สำนักข่าวกรองกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักข่าวกรองกลาง
Central Intelligence Agency
ตราประทับสำนักข่าวกรองกลาง
ธงของสำนักข่าวกรองกลาง
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง18 กันยายน พ.ศ. 2490
หน่วยงานก่อนหน้า
สำนักงานใหญ่ศูนย์กลางข่าวกรองจอร์จ บุช, รัฐเวอร์จิเนีย, สหรัฐอเมริกา
คำขวัญ"การทำงานเพื่อชาติ ศูนย์กลางแห่งข่าวกรอง."
และอย่างไม่เป็นทางการ: "และคุณจะได้รู้ความจริง และความจริงจะทำให้คุณได้เป็นอิสระ." (John 8:32)[2]
บุคลากร21,575 (ประมาณการ)[3]
งบประมาณประจำปี15 พันล้านเหรียญสหรัฐ (เมื่อปี พ.ศ. 2556)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดไม่มี (หน่วยงานอิสระ)
เว็บไซต์www.CIA.gov

สำนักข่าวกรองกลาง (อังกฤษ: Central Intelligence Agency) หรือย่อว่า ซีไอเอ (อังกฤษ: CIA) เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือนของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจากทั่วโลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ (อังกฤษ: Human Intelligence; HUMINT) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ (อังกฤษ: U.S. Intelligence Community; IC) สำนักข่าวกรองกลางรายงานต่อ ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (อังกฤษ: Director of National Intelligence; DNI) และจะเน้นไปที่การหาข่าวกรองให้ ประธานาธิบดีสหรัฐ และ คณะรัฐมนตรีสหรัฐ เป็นหลัก

ไม่เหมือนกับ สำนักงานสอบสวนกลาง ที่เป็นหน่วยงานราชการความมั่นคงภายใน สำนักข่าวกรองกลางไม่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวมข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดเฉพาะในการที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวกรองกลางไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น มันยังมีหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการระดับชาติในการประสานงานกับหน่วนงานต่างๆที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการข่าวกรองทางมนุษย์ทั้งหมด ในชนชุมข่าวกรองสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักข่าวกรองกลางเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย ในการดำเนินการและดูแลการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น (อังกฤษ: Covert Action/Operation) โดยคำสั่งประธานาธิบดี สำนักข่าวกรองกลางสามารถควบคุมอิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทางแผนกยุทธวิธีของตน อย่างเช่น แผนกปฏิบัติการณ์พิเศษ (อังกฤษ: Special Activities Division; SAD)

ก่อนจะมีรัฐบัญญัติการปฏิรูปการข่าวกรองและการป้องกันการก่อการร้าย (อังกฤษ: Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นหัวหน้าชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสำนักข่าวกรองถูกจัดระเบียบภายใต้ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้จะมีการถ่ายโอนอำนาจบางส่วนไปยังผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติก็ตาม สำนักข่าวกรองกลางได้มีขนาดเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ในปี พ.ศ. 2556 หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ ได้รายงานว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สำนักข่าวกรองกลางมีงบประมาณมากที่สุดในบรรดาหน่วยงานของชุมชนข่าวกรอง ซึ่งเกินกว่าการประมาณไว้ก่อนหน้า

สำนักข่าวกรองกลางได้ขยายบทบาทของตนเองมากขึ้น ซึ่งนั้นรวมไปถึงการปฏิบัติการณ์กึ่งทหารแบบซ่อนเร้น (อังกฤษ: Covert paramilitary operations) หนึ่งในแผนกที่ใหญ่ที่สุดของสำนักข่าวกรองกลางคือ ศูนย์ปฏืบัติการณ์ข้อมูล (อังกฤษ: Information Operations Center) ซึ่งได้เปลี่ยนหน้าที่จากการเน้นการต่อต้านการก่อการร้ายไปเป็นการปฏิบัติการณ์จู่โจมทางไซเบอร์ ในขณะที่สำนักข่าวกรองกลางได้มีความสำเร็จบางส่วนเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งรวมถึงการระบุตำแหน่งของ อุซามะฮ์ บิน ลาดิน และการมีส่วนร่วมในความสำเร็จของปฏิบัติการณ์เนปจูนสเปียร์ (อังกฤษ: Operation Neptune Spear) แต่สำนักข่าวกรองกลางเองก็มีข้อโต้เถียงในระเบียบงาน อย่างเช่น การกระทำการวิสามัญและการทรมาณ

หน้าที่

เมื่อสำนักข่าวกรองกลางที่ก่อตั้งขึ้น หน้าที่ของมันก็คือการหาข่าวกรองและวิเคราะห์นโยบายของต่างประเทศ แต่ปัจจุบันหน้าที่ของสำนักข่าวกรองกลางคือรวบรวม วิเคราะห์ ประเมิน และเผยแพร่ข่าวกรองต่างประเทศ และการดำเนินการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น

ตามปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สำนักข่าวกรองกลางมีลำดับความสำคัญ 5 อย่างคือ:

  • การต่อต้านการก่อการร้าย
  • การป้องกันการแพร่กระจายของ อาวุธนิวเคลียร์ และ อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง อื่นๆ
  • แจ้งเตือน/รายงาน เหตุการณ์ที่สำคัญในต่างประเทศให้แก่ผู้นำของอเมริกา
  • ต่อต้านการข่าวกรองของต่างประเทศ
  • การข่าวกรองทางไซเบอร์
  • ไม่สนับสนุนการก่อการร้ายทุกรูปแบบ

โครงสร้างองค์กร

สำนักข่าวกรองกลางมีสำนักงานบริหารและ 5 กองอำนวยการหลัก คือ:

  • กองอำนวยการนวัตกรรมดิจิตอล
  • กองอำนวยการการวิเคราะห์
  • กองอำนวยการการปฏิบัติการณ์
  • กองอำนวยการสนับสนุน
  • กองอำนวยการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานบริหาร

ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางรายงานโดยตรงต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ ในทางปฏิบัติแล้วผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางเป็นเพียงผู้ติดต่อกับผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ รัฐสภาสหรัฐ และ ทำเนียบขาว ในขณะที่รองผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารภายในของสำนักข่าวกรองกลาง

สำนักงานบริหารยังมีหน้าที่สนับสนุน กองทัพสหรัฐ ในการให้ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาหรือได้มาจากหน่วยงานข่าวกรองทางทหาร และร่วมมือในการปฏิบัติการณ์ภาคสนาม ผู้อำนวยการบริหารมีหน้าที่คุมการปฏิบัติการณ์ของสำนักข่าวกรองกลางวันต่อวัน แต่ละสาขาของหน่วยงานราชการทางทหารมีผู้อำนวยการเป็นของตนเอง ผู้อำนวยการช่วยว่าการกิจการทางทหารหรือเจ้าหน้าที่ทางทหารอาวุโส มีหน้าที่ในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างสำนักข่าวกรองกลางและกองสั่งการการรบร่วม (อังกฤษ: Unified Combatant Command; UCC) ซี่งเป็นผู้หาข่าวกรองในระดับภูมิภาค/การปฏิบัติการณ์ และใช้ข่าวกรองในระดับชาติที่สำนักข่าวกรองกลางเป็นผู้หา

กองอำนวยการการวิเคราะห์

กองอำนวยการนี้มี 4 กลุ่มวิเคราะห์ระดับภูมิภาค 6 กลุ่มสำหรับการจัดการปํญหาข้ามชาติ และ 3 กลุ่มที่เน้นไปในเรื่องนโยบาย การรวมรวบและการสนับสนุนบุคลากร โดยมีสำนักงานที่ทำงานอย่างหนักใน อิรัก , สำนักงานวิเคราะห์ระดับภูมิภาคครอบคลุม ตะวันออกใกล้ และ เอเชียใต้ , สำนักงาน ประเทศรัสเซีย และ ทวีปยุโรป , สำนักงาน เอเชียแปซิฟิก ลาตินอเมริกา และ ทวีปแอฟริกา

กองอำนวยการการปฏิบัติการณ์

กองอำนวยการการปฏิบัติการณ์มีหน้าที่รวบรวมข่าวกรองต่างประเทศ (โดยส่วนใหญ่มาจากแหล่งข่าวกรองทางมนุษย์ที่เป็นความลับ) และการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น ชื่อของกองอำนวยการสะท้อนถึงหน้าที่ในการประสานงานในการปฏิบัติการณ์ด้านข่าวกรองทางมนุษย์ระหว่างสำนักข่าวกรองกลางและหน่วยงานอื่นๆภายในชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ ซึ่งมีการปฏิบัติการณืด้านข่าวกรองทางมนุษย์เป็นของตนเอง กองอำนวยการนี้ถูกก่อตั้งขึ้นมาในความพยายามจบปีแห่งการแข่งขันในด้านอิทธิพล ปรัชญาและงบประมาณระหว่าง กระทรวงกลาโหมสหรัฐ และสำนักข่าวกรองกลาง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯก็ได้จัดตั้งหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองลับระดับโลก ชือ หน่วยงานราชการลับกลาโหม (อังกฤษ: Defense Clandestine Service; DCS) ภายใต้องค์กรข่าวกรองกลาโหม (อังกฤษ: Defense Intelligence Agency; DIA)

กองอำนวยการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กองอำนวยการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อการวิจัย สร้าง และจัดการอุปกรณ์ในการรวบรวมข่าวกรองให้มีประสิทธิภาพ หลายๆนวัตกรรมของสำนักข่าวกรองกลางได้ถูกแพร่ไปยังองค์กรข่าวกรองอื่นๆด้วย หรือไม่ก็เปิดเผยให้กับหน่วยงานราชการทางทหาร

ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาเครื่องบินสอดแนมระดับความสูง-สูง ล็อกฮีด ยู-2 ได้สำเร็จร่วมกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งภารกิจดั้งเดิมของมันก็คือ การหาข่าวกรองทางรูปภาพ (อังกฤษ: Imagery Intelligence; IMINT) อย่างลับๆเหนือพื้นที่ต้องห้าม เช่น สหภาพโซเวียต ต่อมาก็ได้มีหน้าที่หาข่าวกรองทางสัญญาณ (อังกฤษ: Signal Intelligence; SIGINT) , ข่าวกรองทางการวัดและลักษณะเฉพาะ (อังกฤษ: Measurement and Signature Intelligence; MASINT) และในตอนนี้ก็ได้ปฏิบัติการณ์ภายใต้กองทัพอากาศสหรัฐ

กองอำนวยการสนับสนุน

กองอำนวยการสนับสนุนมีโครงสร้างและหน้าที่การจัดการหน่วยที่สำคัญ ดังนี้:

  • สำนักงานการรักษาความปลอดภัย
  • สำนักงานการสื่อสาร
  • สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประวัติ

สหรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมข่าวกรองต่างประเทศตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก ต่อมาเริ่มมีการประสานงานบนพื้นฐานระดับรัฐบาลอย่างกว้างขวางตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการพัฒนาโครงการที่โดดเด่นสามโครงการเพื่อการประสานงานข่าวกรองพื้นฐานคือ

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ข่าวกรองพื้นฐานจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีความซ้ำซ้อนและมีความขัดแย้งของข่าวสาร การโจมตีของญี่ปุ่นต่อเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ผู้นำในรัฐสภาและผู้บริหารสาขาต่าง ๆ ต้องการที่จะสรุปการรายงานต่าง ๆ ให้แก่ผู้กำหนดนโยบายของชาติ รายละเอียดและการประสานงานข่าวสาร มีความต้องการไม่ได้เพียงแต่ประเทศที่มีมหาอำนาจเช่น เยอรมนี หรือญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงดินแดนต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย เช่น ในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพเรือและนาวิกโยธินได้ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกต่อเกาะจำนวนมากที่ซึ่งข่าวสารไม่ได้รับการยืนยันหรือไม่มีมาก่อน ผู้มีอำนาจการข่าวกรองได้แก้ปัญหาเช่นนั้นก็เพื่อไม่ต้องการให้สหรัฐถูกกระทำแบบที่ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนเกิดขึ้นอีก

ปี พ.ศ. 2486 นายพล จอร์จ สตรอง และนายพลเรือ เทรน (สำนักงานข่าวกรองกองทัพเรือ) และ นายพล วิลเลี่ยม โดโนแวน (ผู้อำนวยการสำนักงานบริการยุทธศาสตร์) มึความตกลงร่วมกันที่จะสถาปนาหน่วยงานความพยายามร่วม คณะกรรมาธิการได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2486 โดยได้เสนอแนะการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและเผยแพร่ข่าวกรองร่วม เพื่อก่อตัว แก้ไข ประสานงาน และตีพิมพ์ การศึกษาข่าวกรองร่วมกองทัพบกและกองทัพเรือ (JANIS : เจนิส) เจนิส จึงเป็นโครงการข่าวกรองพื้นฐานระหว่างกระทรวงหน่วยแรกที่ตอบสนองความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ สำหรับการประเมินการประสานงานและการแบ่งมอบอำนาจของข่าวกรองยุทธศาสตร์พื้นฐาน ในระหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 1943 – กรกฎาคม ค.ศ. 1947 คณะกรรมการได้ตีพิมพ์ การศึกษาของเจนิสจำนวน 34 ฉบับ เจนิสได้ปฏิบัติงานได้ดีระหว่างสงคราม และความต้องการข่าวกรองพื้นฐานที่ละเอียดซับซ้อนมีสูงขึ้นหลังสงครามโลก

ซีไอเอได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 และเริ่มปฏิบัติการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลางเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 โดยรับมอบความรับผิดชอบงานต่อจาก เจนิส เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2491 สภาความมั่นคงแห่งชาติได้ออกคำสั่ง กำหนดการปฏิบัติการข่าวกรอง หมายเลข 3 ที่มอบอำนาจให้ โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติทำหน้าที่ระหว่างช่วงสันติแทนช่วงสงครามของโครงการเจนิส ก่อนแผนกประเทศ ของ โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ จะผลิตข่าวกรองได้อย่างเพียงพอ หน่วยงานของรัฐบาลจะต้องพัฒนาอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และแผนที่ที่ดีขึ้น คณะกรรมการสหรัฐเรื่องชื่อภูมิศาสตร์รวบรวมรายชื่อ กระทรวงมหาดไทยผลิตอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และ หน่วยข่าวกรองกลางผลิตแผนที่

ทางเข้าสำนักงานซีไอเอ

คณะกรรมการฮูเวร์ของคณะกรรมมาธิการคล้าก ถูกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 เพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบการบริหารของหน่วยข่าวกรองกลาง และได้รายงานต่อรัฐสภาในปี พ.ศ. 2498 ว่า “โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ เป็นสิ่งตีพิมพ์ที่หาค่ามิได้ซึ่งให้ข้อมูลข่าวกรองพื้นฐานที่จำเป็นของทุกพื้นที่ทั่วโลก ดังนั้นจึงมีความต้องการดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไปเพื่อรักษาให้การสำรวจข้อมูลมีความทันสมัยตลอดไป” หนังสือความจริงของโลก ได้จัดทำขึ้นเป็นสรุปรายงานประจำปีและปรับปรุงให้เป็นสารานุกรมของการศึกษาโครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ หนังสือความจริงของโลกฉบับมีชั้นความลับเล่มแรกจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2505 และฉบับไม่จำกัดชั้นความลับพิมพ์ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2514 โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2516 ยกเว้นส่วนของ หนังสือความจริงของโลก แผนที่ และอักรานุกรมภูมิศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1975 หนังสือความจริงแห่งโลกได้รับการจัดจำหน่ายเป็นครั้งแรกต่อสาธารณาชนโดยผ่านสำนักพิมพ์รัฐบาล ในปี พ.ศ. 2547 เป็นปีที่ 57 ของการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองกลาง และปีที่ 61 ของความต่อเนื่องข่าวกรองพื้นฐานที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐโดยการจัดทำ หนังสือความจริงของโลก

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "History of the CIA, CIA official Web site". Cia.gov. สืบค้นเมื่อ March 28, 2014.
  2. "CIA Observes 50th Anniversary of Original Headquarters Building Cornerstone Laying – Central Intelligence Agency". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ September 18, 2012.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wp20130829
  4. "Cloak Over the CIA Budget". November 29, 1999. สืบค้นเมื่อ July 4, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น