ข้ามไปเนื้อหา

กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ (จีน: 十惡; พินอิน: shí-è, ฉืออี้; อังกฤษ: Ten Abominations) เป็นกฎหมายจีนดั้งเดิมประเภทหนึ่งที่กำหนดความผิดซึ่งทั่วไปมองว่าเป็นความชั่วช้าอย่างถึงที่สุด สังคมจะมีความไพบูลย์หากไม่มีผู้ฝ่าฝืนกฎนี้ สิบประการที่ว่ามีดังนี้

  1. มั่วสุมก่อความไม่สงบ (จีน: 謀反; พินอิน: móubèi, โหมวเป้ย์)
  2. มั่วสุมปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง (จีน: 謀大逆; พินอิน: móudànì, โหมวต้านี้)
  3. มั่วสุมก่อกบฏ (จีน: 謀叛; พินอิน: móupàn, โหมวปั้น)
  4. จงใจขัดคำสั่งศาล (จีน: 惡逆; พินอิน: ěnì, เอ่อนี้)
  5. ทำให้เสื่อมเสียทางศีลธรรม (จีน: 不道; พินอิน: bùdào, ปู้เต้า)
  6. เหยียดหยามศาสนา (จีน: 大不敬; พินอิน: dàbùjìng, ต้าปู้จิ้ง)
  7. อกตัญญู (จีน: 不孝; พินอิน: bùxiào, ปู้เสี้ยว)
  8. กระทำสามัคคีเภท (จีน: 不睦; พินอิน: bùjīn, ปู้จิน)
  9. ฉ้อราษฎร์บังหลวง (จีน: 不義; พินอิน: bùyì, ปู้อี้)
  10. ร่วมประเวณีกับญาติสนิท (จีน: 內亂; พินอิน: nèiluàn, เน้ย์ล้วน)

ผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดในสามประการแรกต้องระวางโทษประหารชีวิตตามกฎหมายจีนดั้งเดิม

กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการนี้เป็นกฎที่ถือกันเคร่งครัดมาก ถึงแม้จะเป็นใครใหญ่โตมาจากไหน หรือมีเอกสิทธิ์ใด ๆ ทางกฎหมาย เช่นตามกฎว่าด้วยเอกสิทธิ์แปดประการ หากฝ่าฝืนกฎสิบประการนี้ก็ต้องระวางโทษอย่างเดียวกันหมด[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Great Ming Code: Da Ming Lü, S. lxvi Online