ประเทศซานมารีโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐซานมารีโน

Repubblica di San Marino (อิตาลี)
คำขวัญLibertas (ละติน: อิสรภาพ)
ที่ตั้งของซานมารีโน
เมืองหลวงซานมารีโน
เมืองใหญ่สุดโดกานา
ภาษาราชการภาษาอิตาลี
การปกครองสาธารณรัฐระบบรัฐสภา
• ผู้สำเร็จราชการ
นิโคลา เซลวา
และมิเชล มุราโตรี
การสร้างชาติ
• วันที่
3 กันยายน พ.ศ. 844
พื้นที่
• รวม
61.2 ตารางกิโลเมตร (23.6 ตารางไมล์) (192)
ประชากร
• 2555 (31 ก.ค.)ประมาณการ ประมาณ
32,576 (222)
520 ต่อตารางกิโลเมตร (1,346.8 ต่อตารางไมล์) (20)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2555 ประมาณการ (ประมาณ)
• รวม
1.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (177)
เอชดีไอ (2558)ไม่มีข้อมูล
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง
สกุลเงินยูโร (€) (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์378 (0549 จากอิตาลี)
โดเมนบนสุด.sm

ซานมารีโน (อิตาลี: San Marino) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซานมารีโน (อิตาลี: Repubblica di San Marino) และอีกชื่อหนึ่งคือ "'สาธารณรัฐอันสงบสุขยิ่งซานมารีโน"' เป็นประเทศในยุโรปใต้บนเทือกเขาแอเพนไนน์ ล้อมรอบโดยประเทศอิตาลี เป็นหนึ่งในจุลรัฐยุโรป

ประวัติศาสตร์

ตามตำนานแล้ว สาธารณรัฐซานมารีโนมีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึงพ.ศ. 844 โดยช่างหินชาวคริสต์คนหนึ่ง ชื่อว่ามารีนุส ได้หนีการตามล่าทางศาสนา มาหลบภัยและตั้งถิ่นฐานบริเวณมอนเตตีตาโน ซึ่งเป็นที่ตั้งของซานมารีโนในปัจจุบัน มารีนุสภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นนักบุญ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ (ซานมารีโน แปลว่านักบุญมารีนุส ในภาษาอิตาลี) ซานมารีโนถือเอาวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 844 เป็นวันก่อตั้งสาธารณรัฐ[1]

ซานมารีโนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้เกือบตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากตั้งอยู่บนภูเขาสูงยากแก่การเข้าถึง และความขาดแคลนทรัพยากร ในช่วงการรวมชาติอิตาลี ซานมารีโนได้เป็นที่ลี้ภัยของนักปฏิวัติที่สนับสนุนการรวมชาติ ทำให้ในเวลาต่อมา อิตาลีภายหลังการรวมชาติได้ลงนามสนธิสัญญายอมรับเอกราชของซานมารีโน

ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซานมารีโนประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 หลังจากที่อิตาลีประกาศสงครามในวันที่ 23 พฤษภาคม[2] ซานมารีโนเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรียุโรปในปีพ.ศ. 2531 และสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2535

การเมือง

ประเทศซานมารีโนมีการปกครองแบบสาธารณรัฐโดยสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกตัวแทนจากสภามาจำนวน 2 คน มาเป็นผู้สำเร็จราชการร่วม หรือประมุขของประเทศอยู่ในตำแหน่งวาระ 6 เดือน และสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกคณะรัฐบาล มาบริหารประเทศวาระละ 5 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตการปกครองของซานมารีโน

ซานมารีโนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เทศบาล ([castelli] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ซึ่งยังมีฐานะเป็นเมืองด้วย ได้แก่

เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐคือ โดกานา (Dogana) ซึ่งไม่ได้เป็นเทศบาลที่ปกครองตนเองแต่เป็นพื้นที่ของเทศบาลเมืองแซร์ราวัลเล

ภูมิศาสตร์

ซานมารีโนถูกล้อมรอบด้วยประเทศอิตาลี ภูมิประเทศส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาแอเพนไนน์ โดยจุดที่สูงที่สุดอยู่ที่มอนเตตีตาโน ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 755 เมตร[1] ซานมารีโนไม่มีพื้นน้ำสำคัญใดๆ ภูมิอากาศของซานมารีโนเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน

ประชากร

ซานมารีโนมีประชากรเกือบสามหมื่นคน โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีภาษาอิตาลีเป็นภาษาหลัก[1]

เศรษฐกิจ

ซานมารีโนไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่ก็ร่วมใช้สกุลเงินยูโร ก่อนหน้านั้น ลีราซานมารีโนเป็นสกุลเงินของซานมารีโน ซึ่งผูกค่าอัตราแลกเปลี่ยนไว้กับลีราอิตาลี มากกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีมาจากการท่องเที่ยว[3] อุตสาหกรรมอื่นของประเทศได้แก่การธนาคาร อิเล็กทรอนิกส์ และเซรามิก นอกจากนี้ซานมารีโนยังมีรายได้จากการขายสแตมป์อีกด้วย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 San Marino. เดอะเวิลด์แฟกต์บุก. (อังกฤษ)
  2. First World War.com - Feature Articles - Who Declared War and When (อังกฤษ)
  3. San Marino (11/98) (อังกฤษ)