิคและเศรษฐกิจ ขึ้นเพื่อดูแลโครงการช่วยเหลือทางเทคนิคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปภายในประเทศไทย กรมนี้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรต่างประเทศ ต่อมาได้ยกฐานะเป็น กรมวิเทศสหการ ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2506[1] สังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 จึงโอนมาสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี[2] กรมวิเทศสหการมีหน้าที่ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนไปจนถึงการประเมินผลโครงการ เมื่อประเทศไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาที่ดีจนถึงต้นศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยก็เปลี่ยนสถานะจากผู้รับความช่วยเหลือมาเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 กรมวิเทศสหการโอนมาสังกัดกระทรวงการการต่างประเทศ ต่อมาได้ยุบกรมวิเทศสหการมาก่อตั้ง สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2547[3] ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการให้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กรมความมือระหว่างประเทศ ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558[4] แล้วยังใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ มีส่วนราชการในสังกัด ดังต่อไปนี้[5]

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองความร่วมมือด้านทุน
  • กองความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
  • กองส่งเสริมและประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ

หน้าที่และภารกิจหลัก

[แก้]

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ มีหน้าที่ให้การสนับสนุนเป็นหลักกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ในช่วงหลังนี้ยังขยายความช่วยเหลือไปยังติมอร์-เลสเต ศรีลังกา และบางประเทศในแอฟริกาด้วย โครงการเหล่านี้สามารถได้รับการสนับสนุนทางการเงินโดยเฉพาะจากประเทศไทยเองหรือร่วมกับพันธมิตรต่างชาติ โดยทั่วไปแล้ว ทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรกว่า 100 องค์กร (ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน) ซึ่งรวมถึงองค์กรความร่วมมือด้านเทคนิคของเยอรมนี (GTZ) ด้วย

นอกจากนี้ ยังให้คำปรึกษาแก่องค์กรต่างประเทศเกี่ยวกับโอกาสทางการศึกษาในประเทศไทย และสนับสนุนให้เข้ามาศึกษาในประเทศไทย อีกทั้งยังจัดการเรื่องการจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับโครงการช่วยเหลือทางเทคนิคจำนวนมาก และให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับภาษี การต่อวีซ่าของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ อาสาสมัคร และสมาชิกองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) ที่ได้รับการรับรอง

  • ความร่วมมือทางวิชาการ: มีบทบาทในการจัดและสนับสนุนโครงการฝึกอบรมต่างๆ ให้กับเจ้าหน้าที่จากประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งในประเทศไทยและในประเทศนั้นๆ
  • ความช่วยเหลือทางการเงินและเทคนิค: ยังทำหน้าที่จัดหาและส่งมอบความช่วยเหลือทางการเงินและเทคนิคในรูปแบบต่างๆ ให้กับประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยอาจเป็นความช่วยเหลือทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข หรือด้านอื่นๆ
  • โครงการความร่วมมือทวิภาคีและพหุภาคี: จัดการและดำเนินโครงการร่วมกับประเทศต่างๆ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคและทั่วโลก
  • การส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปยังต่างประเทศ: ยังทำหน้าที่ส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปยังประเทศต่างๆ เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในด้านที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญ

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ถือเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในเวทีนานาชาติในฐานะประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคและโลก

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของประเทศไทยให้แก่ต่างประเทศ

[แก้]

ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ หรือ Official Development Assistance - ODA แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  1. ความช่วยเหลือแบบเงินให้เปล่า/ความร่วมมือทางวิชาการ (Grant and Technical Cooperation)
  2. ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเงินกู้ผ่อนปรน (Financial Assistance and Soft Loan)
  3. เงินบริจาค/เงินสนับสนุนแก่องค์กรพหุภาคีและองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Contribution to International Organizations)

ซึ่งในปี 2021 มูลค่าความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของประเทศไทยให้แก่ต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • มูลค่ารวมของ ODA ของไทยในปี 2564:
    • รวมมูลค่า 2,519.98 ล้านบาท
    • แบ่งออกเป็น:
      • เงินงบประมาณที่ให้ในรูปแบบเงินกู้ (งบเงินกู้ต่างประเทศ): 761.50 ล้านบาท (30.22%)
      • เงินช่วยเหลือ: 767.46 ล้านบาท (30.45%)
      • ความร่วมมือทางวิชาการ: 991.02 ล้านบาท (39.33%)
  • หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนามากที่สุด:
    • รวมทั้งหมด 2,519.98 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือมากที่สุด ได้แก่:
      • สบค.ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาฯ: 871.06 ล้านบาท
      • กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ: 425.82 ล้านบาท
      • กระทรวงการต่างประเทศ: 390.35 ล้านบาท
      • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม: 179.84 ล้านบาท
  • มูลค่าความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ปี 2564:
    • รวม 351.97 ล้านบาท คิดเป็น 13.97% ของมูลค่าความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยในปี 2564
    • ความร่วมมือทางวิชาการ: 310.14 ล้านบาท (88.11% ของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของ TICA)
    • การกระจายตามกลุ่มประเทศ:
      • CLMV: 246.24 ล้านบาท
      • SOUTH ASIA AND MIDDLE EAST: 40.47 ล้านบาท
      • SOUTHEAST ASIA: 10.59 ล้านบาท
      • OTHERS: 23.19 ล้านบาท
  • เงินอุดหนุนที่ไทยมอบให้องค์การระหว่างประเทศ:
    • รวม 418.3 ล้านบาท คิดเป็น 5.49% ของมูลค่าเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนา
    • หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนมากที่สุด:
      • กรมความร่วมมือฯ: 418.3 ล้านบาท
      • กระทรวงอุตสาหกรรม: 47.9 ล้านบาท
      • กระทรวงการคลัง: 87.77 ล้านบาท
      • TICA Contribution 2021:
        • UNDP: 15.46 ล้านบาท
        • TUSEF: 10.00 ล้านบาท

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๐๖, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๐ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๖
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๔๕ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๗, เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๖๒ ก หน้า ๑, ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ก หน้า ๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๕๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓๙ ก หน้า ๖, ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๔