ยอดรัก สลักใจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยอดรัก สลักใจ
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499
นิพนธ์ ไพรวัลย์
เสียชีวิต9 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (52 ปี)
โรงพยาบาลพระรามเก้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ประเทศไทย
คู่สมรสลัดดา ไพรวัลย์
อาชีพนักร้อง, นักแสดง
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ยอดรัก สลักใจ หรือชื่อจริง สิบตำรวจโท นิพนธ์ ไพรวัลย์ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 24999 สิงหาคม พ.ศ. 2551) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในเมืองไทยเป็นที่รู้จักในนามพระเอกลูกทุ่งไทยตลอดกาล มีผลงานที่สร้างชื่อหลากหลายเพลง เพลงที่รู้จักกันดี ได่แก่ "30 ยังแจ๋ว"

ประวัติ

ยอดรัก สลักใจ มีชื่อเล่นคือ แอ๊ว เกิดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ที่ตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรนายบุญธรรม และ นางบ่าย ไพรวัลย์ มีพี่น้อง 8 คน ชาย 7 คน หญิง 1 คน โดยยอดรักเป็นคนสุดท้อง

การศึกษา

จบการศึกษา ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหาดแตงโม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เนื่องจากทางบ้านไม่มีเงินส่งเสียค่าเล่าเรียน[1] บิดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุ 7 ขวบ มารดายากจนและมีพี่น้องหลายคน ได้ออกเร่ร่อนร้องเพลงที่บาร์รำวง ได้เงินคืนละ 5 - 10 บาท (ประมาณ 35-70 บาทในปัจจุบัน) ได้เงินมาก็หาซื้อหนังสือมาอ่านเอง และเรียนด้วยตนเอง จนกระทั่งได้เรียนที่โรงเรียนถาวรวิทยา อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ และสอบเทียบจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ยอดรัก สลักใจ ได้มีโอกาสเข้าเรียนที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2534 และศึกษาต่อจนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศศ.บ.) สาขาศิลปศาสตร์ สายดนตรีและศิลปะ การแสดง วิทยาลัยครูธนบุรี[2]

สุขภาพและลาลับ

พ.ศ. 2550 ยอดรักถูกตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งตับระยะแรก[3] และในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 01.05 น.ด้วยวัย52ปี[4][5][6] ยอดรัก สลักใจ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับที่ โรงพยาบาลพระรามเก้า กรุงเทพมหานคร หลังจากระบุว่าจะไม่ยอมรับการรักษาใดๆ อีก และไม่ต้องทำการช่วยชีวิตแม้อาการจะทรุดหนักก็ตาม โดยพิธีศพของยอดรักได้จัดขึ้นไว้ ณ ที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดหาดแตงโม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

กรณีขัดแย้ง

ในขณะที่ยอดรักเข้ารับการรักษาตัว สายัณห์ สัญญา นักร้องลูกทุ่งผู้ที่เป็นคู่แข่งกับเขานั้นได้กล่าวหาว่าเขามิได้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ทำให้เสรี รุ่งสว่าง นักร้องผู้ซึ่งเป็นเพื่อนของยอดรักมาปกป้องจนมีกรณีขัดแย้งกันและหลังจากยอดรักได้ลาลับลง เสรี รุ่งสว่างจึงออกบวชอุทิศส่วนกุศลให้[7]

วงการเพลง

เมื่อยอดรักยังเด็ก เขาไปสมัครร้องเพลงกับคณะรำวง “เกตุน้อยวัฒนา” ซึ่งได้เงินมาครั้งละ 5-10 บาท และต่อมามีโอกาสไปร้องเพลงในห้องอาหารที่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้ใช้เพลงของไพรวัลย์ ลูกเพชร, ชาย เมืองสิงห์, สุรพล สมบัติเจริญ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เป็นต้น จนกระทั่งวันหนึ่ง เด็ดดวง ดอกรัก นักจัดรายการของสถานีวิทยุ ท.อ.04 ตาคลี ได้มาฟังเพลงที่ห้องอาหาร และประทับใจยอดรักที่ร้องเพลง ' ใต้เงาโศก ' ของ ' ไพรวัลย์ ลูกเพชร ' จึงได้มาชักชวนเข้าสู่วงการ โดยนำมาฝากกับ อาจารย์ ชลธี ธารทอง ยอดรักก็ได้อยู่เลี้ยงลูกให้อาจารย์ชลธีเกือบหนึ่งปี และตั้งชื่อให้ว่า “ ยอดรัก ลูกพิจิตร ” และได้บันทึกแผ่นเสียง 3 เพลงคือ สงกรานต์บ้านทุ่ง, น้ำสังข์ น้ำตา และ เต่ามองสทดวงจันทร์

ผลงานเพลง

เพลงที่ทำชื่อเสียงให้ชุดแรก มี จ.ม.จากแนวหน้า น้ำสังข์หลั่งน้ำตาริน ห่มธงนอนตาย ทหารเรือมาแล้ว หลังจากนั้นมี ผลงานเพลงที่ขับร้องเอง อีกเกือบ 4000 เพลง งานเพลงชุดสุดท้ายก่อนเสียชีวิตคือ มะเร็งไม่มายิง ออกโดยค่าย ​เอส เอส มิวสิก เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่ง ยอดรัก สลักใจ ได้รับค่าตอบแทน เป็นเงิน 570,000 บาท และเพลงสุดท้ายที่ยอดรักขับร้อง คือ เพลง "ยอดรัก" ซึ่ง บอย โกสิยพงษ์ เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง

ผลงานเพลงที่ยอดรักบันทึกเสียงถึง 9 ครั้ง และมีศิลปินเพลงรายอื่นนำไปขับร้องอีกเป็นจำนวนมากคือเพลง สามสิบยังแจ๋ว

เพลง สามสิบยังแจ๋ว ที่ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ

  • ครั้งแรก ในชุด 30 ยังแจ๋ว ค่ายอโซน่า
  • ครั้งที่ 2 ในชุด ลูกทุ่งทองแท้ ชุดที่ 1 ค่ายนิธิทัศน์
  • ครั้งที่ 3 ในชุด อำลาอาลัย 15 ปียอดรัก ค่ายอามีโก้
  • ครั้งที่ 4 ใน ชุด ลวดลายยอดรัก ค่ายโรต้า
  • ครั้งที่ 5 ในชุด ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน ชุดที่ 6 ค่าย อาร์เอสโปรโมชั่น
  • ครั้งที่ 6 ในชุด เบรกไม่อยู่ชุดที่ 1 ค่าย PGM
  • ครั้งที่ 7 ในชุด คณะบุญหลายมันส์หยุดโลก ชุด ที่ 1 ค่าย มาสเตอร์เทป
  • ครั้งที่ 8 ในชุด ต้นฉบับเพลงทอง ค่ายโรสวิดีโอ (ปัจจุบันคือ โรสมีเดีย)
  • ครั้งที่ 9 ในชุด ยอดรักยอดฮิต ค่ายกรุงไทย

นอกจากนี้ยังมีผลงานเพลงอื่นๆ อีก เช่น

ผลงานอื่น

ภาพยนตร์

ละครโทรทัศน์

  • [2545] มนต์รักแม่น้ำมูล ..... ยอดรัก
  • [2544] อะเมซซิ่งโคกเจริญ ..... อาจารย์เอ๋อ
  • [2541] สุรพล (คนจริง) สมบัติเจริญ ..... ปรีชา (รับเชิญ)
  • [2541] สวรรค์บ้านทุ่ง ..... แสง
  • [2538] มนต์รักลูกทุ่ง ..... บุญเย็น
  • [2533-2534] ล่องเรือหารัก (คู่กับ ปภัสรา เตชะไพบูลย์)

รางวัลเกียรติยศ

  • พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำ ประเภทนักร้องยอดเยี่ยมในเพลง ทหารเรือมาแล้ว
  • พ.ศ. 2522 ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ประเภทนักร้องยอดนิยมลูกทุ่งชาย จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (28 ธันวาคม 2533)
  • พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ เพลง กำนันกำใน จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่เป็นผู้มีความสามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง ไพเราะ เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างอันดีแก่เยาวชน
  • พ.ศ. 2523-2524 ได้รับรางวัลทีวีตุ๊กตาทองมหาชน โดยคะแนนเสียงจากประชาชนทั่วประเทศ 2 ปีซ้อน ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์บ้านเมือง
  • พ.ศ. 2532 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ในเพลง จักรยานคนจน
  • พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติให้ร้องเพลงชนะเลิศจากการประกวดวันแม่แห่งชาติ และเป็นเกียรติสูงสุดที่ได้ร้องถวายในวันครบรอบ 90 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในเพลง สมเด็จย่า
  • พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 ในเพลง ทหารใหม่ไปกอง
  • พ.ศ. 2551 ได้รับรางวัล "ปริยศิลปิน" จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นศิลปินที่เป็นที่รักของประชาชน ซึ่งถือเป็นรางวัลเกียรติยศภายหลังการเสียชีวิตแล้ว และถือเป็นศิลปินคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ด้วย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น