กมลา ประสาท-พิเสสร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กมลา ประสาท-พิเสสร
SC MP
นายกรัฐมนตรีแห่งตรินิแดดและโตเบโก
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 – 9 กันยายน ค.ศ. 2015
ประธานาธิบดี จอร์จ แมกซ์เวล ริชาดส์
แอนโทนี่ คาร์โมนา
ก่อนหน้า แพทริก แมนนิง
ถัดไป เคท รอลีย์
ประธานคณะกรรมการสำนักงานในเครือจักรภพ
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 – 28 ตุลาคม ค.ศ. 2011
ก่อนหน้า แพทริก แมนนิง
ถัดไป จูเลีย กิลลาร์ด
ผู้นำฝ่ายค้าน
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน ค.ศ. 2015
ก่อนหน้า เคท รอลีย์
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2010
ก่อนหน้า พัสเทว ปันเฑ
ถัดไป เคท รอลีย์
ดำรงตำแหน่ง
26 เมษายน ค.ศ. 2006 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007
ก่อนหน้า พัสเทว ปันเฑ
ถัดไป พัสเทว ปันเฑ
ผู้นำพรรคสหรัฐสภาแห่งชาติ (UNC)
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มกราคม ค.ศ. 2010
ก่อนหน้า พัสเทว ปันเฑ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองซิพาเรีย
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995
ก่อนหน้า สาหิท ฮุสเซน
คะแนนเสียง 15,808
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1952-04-22) 22 เมษายน ค.ศ. 1952 (70 ปี)
เมืองซิพาเรีย ตรินิแดดและโตเบโก
พรรค พรรคสหรัฐสภาแห่งชาติ (UNC)
คู่สมรส ดร. เกรกอรี พิเสสร
ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเวสต์อินดิส
ศาสนา แบปทิสต์และฮินดู
เว็บไซต์ Official website

กมลา ประสาท-พิเสสร (อักษรโรมัน: Kamla Persad-Bissessar, เกิด 22 เมษายน ค.ศ. 1952) อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ[1] ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ถึง ค.ศ. 2015

เธอเป็นผู้นำพรรคสหรัฐสภาแห่งชาติ (UNC) และนำไปสู่การก่อตั้งพันธมิตรทางการเมือง ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างห้าพรรคการเมืองของประเทศ จนก่อให้เกิดการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เธอเป็นสตรีคนแรกที่ทำหน้าที่เป็นอัยการสูงสุด, นายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านของประเทศ ด้วยบทบาทอันโดดเด่นทำให้เธอเป็นหัวหน้าพรรค และเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านในปี ค.ศ. 2010[2]

ประวัติและการศึกษา[แก้]

กมลา ประสาท-พิเสสร เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1952 ที่เมืองซิพาเรีย[3] ประเทศตรินิแดดและโตเบโก บรรพบุรุษของเธออพยพมาจากหมู่บ้านเภลูปุระ เขตพกสร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย[4] บรรพบุรุษของเธออพยพออกจากอินเดียไปยังหมู่เกาะแคริบเบียนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเป็นแรงงานของคีรมิติยะมายังตรินิแดดและโตเบโก

เธอสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมแลร์, มหาวิทยาลัยเวสต์อินดิส, วิทยาลัยเทคนิกนอร์วูด ประเทศอังกฤษ และโรงเรียนกฎหมายฮิววูดดิง อันส่งผลให้เธอได้รับรางวัลเกียรตินิยมในวิชารัฐศาสตร์บัณฑิต ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจากรัฐศาสตร์บัณฑิตสาขากฎหมาย และรับประกาศนียบัตรการศึกษาด้านกฎหมาย และในปี ค.ศ. 2006 เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจจากโรงเรียนธุรกิจอาเธอร์โลคแจ็ค ประเทศตรินิแดดและโตเบโก

เมื่อครั้งที่เธอยังศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ เธอได้เข้าร่วมกิจกรรมสังคมสงเคราะห์กับสมาคมยุวชนโบสถ์อังกฤษแห่งลอนดอน หลังสำเร็จการศึกษาเธอได้เข้าสู่วิชาชีพครูที่โรงเรียนมัธยมเซนต์แอนดรูว์ และสถาบันโมนาในประเทศจาเมกา หลังจากนั้นเธอได้เข้าสอนในสถาบันเซนต์ออกัสตินแห่งมหาวิทยาลัยเวสต์อินดิสในประเทศตรินิแดด และเธอยังเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของวิทยาลัยธุรกิจประกันภัยจาเมกา หลังจากนั้นเธอได้เป็นผู้บรรยายการศึกษาตามสถาบันอุดมศึกษาเป็นเวลาหกปี และเธอได้เป็นอัยการกฎหมายสูงสุดเต็มเวลา

สู่การเมือง[แก้]

กมลา ได้เข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งเมืองซิพาเรีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เธอทำหน้าที่อัยการสูงสุดในปี ค.ศ. 1995 เมื่อพรรคก่อตั้งรัฐบาลในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2000 กมลาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2006 เธอได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกในพรรคในการตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน[5] ต่อมาเมื่อประธานาธิบดีจอร์จ แมกซ์เวล ริชาดส์ ได้มีการประกาศว่าตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านได้ว่างลง[6] หลังจากที่พัสเทว ปันเฑ ถูกตัดสินว่าไม่สามารถยื่นข้อมูลที่สมบูรณ์ของบัญชีธนาคารต่อคณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน[7] และชื่อของนายปันเฑยังอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงมีการแต่งตั้งนางกมลา ประสาท-พิเสสร ขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2006

ผู้นำทางการเมือง[แก้]

วันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2010 กมลาได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าพรรคโดยมีชัยชนะเหนือพัสเทว ปันเฑ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรค เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกันนั้นเอง

นายกรัฐมนตรี[แก้]

กมลา ประสาท-พิเสสร ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศตรินิแดดและโตเบโก

นอกจากนี้นางกมลายังเป็นสตรีคนแรกที่เป็นประธานคณะกรรมการสำนักงานในเครือจักรภพ ซึ่งต่อมาตำแหน่งประธานดังกล่าวได้ตกเป็นของจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีหญิงของออสเตรเลีย

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

กมลา ประสาท-พิเสสร ได้สมรสกับ ดร. เกรกอรี พิเสสร มีบุตรด้วยกัน 1 คน[8] อนึ่งคำว่า พิเสสร อันเป็นสกุลของสามีนั้น มาจากคำว่า วิศเวศวร (विश्वेश्वर) ในภาษาสันสกฤต เธอนับถือศาสนาคริสต์นิกายแบปทิสต์ควบคู่กับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เธอกล่าวว่า "ฉันบัพติศมาตามความเชื่อของแบปทิสต์ ฉันไม่นับถืออะไรเฉพาะเจาะจง ฉันนับถือสองอย่างทั้งฮินดูและแบปทิสต์"[9]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 เจ้าหน้าที่ประจำรัฐบาลได้ยืนยันว่า นางกมลา ประสาท-พิเสสร ได้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และจะปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การดูแลของแพทย์[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. ttgapers.com 2010. PNM lose to Peoples Partnership in Trinidad elections 2010 เก็บถาวร 2013-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ttgapers.com May 24, 2010.
  2. "New UNC leader ready to work with opponents". Trinidad Express. Georgetown, Guyana: Stabroek News. 25 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2022.
  3. Sookraj, Radhica (26 May 2010). "Kamla came from humble beginnings". Trinidad and Tobago Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 May 2010. {{cite news}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |pmd= และ |trans_title= (help)
  4. http://www.pravasitoday.com/indian-origin-tt-pm-kamla-persad-bissessar-to-visit-ancestral-bihar-village
  5. Lord, Richard. 2006. Leader Kamla: President's move forces UNC crisis decision เก็บถาวร 2006-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Trinidad Express April 26, 2006.
  6. Lawyers criticise Max for declaring vacancy เก็บถาวร 2006-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Trinidad Express April 26, 2006.
  7. Cummings, Stephen (2006-01-16). "Trinidad's opposition leader set to go on trial". Caribbean Net News. สืบค้นเมื่อ 2007-02-19.
  8. http://www.ttparliament.org/members.php?mid=54&id=KPB01
  9. Meet T and T PM, Kamla NationNews Barbados, June 2010.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-03-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]