กรณีไกลวิทซ์

พิกัด: 50°18′48.132″N 18°41′20.533″E / 50.31337000°N 18.68903694°E / 50.31337000; 18.68903694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรณีไกลวิทซ์
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการฮิมเลอร์
เสาวิทยุไกลวิทซ์ในปี ค.ศ.2012 เป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในยุโรปที่ทำมาจากไม้
เสาวิทยุไกลวิทซ์ตั้งอยู่ในเยอรมันนี
เสาวิทยุไกลวิทซ์
เสาวิทยุไกลวิทซ์
ที่ตั้งของเสาวิทยุไกลวิทซ์ในนาซีเยอรมัน (ชายแดนปี ค.ศ.1937)
ชนิดการปฏิบัติการพิเศษ
ตำแหน่งไกลวิทซ์ อัปเปอร์ไซลีเซีย นาซีเยอรมนี
(กลีวิตแซ จังหวัดชล็อนสก์ ประเทศโปแลนด์ในปัจจุบัน)

50°18′48″N 18°41′21″E / 50.313370°N 18.689037°E / 50.313370; 18.689037
วัตถุประสงค์ทำให้เป็นข้ออ้างของการบุกครองโปแลนด์
วันที่31 สิงหาคม ค.ศ. 1939 (1939-08-31)
ผู้ลงมือชุทซ์ชตัฟเฟิล

กรณีไกลวิทซ์ (อังกฤษ: Gleiwitz incident) หรือในชื่อที่เป็นที่รู้จักกันอย่างผิด ๆ ว่าเป็น ปฏิบัติการสินค้ากระป๋อง[1] เป็นการโจมตีจัดฉาก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ณ สถานีวิทยุสัญชาติเยอรมัน Sender Gleiwitz ในเมืองไกลวิทซ์ อัปเปอร์ไซลีเซีย ประเทศเยอรมนี เพียงหนึ่งวันก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สองจะปะทุขึ้นในทวีปยุโรป

แผนการกระตุ้นดังกล่าวเป็นหนึ่งในหลายเหตุการณ์ในปฏิบัติการฮิมเลอร์ ซึ่งเป็นแผนการของหน่วยเอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนี เพื่อยั่วยุให้โปแลนด์โจมตีเยอรมนี เพื่อที่เยอรมนีจะได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวอย่างชอบธรรมในการบุกครองโปแลนด์

เหตุการณ์[แก้]

ในคืนวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ทหารปฏิบัติการกลุ่มย่อยของเยอรมนี ซึ่งพรางกายด้วยเครื่องแบบทหารโปแลนด์ ได้บุกยึดสถานีวิทยุดังกล่าว และได้เผยแพร่ข้อความต่อต้านเยอรมนีสั้น ๆ ในภาษาโปแลนด์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการโจมตีหลอกและทำให้การเผยแพร่ดังกล่าวคล้ายกับการก่อวินาศกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อต้านเยอรมนี[2][3]

เพื่อให้การก่อการดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ทหารเยอรมันได้นำเอาฟรานซิสเซค ฮอนิออก ชาวเยอรมันไซลีเซีย[4] ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเห็นพ้องกับชาวโปแลนด์ และถูกจับกุมตัวโดยหน่วยเกสตาโปหนึ่งวันก่อนหน้านี้ เขาถูกจับแต่งกายคล้ายกับผู้ก่อวินาศกรรม จากนั้นก็ถูกสังหารโดยการใช้ไอพิษและมีบาดแผลจากอาวุธปืน[5] และมีการจัดฉากให้ดูเหมือนกับว่าเขาถูกสังหารระหว่างโจมตีสถานีดังกล่าว ศพของเขาถูกนำมาเสนอเพื่อเป็นหลักฐานให้แก่ตำรวจและสาธารณชน[6]

นอกเหนือจากนั้น ทหารเยอรมันยังได้มีการเตรียมนักโทษจากค่ายกักกันดาเคา เพื่อดำเนินการต่อ นอกเหนือจากฮอนิออกแล้ว และทหารเยอรมันได้เรียกปฏิบัติการดังกล่าวว่า "สินค้ากระป๋อง" จึงเป็นสาเหตุที่บางครั้งจึงได้มีการเรียกชื่อปฏิบัติการดังกล่าวว่า "ปฏิบัติการสินค้ากระป๋อง"[1]

ปฏิกิริยาจากต่างชาติ[แก้]

ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันถูกเรียกตัวให้มาทำข่าวจากกรณีดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น แต่ไม่มีผู้ที่เป็นกลางได้รับอนุญาตให้เข้าไปสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวในรายละเอียด และประชาคมนานาชาติได้สงสัยในคำอธิบายของเยอรมนี[3][7] แต่ไม่กี่วันหลังจากการรุกรานโปแลนด์ สื่อนานาชาติได้เห็นว่าการป้องกันตัวขนานใหญ่ของเยอรมนีนั้นเป็นปฏิบัติการซึ่งได้วางแผนมาล่วงหน้าเป็นอย่างดีแล้ว

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม[แก้]

  • ภาพยนตร์สัญชาติเยอรมนีตะวันออก Der Fall Gleiwitz กำกับโดย Gerhard Klein (ค.ศ. 1961), DEFA studios (The Gleiwitz Case) ซึ่งได้จำลองเหตุการณ์ดังกล่าว[8]
  • Operacja Himmler (ค.ศ. 1979) Polart (ในภาษาโปแลนด์) ภาพยนตร์โปแลนด์ที่ครอบคลุมเหตุการณ์[9]
  • Hitler's SS: A Portrait In Evil, Jim Goddard (ค.ศ. 1985); ภาพยนตร์สัญชาติอเมริกัน ซึ่งมีเนื้อหาของกรณีไกลวิทซ์ในเรื่อง[10]
  • Die Blechtrommel (ค.ศ. 1979) กำกับโดย Volker Schlöndorff รวมเหตุการณ์โดยสังเขป[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Bradley Lightbody, The Second World War: Ambitions to Nemesis, Routledge, 2004; ISBN 0-415-22405-5, Google Print, p.39
  2. Christopher J. Ailsby, The Third Reich Day by Day, Zenith Imprint, 2001, ISBN 0-7603-1167-6, Google Print, p. 112[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 James J. Wirtz, Roy Godson, Strategic Denial and Deception: The Twenty-First Century Challenge, Transaction Publishers, 2002, ISBN 0-7658-0898-6, Google Print, p.100
  4. Bob Graham (29 สิงหาคม 2009). "The World War II's first victim. A farmer was murdered as part of a Nazi plot to provide an excuse to invade Poland, the story of a man forgotten by history". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2012.
  5. "World War II's first victim". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2022.
  6. "Museum in Gliwice: What happened here?". Muzeum.gliwice.pl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2006. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2014.
  7. Steven J. Zaloga, Poland 1939: The Birth of Blitzkrieg, Google Print, p. 39[ลิงก์เสีย], Osprey Publishing, 2002; ISBN 1-84176-408-6
  8. Der Fall Gleiwitz (1961). IMDb.com. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2015.
  9. Operacja Himmler (TV 1979). IMDb.com. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2015.
  10. Hitler's S.S.: Portrait in Evil (TV 1985). IMDb.com. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2015.
  11. Die Blechtrommel (1979). IMDb.com. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2015.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


50°18′48.132″N 18°41′20.533″E / 50.31337000°N 18.68903694°E / 50.31337000; 18.68903694