กรมการเมืองพรรคแรงงานเกาหลี
กรมการเมืองคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี 조선로동당중앙위원회정치국 | |
---|---|
![]() | |
ผู้บริหาร | |
รูปแบบ | |
ผู้แต่งตั้ง | คณะกรรมาธิการกลาง |
รับผิดชอบต่อ | คณะกรรมาธิการกลาง |
สมาชิก | 17 |
ในประเทศเกาหลีเหนือ กรมการเมืองคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี (WPK) หรือเรียกอย่างย่อว่า กรมการเมือง เดิมเรียกว่า คณะกรรมาธิการการเมือง (ค.ศ. 1946–61) เป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดในพรรครัฐบาลระหว่างการประชุมของคณะกรรมาธิการกลาง มาตรา 25 ของกฎบัตรพรรคระบุว่า "กรมการเมืองแห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคและคณะกรรมาธิการสามัญประจำจะจัดระเบียบและชี้นำงานทั้งหมดของพรรคในนามของคณะกรรมาธิการกลางพรรคระหว่างการประชุมเต็มคณะ กรมการเมืองแห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคจะต้องประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง"[1] กรมการเมืองได้รับการเลือกตั้งโดยคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี
ประวัติศาสตร์
[แก้]กระทั่งเดือนเมษายน ค.ศ. 1956 กรมการเมืองเคยเป็นที่รู้จักในชื่อสภาการเมือง[2] หลังคิม อิล-ซ็องจัดตั้งระบบการปกครองแบบรวมศูนย์ในทศวรรษ 1960 กรมการเมืองได้เปลี่ยนจากองค์กรที่ทำหน้าที่ตัดสินใจและสามารถอภิปรายนโยบายได้กลายเป็นเพียงองค์กรตรายาง[3] สมาชิกคนสำคัญบางคนหายตัวไปโดยไม่มีคำอธิบาย รายล่าสุดคือคิม ดง-กยูใน ค.ศ. 1977[4] สมาชิกกรมการเมืองในสมัยคิม อิล-ซ็องและคิม จ็อง-อิลไม่มีฐานอำนาจแข็งแกร่งและต้องพึ่งพาผู้นำพรรคสำหรับตำแหน่งของพวกเขา[4] ด้วยเหตุนี้ กรมการเมืองจึงกลายเป็นผู้รับใช้ที่จงรักภักดีของผู้นำพรรค[4]
คณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง (Politburo Standing Committee - PSC) ของพรรคแรงงานเกาหลีก่อตั้งขึ้นในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 6 ใน ค.ศ. 1980 และกลายเป็นองค์กรสูงสุดของพรรคแรงงานเกาหลีเมื่อกรมการเมืองและคณะกรรมาธิการกลางไม่ได้อยู่ในสมัยประชุม[5] หลังการเสียชีวิตของโอ จิน-อูใน ค.ศ. 1995 คิม จ็อง-อิลยังคงเป็นสมาชิกเพียงคนเดียวของคณะกรรมาธิการสามัญฯ ที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยอีกสี่คน (คิม อิล-ซ็อง, คิม อิล, โอ จิน-อู และรี จ็อง-อก) เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง[6] ระหว่างการเสียชีวิตของโอ จิน-อูและการประชุมครั้งที่ 3 ไม่มีรายงานบ่งชี้ว่าคิม จ็อง-อิลหรือผู้นำพรรคส่วนกลางกำลังวางแผนปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการสามัญฯ[7]
เช่นเดียวกับคณะกรรมาธิการกลาง กรมการเมืองเองก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมากนักตลอดช่วงการปกครองของคิม จ็อง-อิล[8] อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งที่ 3 ก็มีการเลือกตั้งสมาชิกกรมการเมืองชุดใหม่[8] แม้ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติจำนวนมากจะเชื่อว่านี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงสู่คนรุ่นใหม่ แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น สมาชิกที่อายุน้อยที่สุดมีอายุ 53 ปี และอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 74 ปี (โดยมี 12 คนที่มีอายุเกิน 80 ปี)[8] สมาชิกใหม่ส่วนใหญ่เป็นผู้ช่วยของคิม จ็อง-อิลหรือเป็นสมาชิกในตระกูลคิม[8] คิม คย็อง-ฮี (น้องสาวของคิม จ็อง-อิล) และชัง ซ็อง-แท็ก (สามีของคิม คย็อง-ฮี) ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกเต็มตัวและสมาชิกสำรองตามลำดับ[8] ผู้ใกล้ชิดหลายคนของชังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสำรอง รวมถึงชู ซัง-ซ็อง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงประชาชน), อู ดง-ชุก (รองผู้อำนวยการกรมความมั่นคงแห่งรัฐหมายเลขหนึ่ง) และชเว รยง-แฮ (เลขาธิการฝ่ายกิจการทหาร)[8] พัก จ็อง-ซู (รองหัวหน้ากรมองค์การและชี้นำหมายเลขหนึ่ง) ผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการสืบทอดอำนาจของคิม จ็อง-อึน ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสำรอง[8] สมาชิกใหม่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่กองทัพ เลขาธิการพรรคหรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความมั่นคง[8] สมาชิกสิบคนจากคณะกรรมการป้องกันประเทศและรองนายกรัฐมนตรีสามคนได้รับแต่งตั้งให้เข้าสู่กรมการเมือง[8] ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจชั้นนำ (เช่น ฮง ซ็อก-ย็องและแท จ็อง-ซู) และผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศ (เช่น คัง ซ็อก-จู, คิม ย็อง-อิลและคิม ยัง-ก็อน) ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก[8] ในการประชุมครั้งที่ 4 สมาชิกกรมการเมืองหนึ่งในสามถูกปลดจากตำแหน่งโดยเป็นการเกษียณอายุและการไล่ออกที่ไม่ได้มีการประกาศล่วงหน้า[9] ชัง ซ็อง-แท็ก, พัก โด-ชุน และจอมพล คิม จ็อง-กัก ได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากสมาชิกสำรองเป็นสมาชิกเต็มตัว ฮย็อน ช็อล-แฮ, คิม ว็อน-ฮงและอี มย็อง-ซู ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกคณะกรรมการการทหารกลาง ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกเต็มตัวของกรมการเมือง[10] ควัก บ็อม-กี, โอ กุก-รย็อล, โร ดู-ช็อล, อี บย็อง-ซัมและโช ย็อน-จุนได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสำรอง[10]
หน้าที่
[แก้]อย่างเป็นทางการ กรมการเมืองมีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการตัดสินใจในประเด็นสำคัญระหว่างการประชุมเต็มคณะของคณะกรรมาธิการกลางและควรมีการประชุมเดือนละครั้ง สมาชิกประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญของรัฐและกองทัพ เช่น นายกรัฐมนตรีและรองประธานคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐ
องค์กรภายในของกรมการเมืองคือคณะผู้บริหารสูงสุด (Presidium) (เดิมชื่อคณะกรรมาธิการสามัญ) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี มีหน้าที่รับผิดชอบงานประจำวันของพรรค โดยปกติประกอบด้วยผู้นำสูงสุดและสมาชิกอีกสี่คน ในทางปฏิบัติแล้ว คณะผู้บริหารสูงสุดถือเป็นองค์กรสูงสุดทั้งในพรรคและในประเทศ และการตัดสินใจของคณะผู้บริหารสูงสุดนั้นมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายโดยพฤตินัย[11]
สมาชิกปัจจุบัน
[แก้]ณ พฤษภาคม ค.ศ. 2024 กรมการเมืองประกอบด้วยสมาชิก 16 คนและสมาชิกสำรอง 12 คน โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้:
สมาชิก
[แก้]สมาชิก | สมาชิกตั้งแต่ | ตำแหน่งพรรค | ตำแหน่งรัฐ |
---|---|---|---|
คิม จ็อง-อึน 김정은 (เกิด ค.ศ. 1984) |
11 เมษายน ค.ศ. 2012 | ||
คิม ด็อก-ฮุน 김덕훈 (เกิด ค.ศ. 1962) |
31 ธันวาคม ค.ศ. 2019 |
|
|
โช ยง-ว็อน 조용원 |
10 มกราคม ค.ศ. 2021 |
|
|
ชเว รยง-แฮ 최룡해 (เกิด ค.ศ. 1950) |
11 เมษายน ค.ศ. 2012 |
|
|
อี บย็อง-ช็อล 리병철 |
25 เมษายน ค.ศ. 2022 |
|
|
รี อิล-ฮวัน 리일환 (เกิด ค.ศ. 1960) |
31 ธันวาคม ค.ศ. 2019 |
|
|
พัก จ็อง-ช็อน 박정천 |
11 เมษายน ค.ศ. 2020 |
|
|
คิม แจ-รยง 김재룡 (เกิด ค.ศ. 1959) |
9 เมษายน ค.ศ. 2019 |
| |
โช ชุน-รยง 조춘룡 |
31 ธันวาคม ค.ศ. 2023 (สำรอง: 8 มิถุนายน ค.ศ. 2022) |
|
|
ช็อน ฮย็อน-ช็อล 전현철 |
8 มิถุนายน ค.ศ. 2022 (สำรอง: 10 มกราคม ค.ศ. 2021) |
|
|
พัก แท-ซ็อง 박태성 (เกิด ค.ศ. 1955) |
8 มิถุนายน ค.ศ. 2022 |
|
|
โอ ซู-ยง 오수용 |
18 มิถุนายน ค.ศ. 2023 (วาระที่สอง) |
|
|
ช็อง คย็อง-แท็ก 정경택 (เกิด ค.ศ. 1961) |
10 เมษายน ค.ศ. 2019 |
|
|
พัก จ็อง-กึน 박정근 |
31 ธันวาคม ค.ศ. 2021 |
| |
อี ย็อง-กิล 리영길 (เกิด ค.ศ. 1955) |
10 มกราคม ค.ศ. 2021 |
|
|
อี แท-ซ็อบ 리태섭 |
8 มิถุนายน ค.ศ. 2022 (สำรอง: 31 ธันวาคม ค.ศ. 2021) |
|
|
ชเว ซ็อน-ฮี 최선희 |
29 ธันวาคม ค.ศ. 2024 |
|
|
อี ย็อง-กิล 리영길 |
29 ธันวาคม ค.ศ. 2024 |
|
|
สมาชิกสำรอง
[แก้]สมาชิกสำรอง | Alternate member since |
ตำแหน่งพรรค | ตำแหน่งรัฐ |
---|---|---|---|
คัง ซุน-นัม | 31 ธันวาคม ค.ศ. 2022 |
|
|
ชเว ซ็อน-ฮี 최선희 |
8 มิถุนายน ค.ศ. 2022 |
| |
พัก แท-ด็อก 박태덕 (เกิด ค.ศ. 1955) |
10 มกราคม ค.ศ. 2021 |
|
|
โช ชัง-อิล | 31 ธันวาคม ค.ศ. 2022 |
|
|
คิม ฮย็อง-ชิก 김형식 |
10 มกราคม ค.ศ. 2021 |
|
|
ฮัน กวัง-ซัง 한광상 |
8 มิถุนายน ค.ศ. 2022 |
|
|
คิม ซ็อง-นัม 김성남 |
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 |
|
|
อี ซ็อน-กว็อน 리선권 |
18 มิถุนายน ค.ศ. 2023 (วาระที่สอง) |
|
|
อี ช็อล-มัน 리철만 |
10 มกราคม ค.ศ. 2021 |
|
|
อู ซัง-ช็อล 우상철 |
10 มกราคม ค.ศ. 2021 |
| |
อี ชัง-แด 리창대 |
8 มิถุนายน ค.ศ. 2022 |
|
|
คิม ซู-กิล | 31 ธันวาคม ค.ศ. 2022 |
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rules of the Workers' Party of Korea (28 September 2010) (조선로동당규약—2010년 9월 28일)" (PDF). 28 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 June 2017.
- ↑ Lankov 1999, p. 47.
- ↑ Buzo 1999, p. 31.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Buzo 1999, p. 32.
- ↑ Kim 1982, p. 140.
- ↑ Kim 2000, p. 257.
- ↑ Kim 2000, pp. 257–258.
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 Gause 2011, p. 148.
- ↑ Gause 2013, p. 40.
- ↑ 10.0 10.1 "Kim Jong Un Appointed "First Secretary" of Korean Workers' Party". North Korea Leadership Watch. 11 April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
- ↑ "Defence Development Exhibition "Self-Defence-2021" Opens with Splendor". Korean Central News Agency. 12 October 2021. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
บรรณานุกรม
[แก้]- บทความ หนังสือ และรายการในวารสาร
- Haggard, Stephen; Herman, Luke; Ryu, Jaesung (July–August 2014). "Political Change in North Korea: Mapping the Succession". Asian Survey. University of California Press. 54 (4): 773–780. doi:10.1525/as.2014.54.4.773. JSTOR 10.1525/as.2014.54.4.773.
- Kim, Nam-Sik (Spring–Summer 1982). "North Korea's Power Structure and Foreign Relations: an Analysis of the Sixth Congress of the KWP". The Journal of East Asian Affairs. Institute for National Security Strategy. 2 (1): 125–151. JSTOR 23253510.
- Lankov, Andrei N. (1999). "Kim Il Sung's Campaign against the Soviet Faction in Late 1955 and the Birth of Chuch'e". Korean Studies. 23 (1): 43–67. doi:10.1353/ks.1999.0003. ISSN 1529-1529. S2CID 154905899.
- Staff writer (2014) [2012]. Understanding North Korea. Ministry of Unification.
{{cite book}}
: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
- หนังสือ
- Buzo, Adrian (1999). The Guerilla Dynasty: Politics and Leadership in North Korea. I.B. Tauris. ISBN 1860644147.
- Gause, Ken E. (2011). North Korea Under Kim Chong-il: Power, Politics, and Prospects for Change. ABC-CLIO. ISBN 978-0313381751.
- — (2013). "The Role and Influence of the Party Apparatus". ใน Park, Kyung-ae; Snyder, Scott (บ.ก.). North Korea in Transition: Politics, Economy, and Society. Rowman & Littlefield. pp. 19–46. ISBN 978-1442218123.
- Kim, Samuel (2000). "North Korean Informal Politics". Informal Politics in East Asia. Cambridge University Press. ISBN 0521645387.
- Lankov, Andrei (2007). Crisis in North Korea: The Failure of De-Stalinization, 1956. University of Hawaii Press. ISBN 978-0824832070.
- Suh, Dae-sook (1988). Kim Il Sung: The North Korean Leader (1st ed.). Columbia University Press. ISBN 0231065736.