กรณีเรือคารีน เอ
กรณีเรือคารีน เอ | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ การลุกฮือครั้งที่สอง | |
อุปกรณ์ทางทหารที่ยึดได้จากเอ็มวี คารีน เอ | |
โดย | เหล่าทะเลอิสราเอล |
วัตถุประสงค์ | การยึดเรือเดินทะเลที่ใช้เครื่องยนต์ คารีน เอ |
วันที่ | 3 มกราคม 2002 |
ผู้ลงมือ | กองเรือที่ 13 |
ผลลัพธ์ | ประสบความสำเร็จ |
กรณีเรือคารีน เอ หรือที่เรียกว่า ปฏิบัติการ "เรือโนอาห์" (ฮีบรู: מבצע תיבת נוח) เป็นการปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลในเดือนมกราคม ค.ศ. 2002 ที่กองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เข้ายึดเอ็มวี คารีน เอ ตามที่กองกำลังป้องกันอิสราเอลเผย มันเป็นเรือขนส่งสินค้าของชาวปาเลสไตน์ในทะเลแดง[1] โดยพบว่าเรือได้บรรทุกอาวุธหนัก 50 ตัน ได้แก่ จรวดคัตยูชาระยะใกล้, ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง และระเบิดอำนาจสูง[1][2][3]
ภูมิหลัง
[แก้]การสอบสวนก่อนหน้านี้ได้เปิดเผยว่ากัปตันเรือคือนาวาเอก โอมาร์ อาคาวี ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวฟะตะห์ตั้งแต่ ค.ศ. 1976 และอดีตสมาชิกขององค์การบริหารปาเลสไตน์[1][2][4] ตามรายการของลอยด์ ซึ่งติดตามบันทึกการขนส่งทั่วโลก ระบุว่าเรือได้ถูกซื้อเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2001 จากบริษัทของเลบานอนโดยองค์การบริหารปาเลสไตน์ ภายใต้ชื่ออาเดล มูกฮราบี[1] ผู้ซื้ออาวุธที่ถูกกล่าวหาคืออาเดล มูกฮราบี (หรือรู้จักกันในนามอาเดล ซาลาเมฮ์) เป็นอดีตสมาชิกเจ้าหน้าที่ของยัสเซอร์ อาราฟัต จนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 "เมื่อเขาถูกไล่ออกเนื่องจากประกอบธุรกิจส่วนตัว ซึ่งขัดแย้งกับสถานะทางการของเขา"[5]
ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2000 มูกฮราบีได้ติดต่อกับชาวอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์[1][2][6] มูกฮราบีเป็นหนึ่งในผู้ติดต่อสำคัญในระบบการรับอาวุธของชาวปาเลสไตน์ เขาได้รับการสนับสนุนจากผู้บัญชาการตำรวจทางเรือปาเลสไตน์ จูมา ฆอลี และฟัตฮี กาเซ็ม ผู้บริหารของเขา วัตถุประสงค์ของพวกเขาคือการลักลอบอาวุธจำนวนมากสำหรับการใช้งานขององค์การบริหารปาเลสไตน์[1] การดำเนินการนี้รวมถึงการซื้อและอำนวยความสะดวกด้วยเรือ, การก่อรูปขบวนลูกเรือเดินเรือ, การวางแผนวิธีการจัดเก็บและซ่อนอาวุธ, การบรรทุกอาวุธเข้าไปในเรือ และส่งต่อไปยังองค์การบริหารปาเลสไตน์[1][3][4]
จากนั้นเรือก็แล่นไปยังประเทศซูดาน ซึ่งเต็มไปด้วยสินค้าปกติ และลูกเรือก็เปลี่ยนไปเป็นกำลังพลขององค์การบริหารปาเลสไตน์[2][4] มันเปลี่ยนชื่อจากริม เค เป็นคารีน เอ เมื่อจดทะเบียนในประเทศตองงาเมื่อวันที่ 12 กันยายน โดยทางตองงายืนยันว่าอับบาสยังคงเป็นเจ้าของเรือ[7] ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 พวกเขาล่องเรือไปยังท่าเรือโฮเดดาห์ในประเทศเยเมน หลังจากนั้น เรือก็บรรทุกอาวุธโดยชาวอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์ ซึ่งในระหว่างการขนส่ง มันถูกควบคุมโดยกำลังพลขององค์การบริหารปาเลสไตน์[2] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขนส่งอาวุธให้แก่ตำรวจทางเรือปาเลสไตน์ใกล้ชายหาดกาซา[1][3][4]
ในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 มูกฮ์ราบีได้ให้คำแนะนำโดยละเอียดแก่เรือเพื่อแล่นไปยังชายหาดของเกาะเกชม ประเทศอิหร่าน[1][2] ที่นั่นมีเรือเฟอร์รีเข้ามาใกล้—ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิหร่าน เรือเฟอร์รีลำนี้บรรจุอาวุธที่เก็บไว้ในลังไม้ขนาดใหญ่ 80 ลัง ซึ่งถูกย้ายไปบนเรือ จากนั้น กำลังพลของเรือได้ใส่อาวุธเหล่านี้ไว้ในภาชนะกันน้ำพิเศษ—ซึ่งผลิตในประเทศอิหร่านเท่านั้น ภาชนะเหล่านี้ลอยน้ำได้และมีระบบที่กำหนดได้ซึ่งกำหนดว่าจะจมอยู่ใต้น้ำลึกเพียงใด[1]
เมื่อการขนถ่ายเสร็จสิ้นเรือจำเป็นต้องเปลี่ยนการมุ่งหน้าไปยังท่าเรือโฮเดดาห์ เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค[1] หลังจากเรือข้ามคลองแล้วคาดว่าจะได้พบกับเรือลำเล็กอีกสามลำและจะถ่ายโอนของบรรทุกไปยังเรือเหล่านี้—ซึ่งเรือขนาดเล็กเหล่านี้ได้ซื้อล่วงหน้า[4] คาดว่าจากนั้นพวกเขาจะทิ้งอาวุธใกล้กับอัลอะรีช ประเทศอียิปต์[4] โดยผู้บัญชาการตำรวจทางเรือปาเลสไตน์ จูมา ฆอลี และผู้บริหาร ฟัตฮี กาเซ็ม จะรวบรวมอาวุธที่นั่น[1]
การขนส่งทางเรือ
[แก้]เรือลำดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 400,000 ดอลลาร์ โดยมีสินค้าพลเรือนที่ใช้ในการแอบซ่อนอาวุธประมาณ 3,000,000 ดอลลาร์ และอาวุธมีมูลค่าประมาณ 15,000,000 ดอลลาร์ ซึ่งการขนส่งทางเรือมีอาวุธดังต่อไปนี้:[1][2]
- จรวดคัตยูชา 122 มม.
- จรวดคัตยูชา 107 มม.
- ลูกปืนครก 80 มม.
- ลูกปืนครก 120 มม.
- ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง
- ทุ่นระเบิดต่อต้านรถถัง
- ปืนไรเฟิลซุ่มยิง
- ปืนเล็กยาวจู่โจมเอเค 47 ("คาลาชนิคอฟ")
- อมภัณฑ์
- ระเบิดอำนาจสูงสองตันครึ่ง
อัชเคลอนและเมืองชายฝั่งอื่น ๆ จะถูกคุกคามโดยจรวดคัตยูชาหากพวกเขาไปถึงฉนวนกาซา[1] ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียนและเมืองใหญ่ ๆ ของอิสราเอลจะอยู่ในระยะของจรวดเหล่านี้หากตั้งอยู่ในเวสต์แบงก์[8] ของส่งยังรวมถึงเรือยางและอุปกรณ์ดำน้ำ อุปกรณ์นี้สามารถอำนวยความสะดวกในการโจมตีทางทะเลจากฉนวนกาซากับเมืองชายฝั่ง[1]
พลตรี เยดิดยา ยาอารี ผู้บัญชาการกองทัพเรืออิสราเอล ได้รายงานว่าอาวุธและยุทโธปกรณ์บรรจุในลัง 83 ลัง ในพลาสติกกันน้ำและติดกับทุ่น เพื่อให้สามารถปล่อยและเอากลับคืนในทะเลได้[ต้องการอ้างอิง]
การสกัดกั้น
[แก้]ภารกิจเริ่มต้นเมื่อ 04:45 น. ของวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2002 ในทะเลแดง ห่างจากประเทศอิสราเอล 500 กิโลเมตร (311 ไมล์)[2] โดยเรือกำลังแล่นอยู่ในน่านน้ำสากลระหว่างทางไปยังคลองสุเอซ[1] กองเรือ 13 หน่วยคอมมานโดของกองทัพเรืออิสราเอลซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเฮลิคอปเตอร์และอากาศยานรบ ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่ลูกเรือและเข้ายึดเรือลำดังกล่าวโดยไม่ทำการยิงแม้แต่นัดเดียว ซึ่งเรือดังกล่าวถูกนำไปยังไอลัตในคืนวันที่ 4 มกราคม[9]
พลตรี ชาอูล โมฟัซ เสนาธิการกองทัพอิสราเอล ได้ประกาศในการแถลงข่าวที่เทลอาวีฟเมื่อวันที่ 4 มกราคม ว่ากองทัพได้ยึดเรือลำดังกล่าวแล้ว ขณะที่นายพล แอนโทนี ซินนี กำลังพบกับยัสเซอร์ อาราฟัต เพื่อส่งเสริมการเจรจาระหว่างอิสราเอลกับองค์การบริหารปาเลสไตน์[9]
ผลที่ตามมา
[แก้]อิสราเอลและสหรัฐกล่าวหาว่าฮิซบุลลอฮ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรืออาวุธของปาเลสไตน์ที่อิสราเอลยึด สมาชิกฮิซบุลลอฮ์สามคนถูกจับในประเทศจอร์แดน ที่พยายามลักลอบขนจรวดคัตยูชาไปสู่ชาวปาเลสไตน์ (ภายหลังผู้ต้องขังได้รับอิสรภาพจากชาวจอร์แดนตามคำร้องขอของรัฐบาลเลบานอน) ส่วนเรือประมงอีกลำที่บรรทุกอาวุธไปสู่ชาวปาเลสไตน์ถูกอิสราเอลจมนอกชายฝั่งเลบานอนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 ซึ่งอิสราเอลตั้งข้อกล่าวหาว่าซื้ออาวุธและสินค้าทางทหารด้วยความช่วยเหลือของฮิซบุลลอฮ์ ส่วนฮิซบุลลอฮ์ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดส่งอาวุธ[10] รายงานของอิสราเอลระบุว่าเรือลำที่ซื้อมาจากประเทศเลบานอนได้บรรทุกอาวุธที่เกาะคิชของอิหร่านในกลางดึกนอกชายฝั่งประเทศอิหร่าน โดยแล่นผ่านอ่าวโอมาน, ทะเลอาหรับ, อ่าวเอเดน และทะเลแดง[11]
ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ ได้ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใๆ[8] ขณะที่กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ยืนยันว่าอาวุธนั้นกักเก็บไว้สำหรับองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และแหล่งที่มาอื่น ๆ ได้มุ่งเสนอว่าอาวุธดังกล่าวอาจมุ่งหน้าไปยังประเทศเลบานอนแทน เพื่อการใช้ของกลุ่มอิสลามผู้ทำสงครามอย่างฮิซบุลลอฮ์[5] ส่วนนักวิชาการบางคน เช่น แมทธิว เลวิตต์,[12] แอนโทนี คอร์เดสแมน[13] และเอเฟรม คาร์ช[14] ยังสนับสนุนมุมมองที่ว่าเรือลำดังกล่าวลักลอบขนอาวุธของอิหร่านไปยังองค์การบริหารปาเลสไตน์[8]
ในเวลาต่อมา ทางอิสราเอลได้จับกุมฟุอาด ชูบากี ผู้ช่วยของอาราฟัตซึ่งรับผิดชอบด้านการเงินในองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และผู้บงการเบื้องหลังปฏิบัติการดังกล่าว[15] เขาถูกตั้งข้อหาซื้อขายอาวุธและสร้างความสัมพันธ์กับตัวแทนต่างประเทศ สำหรับบทบาทของเขาในการจัดหาเงินทุนสำหรับเรืออาวุธ[15] ใน ค.ศ. 2006 ชูบากีถูกจับเข้าห้องขังหลังจากการตีโฉบฉวยของกองกำลังป้องกันอิสราเอลในเรือนจำเยรีโค ซึ่งเขาถูกควบคุมตัวร่วมกับอะห์มัด ซาอาดาต ผู้นำของแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์[15] พวกเขาถูกควบคุมตัวร่วมกับคนอื่น ๆ ที่เป็นมือสังหารอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยว เรอคาวาม เซเอวี[15] ซึ่งอัยการอิสราเอลเรียกร้องให้ส่งชูบากีไปจำคุก 25 ปี โดยอ้างถึงความร้ายแรงของอาชญากรรมของเขา แต่ศาลตัดสินว่าชูบากีควรได้รับโทษจำคุกลดลง โดยคำนึงถึงอายุที่สูงและปัญหาสุขภาพของเขา[8] โดยชูบากีถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกตัดสินจำคุก 20 ปี[16][17]
หลังจากที่เขาถูกจับกุมใน ค.ศ. 2006 ชูบากีบอกกับชาวอิสราเอลว่าองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ให้ทุนสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายเช่นของเขา เขาประเมินว่ามีการใช้เงินระหว่าง 7 ถึง 10 ล้านดอลลาร์ทุก ๆ สองปีในการซื้ออาวุธสำหรับฉนวนกาซา นอกจากนี้ ยังมีการใช้เงินอีก 2 ล้านดอลลาร์ในการซื้ออาวุธให้แก่เวสต์แบงก์[15] และตามข้อมูลของชูบากี เงินดังกล่าวมาจากทั้งความช่วยเหลือระหว่างประเทศแก่องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์, เงินภาษีที่อิสราเอลโอนไปยังองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์เป็นประจำ และภาษีที่เก็บจากฉนวนกาซา[15] นอกจากนี้ เขายังสารภาพถึงความสัมพันธ์ของเขาในการซื้ออาวุธให้แก่หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายอย่างตันซีมในกาซา โดยกลุ่มตันซีมนี้เป็นที่รู้จักจากการโจมตีสถานที่ทางทหารและการตั้งถิ่นฐานของชาวอิสราเอลในฉนวนกาซา[15]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ่านเพิ่ม
[แก้]- Brig. Gen. Amos Gilboa, A Raid on the Red Sea: The Israeli Capture of the Karine A, Yonah Jeremy Bob (Editor, Translator), Potomac Books, 2021
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 "Seizing of the Palestinian weapons ship Karine A". IDF. 4 January 2002. สืบค้นเมื่อ 12 December 2009.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "Statement by IDF Chief-of-Staff Lt.-Gen. Shaul Mofaz regarding interception of ship Karine A". IDF. 4 January 2002. สืบค้นเมื่อ 12 December 2009.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Address by Prime Minister Ariel Sharon following the seizing of the ship Karine A". Eilat: IDF. 6 January 2002. สืบค้นเมื่อ 12 December 2009.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Griffin, Jennifer (7 January 2002). "Prison interview with Palestinian ship captain smuggling 50 tons of weapons". Jerusalem: Fox News. สืบค้นเมื่อ 12 December 2009.
- ↑ 5.0 5.1 "The Strange Affair of Karine-A", Brian Whitaker, Guardian, January 21, 2002.
- ↑ "Reaction of FM Peres to seizing of the Karine A". IDF. 4 January 2002. สืบค้นเมื่อ 12 December 2009.
- ↑ "Weapons ship mystery deepens". BBC. 2002-01-10. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "Man behind Karine A arms ship sentenced to 20 years in jail". Haaretz. August 30, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2010. สืบค้นเมื่อ December 18, 2009.
- ↑ 9.0 9.1 "IDF Seizes PA Weapons Ship: The Karine A Affair". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ June 26, 2008.
- ↑ Katyusha Rocket Global Security
- ↑ Bennet, James (January 12, 2002). "Seized Arms Would Have Vastly Extended Arafat Arsenal". New York Times. สืบค้นเมื่อ May 7, 2010.
- ↑ Hamas: Politics, Charity, and Terrorism in the Service of Jihad, by Matthew Levitt, 2006, p. 176.
- ↑ The Israeli-Palestinian War: Escalating to Nowhere, by Anthony H. Cordesman 2005, p. 277.
- ↑ Arafat's War: The Man and His Battle for Israeli Conquest, by Efraim Karsh, 2004, p. 236.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 Katz, Yaakov (August 30, 2009). "Mastermind of 'Karine A' given 20 years". The Jerusalem Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2011. สืบค้นเมื่อ December 18, 2009.
- ↑ "Man behind Karine A arms ship sentenced to 20 years in jail". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2010. สืบค้นเมื่อ August 30, 2009.
- ↑ "Satellite News and latest stories | The Jerusalem Post". fr.jpost.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2011.