กากหมากตาฤๅษี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กกหมากพาสี)
กากหมากตาฤๅษี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Santalales
วงศ์: Balanophoraceae
สกุล: Balanophora
สปีชีส์: B.  fungosa
ชื่อทวินาม
Balanophora fungosa
J.R. & G.Forst

กากหมากตาฤๅษี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Balanophora fungosa) หรือขนุนดิน[1] ชื่อสามัญเช่น อังกฤษ: Nutmeg tree; จีน: 粗穗蛇菰; เวียดนาม: Nấm ngọc cẩu เป็นพืชประเภทพืชเบียนหรือกาฝาก อยู่ในวงศ์ขนุนดิน (Balanophoraceae) ในประเทศไทยพบพรรณไม้วงศ์ขนุนดิน 1 สกุล คือ สกุล Balanophora มีทั้งหมด 5 ชนิด[2] โดยหนึ่งในนั้นได้แก่ กากหมากตาฤๅษี

ลักษณะทั่วไป[แก้]

เป็นพืชเบียน คือดำรงชีวิตโดยการเกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีหลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม ความสูงของต้นทั้งหมดประมาณ 10–30 เซนติเมตร ลักษณะใบมีขนาดเล็ก เรียงเวียนรอบลำต้น สีเหลืองอมแดงหรือน้ำตาล ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดอกเพศผู้มีประมาณ 4–5 กลีบ กว้าง 2–6 เซนติเมตร ยาว 4–15 เซนติเมตร ช่อดอกเพศเมียรูปทรงกลม รูปทรงกลมหรือทรงรี ขนาด 3–8 เซนติเมตร ออกดอกระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือประปรายตลอดปี

ตามรายงาน กากหมากฤๅษีจะเบียนรากพืชของต้นไม้บางชนิดในสกุลหมีเหม็น (Litsea) บางชนิดในสกุลกระพี้จั่น (Millettia) บางชนิดในสกุลมะขามเทศ (Pithecellobium) และบางชนิดในสกุลแสลงใจ (Strychnos) นอกจากนี้ อาจเบียนรากพืชที่เป็นไม้เถาบางชนิดในสกุลกวาวเครือ (Butea) บางชนิดในสกุลเถาคัน (Cissus) และบางชนิดในสกุลเครือเขาน้ำ (Tetrastigma)

แหล่งที่พบ[แก้]

กากหมากตาฤๅษีพบการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย, จีนตอนใต้, พม่า, ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยจะพบตามป่าดิบชื้น, ป่าดิบเขา, ป่าเบญจพรรณ ที่มีความสูงตั้งแต่ 500–2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล[3]

ประโยชน์[แก้]

สามารถนำมาทำยาแก้โรคหอบหืด โดยนำลำต้นหั่นเป็นแผ่น ๆ ตากแห้งแล้วนำไปผสมกับสมุนไพร[4] ในเกาะชวาใช้สารคล้ายไขผึ้งปริมาณมากในส่วนดอกของกากหมากตาฤๅษีเป็นเชื้อเพลิงสำหรับคบเพลิง[5]

ชื่อท้องถิ่น[แก้]

ชื่อของกากหมากตาฤๅษี จะเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น[6] ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์. ความหลากหลายทางชีวภาพ: วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2556. ISBN 978-616-3480-03-3.
  2. พันธุ์ไม้วงศ์ขนุนดินในประเทศไทย. ระยองวิทยาคม. เก็บถาวร 21 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. กากหมากตาฤๅษี – Balanophora fungosa, โครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
  4. "มาทำความรู้จักกับ ต้นกากหมากตาฤาษี". Tree On Life. 16 พฤศจิกายน 2021.[ลิงก์เสีย]
  5. Beng, Jin Chee. "Balanophora: the hidden highland parasite with unexplored medicinal potential". academia.edu. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2015.
  6. กากหมากตาฤๅษี, โครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Balanophora fungosa ที่วิกิสปีชีส์