กฎหมายทำแท้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความชอบด้วยกฎหมายของการทำแท้งแบ่งตามประเทศหรือดินแดน
ชอบด้วยกฎหมายเมื่อร้องขอ:
  ไม่จำกัดอายุครรภ์
  จำกัดอายุครรภ์หลัง 17 สัปดาห์
  จำกัดอายุครรภ์ไม่เกิน 17 สัปดาห์
  จำกัดอายุครรภ์ไม่ชัดเจน
ถูกจำกัดในกรณี
  เสี่ยงต่อชีวิตหรือสุขภาพของมารดา* ถูกข่มขืนกระทำชำเรา* ทารกในครรภ์บกพร่อง* หรือปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ
  เสี่ยงต่อชีวิตหรือสุขภาพของมารดา* ถูกข่มขืนกระทำชำเรา* หรือทารกในครรภ์บกพร่อง
  เสี่ยงต่อชีวิตหรือสุขภาพของมารดา* หรือทารกในครรภ์บกพร่อง
  เสี่ยงต่อชีวิตหรือสุขภาพของมารดา* หรือถูกข่มขืนกระทำชำเรา
  เสี่ยงต่อชีวิตหรือสุขภาพของมารดา
  เสี่ยงต่อชีวิตของมารดา
  ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น
  ไม่มีสารนิเทศ
* อาจไม่ครอบคลุมทุกประเทศหรือดินแดนในหมวดนั้น ๆ
หมายเหตุ: ในบางประเทศหรือดินแดน กฎหมายทำแท้งจะมีการดัดแปลงจากกฎหมาย ข้อบังคับ หลักการทางกฎหมายหรือคำวินิจฉัยของศาลอย่างอื่นด้วย แผนที่นี้แสดงผลรวมตามที่ทางการนำไปปฏิบัติ

กฎหมายทำแท้งแตกต่างกันมากตามประเทศและดินแดน และมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา กฎหมายดังกล่าวมีตั้งแต่เปิดให้ทำแท้งได้เสรีเมื่อร้องขอ ไปจนถึงการวางระเบียบหรือข้อจำกัดหลายประการ ไปจนถึงการห้ามทำแท้งในทุกกรณี หลายประเทศและดินแดนซึ่งอนุญาตให้ทำแท้งมีการจำกัดอายุครรภ์สำหรับการทำแท้งขึ้นอยู่กับเหตุผล ซึ่งประเทศส่วนใหญ่อนุญาตให้ทำแท้งเสรีได้จนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และทำแท้งในกรณีถูกข่มขืนกระทำชำเรา ร่วมประเวณีกับญาติสนิท หรือเหตุผลทางสังคมและเศรษฐกิจได้จนถึงอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ และมากกว่านั้นสำหรับกรณีที่ทารกในครรภ์มีความบกพร่องหรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิตของมารดา จนถึงปี 2022 ประเทศที่อนุญาตการทำแท้งเมื่อร้องขอตามกฎหมายหรือด้วยเหตุผลทางสังคมและเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรโลก

การทำแท้งยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในหลายสังคมด้วยเหตุผลทางศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม การปฏิบัติและการเมือง ถึงแม้ว่ากฎหมายห้ามการทำแท้งในหลายเขตอำนาจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้การทำแท้งหมดไปในหลายพื้นที่ที่ยังผิดกฎหมายอยู่ ในการศึกษาเมื่อปี 2007 ของสถาบันกุทท์มาเชอร์และองค์การอนามัยโลกพบว่า อัตราทำแท้งในประเทศที่การทำแท้งชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีความแตกต่างกัน[1][2] ทั้งนี้เพราะในหลายพื้นที่ที่การทำแท้งไม่ชอบด้วยกฎหมายยังไม่มีการคุมกำเนิดแบบสมัยใหม่[3] และในการศึกษาเดียวกันยังระบุว่า จำนวนการทำแท้งทั่วโลกลดลงเนื่องจากการเข้าถึงการคุมกำเนิดดีขึ้น[1][2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Abortion Rates Similar In Countries That Legalize, Prohibit Procedure, Study Says". International Consortium for Medical Abortion (ICMA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2014. สืบค้นเมื่อ 23 March 2014.
  2. 2.0 2.1 Sedgh, Gilda; Henshaw, Stanley; Singh, Susheela; Åhman, Elisabeth; Shah, Iqbal H. (13 August 2007). "Induced abortion: estimated rates and trends worldwide". The Lancet. 370 (9595): 1338–1345. doi:10.1016/S0140-6736(07)61575-X. PMID 17933648. S2CID 28458527.
  3. Susheela, Signh; Darroch, Jacqueline E.; Ashford, Lori S.; Vlassoff, Michael (2009). Adding It Up: The Costs and Benefits of Investing in Family Planning and Newborn Health (PDF). New York: Guttmacher Institute and United Nations Population Fund. pp. 17, 19, 27. Some 215 million women in the developing world as a whole have an unmet need for modern contraceptives[...] If the 215 million women with unmet need used modern family planning methods....[that] would result in about 22 million fewer unplanned births; 25 million fewer abortions; and seven million fewer miscarriages....If women's contraceptive needs were addressed (and assuming no changes in abortion laws)...the number of unsafe abortions would decline by 73% from 20 million to 5.5 million. A few of the findings in that report were subsequently changed, and are available at "Facts on Investing in Family Planning and Maternal and Newborn Health" (PDF). Guttmacher Institute. November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 March 2012.