พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร[1]
พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ครองราชย์9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
ราชาภิเษก5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
รัชกาลก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ประสูติ5 ธันวาคม พ.ศ. 2470
วันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก
เคมบริดจ์ (รัฐแมสซาชูเซตส์),สหรัฐอเมริกา
พระบรมราชินีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชบุตร- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร[1]
วัดประจำรัชกาล
วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย
พระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร[1]
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบรมราชชนกสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบรมราชชนนีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — ) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งประเทศไทย และพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะนี้ จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสวยราชย์ยาวนานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย[2]

พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์[3] กับทั้งพระองค์ทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่ง[4]นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทเอกชนหลายแห่ง ในปี 2553 นิตยสารฟอบส์ประเมินว่า พระองค์มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมถึงที่อยู่ในการบริหารจัดการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นมูลค่ามากกว่าเก้าแสนหกหมื่นล้านบาท และด้วยเหตุนี้ จึงทรงได้รับการจัดอันดับให้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก[5][6]

นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 พระองค์แปรพระราชฐานจากที่ประทับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปประทับอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช ตราบปัจจุบัน อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ[7] ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น ข่าวลือว่าพระอาการประชวรทรุดหนักลง ได้ยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส[8]

พระนาม

พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน [9][10]

ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า "Bhumibala" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น "Bhumibol"[9]

ความหมายของพระนาม

  • ปรมินทร - มาจากการสนธิคำระหว่าง "ปรม (ป.,ส. : อย่างยิ่ง, ที่สุด) + อินฺทฺร (ส. , ป. อินฺท : ผู้เป็นใหญ่) " หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่ที่สุด" หรือ "ผู้เป็นใหญ่อย่างยิ่ง"
  • ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
  • อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"[11]

พระชนมายุช่วงต้น

ทรงพระเยาว์

ไฟล์:Mahidols-1938.jpg
(ด้านหน้า จากขวามาซ้าย) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช; สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"[9][12]

เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา

ทรงศึกษา

พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์" (ฝรั่งเศส: École Nouvelle de la Suisse Romande, เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์) เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน (ฝรั่งเศส: Chailly-sur-Lausanne)

พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง[13]

ทรงประสบอุบัติเหตุ และทรงหมั้น

หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จไปเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก[14] ในขณะนี้ ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษาและ 15 พรรษาตามพระลำดับ

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลังการถวายการรักษา พระองค์ทรงมีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของพระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด

ทั้งนี้ ม.ร.ว. สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[15][16][17]

เสวยราชย์ และทรงเสกสมรส

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน[18] สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ

ไฟล์:Bhumbol coronation 1.jpg
ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงครองราชสมบัติแต่ในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียมพระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"[19] ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ ดังที่ได้ตรัสตอบชายคนเดิมนั้นในอีก 20 ปีต่อมา[20]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" และในโอกาสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี[21]

ทรงผนวช

เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ในปีเดียว[22]

สถานะพระมหากษัตริย์

ตามกฎหมายไทย พระองค์ทรงดำรงอยู่ในสถานะที่ "ผู้ใดจะละเมิดมิได้" การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ และการกล่าวหาว่าพระองค์เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองถือเป็น "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์" และระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี[23] ทั้งนี้ พระองค์เคยมีพระราชดำรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปี 2548 ว่า "...ถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน...ฝรั่งเขาบอกว่า ในเมืองไทยนี่ พระมหากษัตริย์ถูกด่า ต้องเข้าคุก...ที่จริงพระมหากษัตริย์ไม่เคยบอกให้เข้าคุก..."[24]

พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระภัทรมหาราช" หมายความว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง" ต่อมาในปี 2539 มีการถวายใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช"[25] และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช" พระองค์ทรงเป็นที่สักการบูชาของชาวไทยจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เคยแสดงทัศนะว่า มีขบวนการอันเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่พยายามล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์[26] ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง" บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่

บทบาททางการเมือง

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ จอมทัพไทย และอัครศาสนูปถัมภก และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ทรงมีบทบาทในการเมืองไทยหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงปี 2530-2540 เป็นที่ทราบกันว่า พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผันประเทศไทยจากระบอบทหารไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และทรงใช้พระราชอำนาจทางศีลธรรมยับยั้งการปฏิวัติและการกบฏหลายช่วงด้วยกัน ทว่า พระองค์ก็ทรงสนับสนุนระบอบทหารเป็นหลายครา ซึ่งในจำนวนนี้ อาทิ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงปี 2500-2510 ในรัชสมัยของพระองค์ เกิดการรัฐประหารกว่าสิบห้าครั้ง รัฐธรรมนูญกว่าสิบแปดฉบับ และการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีเกือบสามสิบคน[27]

สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม

ไฟล์:PPS.JPG
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และภริยา กับ อิลินอย รูสเวลต์

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่ง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี นั้น ในทางการเมืองที่ฝ่ายทหารครอบงำอยู่ พระองค์ทรงมีบทบาทน้อยมากกว่า และทรงปฏิบัติแต่พระราชกรณียกิจทางพิธีการเท่านั้น อันเนื่องมาจากความควบคุมอันเข้มงวดของรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2494 หลังจากเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาได้หกเดือน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กล่าวหาว่าจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ละเมิดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในการจัดงานฉลองพุทธศตวรรษสองพันห้าร้อยปี[28] [29] ครั้นวันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้เสด็จมาร่วมงานฉลองพุทธศตวรรษดังกล่าว[30] ในโอกาสนั้น พระองค์มีพระราชดำรัสต่อจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ให้ลาออก เพื่อมิให้เกิดการรัฐประหาร ทว่า ทรงได้รับการปฏิเสธ เย็นวันนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจการปกครอง และสองชั่วโมงต่อมา พระองค์มีพระราชโองการให้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร[31] และมีพระราชโองการตั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น "ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร" โดยหามีผู้ใดรับสนองพระบรมราชโองการไม่ พระราชโองการนั้น มีใจความว่า[32]

สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

เมื่อรัฐบาลทหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เถลิงอำนาจแล้ว รัฐบาลได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ โดยอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จออกประชาชนเป็นอันมาก ให้ทรงเสด็จประภาสในถิ่นทุรกันดาร และตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาที่พระองค์มีพระราชดำริริเริ่มด้วย โดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศให้นำประเพณีหมอบกราบเข้าเฝ้า ซึ่งเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ กลับมาใช้ใหม่ กับทั้งประกาศให้สถาปนาพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายขึ้นซ้ำด้วย นอกจากนี้ นับตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 2475 สืบมา ประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคก็ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อถวายผ้าพระกฐิน[33] [34]

พิธีกรรมหลายหลากในสมัยคลาสสิกของราชวงศ์จักรี เช่น พิธีกรรมพืชมงคล ก็มีประกาศให้ฟื้นฟู[35] วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม) ก็ได้รับการประกาศให้เป็นวันชาติไทย แทนที่วันที่ 24 มิถุนายน อันตรงกับวันที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จด้วย[36]

เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม 2506 สำนักพระราชวังก็มีประกาศให้จัดการไว้ทุกข์ในพระราชวังเป็นเวลายี่สิบเอ็ดวัน และศพจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระราชทานฉัตรห้าชั้น ซึ่งปรกติเป็นเครื่องยศของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า กางกั้นตลอดระยะเวลาไว้ศพ ทั้งนี้ พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) องคมนตรี ได้กล่าวต่อมาว่า ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เท่ากับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาก่อนเลย[37]

สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร

จอมพลถนอม กิตติขจร

หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2506 จอมพลถนอม กิตติขจร ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดมา และจอมพลถนอม กิตติขจร ก็สืบนโยบายราชานิยมของจอมพลสฤษดิ์ต่อมาอีกกว่าทศวรรษ โดยในช่วงปี 2510-2520 นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีบทบาทโดดเด่นในคณะลูกเสือชาวบ้าน และกองกำลังติดอาวุธกระทิงแดง เป็นอันมาก ซึ่งเดือนตุลาคม 2516 ในการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาล และมีผู้ตายเป็นจำนวนมหาศาลอันเนื่องมาจากการปราบปรามของรัฐบาลนั้น พระองค์ได้มีพระบรมราชานุญาตให้เปิดพระทวารพระตำหนักจิตรลดารโหฐานรับผู้ชุมนุมที่หนีตายเข้ามา และพระราชทานพระราชโอกาสให้เหล่าผู้ชุมนุมเฝ้า ต่อมา ก็ทรงตั้ง สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้ลี้ภัยไปสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ตามลำดับ ครั้งนั้น สัญญา ธรรมศักดิ์ จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนสำเร็จเป็นครั้งแรก ทว่า ไม่ช้าไม่นานต่อมาใน พ.ศ. 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ก็เล็ดรอดเข้าประเทศโดยบวชเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร ก่อให้เกิดการประท้วงเป็นวงกว้าง และนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มนิยมเจ้าได้สังหารผู้ประท้วงล้มตายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ในความโกลาหลครั้งนั้น ฝ่ายทหารก็เข้ายึดอำนาจอีกครั้ง และเสนอนามบุคคลสามคนให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย ประกอบ หุตะสิงห์ ประธานศาลฎีกา, ธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษาศาลฎีกา[38] ด้วยความที่ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีเกียรติคุณดีที่สุด จึงได้รับการโปรดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ทว่า เมื่อพระองค์พบว่า ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีแนวคิดขวาจัด และให้เหล่านักศึกษาหนีเข้าป่าไปรวมกลุ่มกับพวกคอมมิวนิสต์ได้ รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ถูกรัฐประหารนำโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ใน พ.ศ. 2523 และคณะรัฐประหารก็ตั้งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ขณะนั้น กองกำลังที่นิยมรัฐบาลได้เข้ายึดกรุงเทพมหานคร ทว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธไม่รับรอง การก่อการครั้งนี้จึงกลายเป็นกบฏที่รู้จักในชื่อ "กบฏเมษาฮาวาย" และนำไปสู่ "กบฏทหารนอกราชการ" ในเวลาต่อมา[39][40] [41]

สมัยพลเอกสุจินดา คราประยูร

ใน พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีบทบาทเป็นสำคัญในการเปลี่ยนผันระบอบทหารไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยการรัฐประหารของคณะทหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ได้นำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบเผด็จการทหารอีกครั้ง หลักการเลือกตั้งในปีถัดมา พลเอกสุจินดา คราประยูร หัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งเคยตกปากว่าจะไม่รับตำแหน่งใด ๆ ภายหลังจากเลือกตั้งอีกเพื่อตัดข้อครหาบทบาทของทหารในรัฐบาลพลเรือน กลับยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสร้างความไม่พอใจท่ามกลางประชาชนเป็นอันมาก นำไปสู่การประท้วง และมีผู้คนล้มลายหลายหลากเมื่อฝ่ายทหารเปิดการโจมตีผู้ชุมนุม เหตุการณ์ดิ่งสู่ความรุนแรงเรื่อย ๆ เมื่อกำลังทหารและตำรวจเข้าควบคุมกรุงเทพมหานครเต็มที่[42] และท่ามกลางสงครามกลางเมืองครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้าแทรกแซง โดยมีพระบรมราชโองการเรียกพลเอกสุจินดา คราประยูร และหัวหน้ากลุ่มผู้ประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ให้เฝ้า และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดการนี้ออกอากาศสดได้ ในภาพทางโทรทัศน์ พระองค์ทรงขอให้คู่กรณียุติความรุนแรงและนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่สันติ ณ จุดสูงสุดของวิกฤติการณ์ ปรากฏภาพพลเอกสุจินดา คราประยูร และหัวหน้าผู้ประท้วง เฝ้าทูลละอองพระบาทโดยหมอบกราบ และที่สุดก็นำไปสู่การลาออกของพลเอกสุจินดา คราประยูร และการเลือกตั้งทั่วไป[43]

สมัยรัฐประหาร พ.ศ. 2549

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานสภาองคมนตรี และ รัฐบุรุษ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน พลเรือเอกสถิรพันธุ์ เกยานนท์ และพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อเวลา 00.19 น. วันพุธที่ 20 กันยายนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต[44]

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อันมีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้สึกรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ประชาชนส่วนหนึ่งเคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ แม้หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้[45]

เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (อักษรย่อ CDRM) ต่อมาได้ตัดคำว่า under Constitutional Monarchy ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น Council for Democratic Reform (อักษรย่อ CDR) โดยยังคงใช้ชื่อภาษาไทยตามเดิม[46]

นอกจากนี้ ในวันที่ 22 กันยายน โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก แพร่ภาพพิธีรับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก่พลเอกสนธิ ซึ่งมีข้อสังเกตว่าประกาศฉบับดังกล่าว มีพลเอกสนธิเอง ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พิธีรับพระบรมราชโองการนั้น จัดให้มีขึ้นต่อมาในภายหลัง[47]

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดย หัวหน้า คปค. ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติ ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้น จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี[45]

พระราชทรัพย์

พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น โดยแบ่งออกได้เป็นส่วน ๆ ได้โดยสังเขป คือทรัพย์สินส่วนพระองค์ พระคลังข้างที่ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งเพื่อโครงการพระราชดำริจำนวนกว่า 3,000 โครงการ มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาภายในประเทศในด้านกสิกรรม เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพ สาธารณูปโภค และการศึกษา โครงการต่างๆมีรายละเอียดใช้เป็นแหล่งอ้างอิงไปได้ทั่วโลก[48] และพบได้ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศไทย[26]

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์สินของส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[49] และได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[50] ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจะถูกบริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคลภายใต้ชื่อ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น โดยปัจจุบันมีผู้เช่าที่ดินทั่วประเทศมากกว่า 3 หมื่นสัญญา[50] โดยแปลงสำคัญ ๆ ประกอบด้วย ที่ดินโรงแรมโฟร์ซีซั่น ที่ดินสยามพารากอน ที่ดินเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ที่ดินองค์การสะพานปลา และที่ดินริมถนนพระรามที่ 4 ฝั่งเหนือ จากสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ยาวจรดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้บริษัทซีบีริชาร์ดเอลลิส บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ที่ 32,500 ไร่ โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่[51] ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย โดยถ้านับรวมทั้งหมด หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 7.5% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[51] ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บ ให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[52] แต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ชี้แจงถึงบทความดังกล่าวว่า "มีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากในความเป็นจริง ทรัพย์สินที่นับมาประเมินนั้นเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์"[49]

ทรัพย์สินส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เอง โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) 43.87%[53] บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18.56%[54] และบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 2.04%[55] เป็นต้น

ทรัพย์สินส่วนพระองค์นี้ยังหมายรวมถึง เงินทูลเกล้าถวายฯ ตามพระราชอัธยาศัยต่าง ๆ ซึ่งทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นไม่ได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี และต้องเสียภาษีอากรตามปกติ[50]

มูลนิธิอานันทมหิดล อ้างว่า พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จำนวนมากแก่ โครงการพระราชดำริ มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดจนการกุสล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์[56]

การถือหุ้น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทเอกชนหลายแห่ง ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 มีดังต่อไปนี้

  1. ใน บริษัทสัมมากร จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 197,414,850 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.870[57]
  2. ใน บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 42,583,274 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 40.000[58]
  3. ใน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 360,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 30.00[59]
  4. ใน บริษัทไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 3,526,567 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 30.00[60]
  5. ใน บริษัทธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 722,941,958 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 21.31[61]
  6. ใน บริษัทซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 1,383,770 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.51[62]
  7. ใน บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทรงถือหุ้นจำนวน 27,600 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.23[63]

พระราชบุตร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยกันสี่พระองค์ตามลำดับดังต่อไปนี้

  1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: 5 เมษายน พ.ศ. 2494, สถานพยาบาลมงต์ชัวซี เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อทรงสมรสกับนายปีเตอร์ เจนเซ่น ชาวอเมริกัน โดยมีพระโอรสหนึ่งองค์และพระธิดาสององค์ ทั้งนี้ คำว่า "ทูลกระหม่อมหญิง" เป็นคำเรียกพระราชวงศ์ที่มีพระชนนีเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
  2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร; ประสูติ: 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ นางสุจาริณี วิวัชรวงศ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ ตามลำดับ โดยมีพระโอรสหนึ่งพระองค์และสี่องค์ กับพระธิดาสองพระองค์
  3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์; ประสูติ: 2 เมษายน พ.ศ. 2498, พระที่นั่งอัมพรสถาน)
  4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (ประสูติ: 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน โดยมีพระธิดาสองพระองค์

พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น

ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี

ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่าง ๆ หลายแขนง จึงทรงได้รับการยกย่องให้เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติและบิดาแห่งการดนตรี[64] พระองค์ยังทรงสนพระราชหฤทัยในการฝึกเขียนภาพ และมีพระปรีชาสามารถในเรื่องการถ่ายภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนทรงมีพระปรีชาสามารถปั้นพระพุทธรูปพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง

งานทางด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลากหลายภาษา ทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน เรื่อง ทองแดง เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง เป็นต้น[65]

ด้านการพัฒนาชนบท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทุกหนแห่งไม่ว่าดินแดนแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหน พระองค์จัดทำโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริควบคู่ไปในทุกๆ ด้าน ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง พระองค์มีจุดประสงค์เดียวคือ เพื่อขจัดความทุกข์ยากของชาวชนบท และสนับสนุนส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาสังคมเมืองให้ดีขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริหลายโครงการที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจะเป็นโครงการเกี่ยวกับปรับปรุงถนนหนทาง การก่อสร้างถนนเพื่อการ สัญจรไปมาได้สะดวกและทั่วถึง การคมนาคมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ สำคัญของการนำความเจริญไปสู่ชนบท การสื่อสาร ติดต่อที่ดียังผล สำคัญทำให้เศรษฐกิจของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น ราษฎรก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการพัฒนาชนบทนั้น การคมนาคม เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะมองข้ามไปเสียมิได้ เพราะเป็นเสมือนประตูเชื่อม ระหว่างในเมือง และชนบท ดังนั้น การที่จะเริ่มโครงการพัฒนาใดๆ นั้นจะต้องเริ่มจากการปรับปรุง และการก่อสร้างถนนหนทางเป็นการเปิดประตูนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่

ด้านการเกษตรและชลประทาน

เขื่อนภูมิพล

ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะเกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น

ด้านการแพทย์

โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุข เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากดรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎรผู้ป่วยไข้ได้ทันที

นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด้กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่า ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย[66][67]

ด้านการศึกษา

นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เพื่อสนับสนุนทางด้านคัดเลือกบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้บัณฑิตเหล่านั้นนำความรู้ที่ได้ไปศึกษาวิจัยนำผลงานที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยพระองค์ออกทุนให้ตลอดจนดูแลเกี่ยวกับความเป้นอยู่ในต่างประเทศนั้นๆ อีกด้วย[68]

ส่วนในประเทศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเป็นผู้ดพเนินการจัดการบริหารทางการศึกษา แบบให้เปล่าตั้งแต่ระดับชั้นประถมศกษา จนถึงระดับมัธบมศึกษาตอนปลาย ในลักษณะทั้งอยู่ประจำและไปกลับ แบ่งเป็น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 26 โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำนวน 14 โรงเรียน[68]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์เป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย โดยสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้:

ด้านการกีฬา

เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทองจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510[69] ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13[70][71]

ด้านดนตรี

งานทางด้านดนตรี พระองค์ทรงรอบรู้เรื่องดนตรีเป็นอย่างดีและทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟน คราริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์ และเปียโน ทรงโปรดดนตรีแจ๊สเป็นอย่างมาก และพระองค์ได้ประพันธ์เพลงที่มีความหมายและไพเราะหลายเพลงด้วยกัน เช่น เพลงพระราชนิพันธ์แสงเทียน เป็นเพลงแรก สายฝน ยามเย็น ใกล้รุ่ง ลมหนาว ยิ้มสู้ ค่ำแล้ว ไกลกังวล ความฝันอันสูงสุด และเราสู้ หรือจะเป็นพรปีใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของชาวไทย เป็นต้น[72][73]

พระเกียรติยศ

ธงประจำพระองค์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและเกียรติยศต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากบุคคลและคณะบุคคลในประเทศและต่างประเทศ อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจและพระราชอัธยาศัยในการแสวงหาความรู้ ที่สำคัญเป็นต้นว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ที่ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 136 ฉบับ ใน พ.ศ. 2540[77] โดยทรงได้รับมอบถวายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระชนก:
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
พระชนนี:
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระชนกชู
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
คหบดี (ชุ่ม)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
พระชนนีคำ
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ผา

ดูเพิ่ม

แหล่งอ้างอิงและเชิงอรรถ

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. (2552, 11 มีนาคม). การเขียนพระปรมาภิไธยย่อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2854>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552)
  2. "A Royal Occasion speeches". Worldhop.com Journal. 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2006. สืบค้นเมื่อ 5 July 2006.
  3. UN Secretary-General office. THAI KING’S DEVELOPMENT AGENDA, VISIONARY THINKING INSPIRATION TO PEOPLE EVERYWHERE, SAYS SECRETARY-GENERAL TO BANGKOK PANEL
  4. มูลนิธิอานันทมหิดล
  5. [1]
  6. Tatiana Serafin, “The world’s richest royals”, Forbes, 7 July 2010.
  7. Female First, King Bhumibol to remain in hospital, 12 August 2010
  8. "Why the Thai king's health can panic markets". By Andrew Marshall, Asia Political Risk Correspondent, Reuters, Fri 16 Oct, 2009 7:29am EDT
  9. 9.0 9.1 9.2 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์. กรุงเทพ : ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549. 450 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7047-55-1
  10. Wimuttanon, Suvit (ed.) (2001). Amazing Thailand (special collector's edition). World Class Publishing. pp. Page 33. ISBN 974-91020-3-7. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  11. Kanchanapisek.or.th (อังกฤษ)
  12. "The Illustrious Chakri Family". Tudtu. สืบค้นเมื่อ 2006-08-13.
  13. "Biography of His Majesty King Bhumibol Adulyadej". The Golden Jubilee Network. Kanchanapisek Network. 1999. สืบค้นเมื่อ 2006-08-05.
  14. "Bhumibol Adulyadej". The Encyclopedia of Asian History the Asia Society 1988. Asia Source. 1988. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25.
  15. "A Royal Romance". Srinai Tripod.com. สืบค้นเมื่อ 2006-07-12.
  16. "The Making of a Monarch". Bangkok Post. December 5, 2005. สืบค้นเมื่อ 2006-07-12. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. Handley, Paul M. (2006). The King Never Smiles. Yale University Press, Page 104. ISBN 0-300-10682-3.
  18. Asia Biography:Bhumibol Adulyadej (อังกฤษ)
  19. ภปร., พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2511, ไม่มีเลขหน้า.
  20. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, "เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์", วงวรรณคดี (สิงหาคม 2490).
  21. "Royal Power Controversy". 2Bangkok.com. สืบค้นเมื่อ 2007-01-04.
  22. "Thailand Monarchy". Thailand Travel and Tours. 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-09-26.
  23. Why Thailand's king is so revered BBC News. 5 December 2007. Retrieved 3 February 2010
  24. พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 2548
  25. พระราชสมัญญานาม “มหาราช” พระบรมเดชานุภาพแห่งรัชกาลที่ 9.
  26. 26.0 26.1 Channel News Asia, Thais celebrate Queen's birthday as govt investigates monarchy threat, 12 August
  27. Doherty, Ben (15 October 2009). "Fears for Thai monarch set stockmarket tumbling for second day". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 13 April 2010.
  28. Handley, Paul M. (2006). The King Never Smiles. Yale University Press. pp. 129–130, 136–137. ISBN 0-300-10682-3.
  29. Thak Chaloemtiarana (1979). Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. Social Science Association of Thailand. p. 98.
  30. Suwannathat-Pian, Kobkua (1995). Thailand's Durable Premier. Oxford University Press. p. 30. ISBN 967-65-3053-0.
  31. "The Royal Command on Imposition of the Martial Law throughout the Kingdom". The Government Gazette of Thailand. 74 (76). 16 September 1957.
  32. "The Royal Command Appointing the Military Defender". The Government Gazette of Thailand. 74 (76). 16 September 1957. {{cite journal}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  33. Evans, Dr. Grant (1998). "The Politics of Ritual and Remembrance: Laos since 1975". Laosnet.org. สืบค้นเมื่อ 5 July 2006. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  34. Evans, Dr. Grant (1998). The Politics of Ritual and Remembrance: Laos since 1975. University of Hawaii Press. pp. 89–113. ISBN 0-8248-2054-1.
  35. Klinkajorn, Karin. "Creativity and Settings of Monuments and Sites in Thailand: Conflicts and Resolution" (PDF). International Council on Monuments and Sites. สืบค้นเมื่อ 5 July 2006.
  36. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอน 43 24 พฤษภาคม 2503 หน้า 1452
  37. Thongthong Chandrangsu, A Constitutional Legal Aspect of the King's Prerogatives (M.A. thesis) Chulalongkorn University, 1986 , page 160
  38. "His Gracious Majesty". The Nation. 2 February 2007. สืบค้นเมื่อ 25 September 2007.
  39. Michael Schmicker, Asian Wall Street Journal, 23 December 1982
  40. สุลักษณ์ ศิวรักษ์, "ลอกคราบสังคมไทย", กรุงเทพฯ: หนังสือไทย, 2528
  41. Anonymous, "The Chakri Dynasty and Thai Politics, 1782–1982", cited in Handley, Paul M. (2006). The King Never Smiles. Yale University Press. p. 298. ISBN 0-300-10682-3.
  42. "Development Without Harmony". Southeast Asian Ministers of Education Organization. 2000. สืบค้นเมื่อ 26 September 2007.
  43. "BIOGRAPHY of Chamlong Srimuang". The 1992 Ramon Magsaysay Award for Government Service. Ramon Magsaysay Award Foundation. 2000. สืบค้นเมื่อ 26 September 2007.
  44. "Coup as it unfolds". The Nation. September 20, 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  45. 45.0 45.1 McGeown, Kate (September 21, 2006). "Thai king remains centre stage". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "kate" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  46. http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30014778
  47. ประกาศ แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากวิกิซอร์ซ
  48. [http://kanchanapisek.or.th/index.en.html the Golden Jubilee Network, an online mass-educational project]
  49. 49.0 49.1 บทความพิเศษของนิตยสารฟอร์บ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
  50. 50.0 50.1 50.2 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (www.crownproperty.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  51. 51.0 51.1 Thai King Strengthens Grip on Stocks as Nation's No. 1 Investor (www.bloomberg.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  52. The World's Richest Royals. No. 5, King Bhumibol Adulyadej (www.forbes.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  53. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) : SAMCO (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  54. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : TIC (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  55. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : MINT (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  56. มูลนิธิอานันทมหิดล
  57. http://www.sammakorn.co.th/investor_th.html
  58. http://www.minorinternational.com/international/investors.asp
  59. http://www.siamcement.com/th/04investor_governance/04_shareholder_services.php
  60. http://www.thaiins.com/org/home/investor.php
  61. http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=SCB&language=th&country=TH
  62. http://singer-th.listedcompany.com/shareholding.html
  63. http://www.deves.co.th/company_profile/shareholders/shareholder04.asp
  64. “สุเทพ-สวลี” ขับกล่อมบทเพลงพระราชนิพนธ์ในคอนเสิร์ต “องค์อัครศิลปิน หนึ่งเดียวในโลก” . กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สืบค้น 6-12-2553.
  65. HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. The Story of Tongdaeng. Amarin, Bangkok. 2004. ISBN 9742729174
  66. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข
  67. ในหลวงกับการแพทย์-การสาธารณสุข
  68. 68.0 68.1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช กับการศึกษาไทย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2530.
  69. Cummins, Peter (2004). "His Majesty King Bhumibol Adulyadej The Great: Monarch of Peace and Unity". Chiang Mai Mail. สืบค้นเมื่อ 20 July 2006. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  70. "The Heart for Art". Bangkok Post. 6 February 2006. สืบค้นเมื่อ 20 July 2006.
  71. "H.M. King Bhumibol Adulyadej". Minsitry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. สืบค้นเมื่อ 4 March 2008.
  72. Tang, Alisa (13 June 2006). "Thailand's monarch is ruler, jazz musician". Boston.com News, Associated Press. สืบค้นเมื่อ 28 February 2007.
  73. Home Grown Shows Planned for White House Dinners, The New York Times, 30 May 1967
  74. "With new Human Development award, Annan hails Thai King as example for the world". UN News Center. 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-07-05.
  75. ห้องข่าว WIPO King of Thailand to Receive WIPO's First Global Leaders Award
  76. มติชนรายวัน วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11267 เทิดพระเกียรติ
  77. Handley, Paul M. (2006). The King Never Smiles. Yale University Press. p. 417. ISBN 0-300-10682-3.
  • ธนากิต, พระราชประวัติ 9 รัชกาลและพระบรมราชินี, สุวีริยาสาส์น, 2542, หน้า 383-427.
  • วิเชียร เกษประทุม, ราชาศัพท์และพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมพระราชวงศ์ โดยสังเขป, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา, 2546, หน้า 147-157.
  • พระเจ้าอยู่หัว, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2530.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระมหากษัตริย์ไทย
(ราชวงศ์จักรี)

(พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ

แม่แบบ:Link FA