ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวีตมัลเล็ต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
}}
}}


'''สวีตมัลเล็ต''' ({{lang-en|Sweet Mullet}}) เป็นวงร็อคไทยที่มาจากวงการเพลงใต้ดิน เริ่มมีชื่อเสียงหลังจากเข้าสู่ค่าย[[จีนี่ เรคคอร์ดส]]เมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยที่มีเพลง "ตอบ" เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น
[http://www.peoplesbiography.in/2018/05/wisconsin-child-tax-rebate-child-tax-rebate-2018.html '''สวีตมัลเล็ต''' (]{{lang-en|Sweet Mullet}}) เป็นวงร็อคไทยที่มาจากวงการเพลงใต้ดิน เริ่มมีชื่อเสียงหลังจากเข้าสู่ค่ายจีนี่ เรคคอร์ดสเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยที่มีเพลง "ตอบ" เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น


== สมาชิก ==
== สมาชิก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:55, 3 มิถุนายน 2561

สวีตมัลเล็ต
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร(ประทศไทย)
แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก, โพสต์ฮาร์ดคอร์, สกรีโม
ช่วงปี2546-ปัจจุบัน
ค่ายเพลงสครีมแล็บเรคคอร์ดส (2546)
จีนี่เรคคอร์ดส (2547–ปัจจุบัน)
สมาชิกดุลยเกียรติ เลิศสุวรรณกุล (เต๋า)
ประณัฐ ธรรมโกสิทธิ์ (แป๊บ)
นฤดม ตันทนานนท์ (อั๋น) (อดีตสมาชิก)
พิสุทธิ์ โล่ห์สีทอง (ตี่)
วิทวัส ภักดิ์แจ่มใส (หมู)
เว็บไซต์https://www.facebook.com/SweetMullet

สวีตมัลเล็ต (อังกฤษ: Sweet Mullet) เป็นวงร็อคไทยที่มาจากวงการเพลงใต้ดิน เริ่มมีชื่อเสียงหลังจากเข้าสู่ค่ายจีนี่ เรคคอร์ดสเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยที่มีเพลง "ตอบ" เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น

สมาชิก

ประวัติ

สวีตมัลเลตได้ออกผลงานอีพี Panaphobia ในปี พ.ศ. 2546 เป็นอัลบัมแรก ทำให้วงเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่คนฟังเพลงใต้ดิน อัลบัมนี้ทางวงได้ประพันธ์เพลงเอง ตลอดจนกระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายด้วย โดยจำหน่ายในคอนเสิร์ตที่วงได้เดินทางไปเล่นตามที่ต่าง ๆ ในขณะนั้นเพลงของวงสวีตมัลเล็ต ก็ได้เปิดทางคลื่นวิทยุ 104.5 Fat Radio ในช่วง Bedroom Studio ทำให้ชื่อของสวีตมัลเล็ต เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ในปีต่อมา ทางวงมีโอกาสได้เซ็นสัญญากับสังกัดจีนี่ เรคคอร์ดส โดยการชักชวนของดนัย ธงสินธุศักดิ์ (โน่) ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์อยู่ที่ค่ายจีนี่ เรคคอร์ดส โน่ให้ทางวงลองส่งแผ่นมาที่ค่ายดู หลังจากนั้นจึงได้รับการติดต่อกลับมา และทำให้มีโอกาสได้มาร่วมงานกับจีนี่ เรคคอร์ดส ในขณะเดียวกัน วงได้มีการแปลงผู้เล่นเบสจากกล้วยเป็นตี่ ซึ่งเคยเป็นสมาชิกยุคก่อตั้งวง

ในอัลบัม Showroom Vol.1 สังกัดจีนี่ เรคคอร์ดส ซึ่งเป็นอัลบัมรวมศิลปินหน้าใหม่ของค่ายจีนี่ เรคคอร์ดส วงสวีตมัลเล็ตได้ร่วมร้องเพลงเพลง "ตอบ" ขึ้นชาร์ต 1 ใน 10 เพลงยอดนิยมทางคลื่นวิทยุต่าง ๆ ทำให้ทางวงได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2548 วงสวีตมัลเล็ตได้รับเกียรติได้เล่นเป็นวงเปิดให้วงบอดี้สแลม ใน งานบอดีสแลมบีลีฟคอนเสิร์ต (อังกฤษ: Bodyslam Believe Concert) ที่ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี และสวีตมัลเล็ตได้มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกกันอีกครั้ง จากวีน ผู้เล่นกีตาร์ของวงซึ่งต้องการไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ เป็นแป๊บ มือกีตาร์คนปัจจุบัน

ปี 2550 เปิดก่อนออกอัลบัมเต็มด้วยการเป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ตของวง Retrospect ชื่องาน Retrospect The First Concert โดยขึ้นร่วมแสดงในเพลง ความฝันของเรา และได้แสดงเพลง หลอมละลาย เพลงของคนโง่ และไต่เย้ยนรก ออกสู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรก

"Light Heavyweight" เป็นผลงานอัลบัมเต็มชุดที่ 1 ของวง มีเพลงฮิตอย่าง "หลอมละลาย" "หลับข้ามวัน" "ไต่เย้ยนรก" และ "เพลงของคนโง่"

ปี 2552 เป็นแขกรับเชิญ ในคอนเสิร์ตของวง Potato ชื่องาน Potato The Real Life Concert ที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก

ปี 2553 เป็นวง Supporter Act ให้กับวงดนตรี Saosin ในงาน Saosin Live in Bangkok สถานที่ Butter butter รัชดาภิเษก โดยมีนักร้องนำวง SixCE ร่วมแสดงในเพลง ลั่น และทางวงได้มีผลงานอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 "Sound Of Silence" มีเพลงฮิตอย่าง "หัวใจที่หายไป" "สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน" "คมมีด" "พลังแสงอาทิตย์" "เหตุผลที่ยังหายใจ" และ "ภาพติดตา"

ปี 2557 มี คอนเสิร์ต Retrospect & Sweet Mullet VS The World เมืองไทย GMM Live House @ Central World // 14 ธันวาคม 2557 Special Guest - แจ๊ส ชวนชื่น, ว่าน วันวาน

ปี 2557 Sweet Mullet ได้ขึ้นคอนเสิร์ต Genie Fest 16 ปีแห่งความร็อก ณ ริมทะเลสาบเมืองทองธานี เล่นเพลง พลังแสงอาทิตย์,สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน,ฝากเลี้ยง,เอาให้ตาย(Faet.เอ๋ Ebola),ประเทือง

ปี 2561 Sweet Mullet ได้ขึ้นคอนเสิร์ต Genie Fest 19 ปีกว่าจะร็อกเท่าวันนี้ ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน

ผลงาน

  • Panaphobia EP (2546)
  1. Intro
  2. Yoda’s Attention
  3. Wedding Gift
  4. Cosmetica
  5. Outro
  6. Cosmetica (Acoustic Version)
  1. ตอบ
  • Light Heavyweight (2550)
  1. หลอมละลาย
  2. หลับข้ามวัน
  3. เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
  4. เพลงของคนโง่
  5. ไต่เย้ยนรก Feat. เอ๋ Ebola
  6. น้ำตา
  7. ไกลสุดไกล
  8. กลับมาอีกครั้ง
  9. ใต้แสงไฟ
  10. ลั่น
  11. ตอบ (Piano Version)
  • เต๋า นักร้องนำ ร่วมงานกับวง Potato ในเพลง ยื้อ ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง โลงต่อตาย (The Coffin) และบรรจุอยู่ในอัลบัม Circle ของวง Potato (2551)
  • Project PLAY (2552) ฉลองครบรอบ 25 ปี จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นำเพลงเก่าของศิลปินในสังกัดมาทำใหม่ โดยใช้กลุ่มศิลปินร็อกประจำค่ายชื่อดัง 12 กลุ่มมาเป็นผู้ถ่ายทอดดนตรีในรูปแบบของตัวเอง
  1. ฝากเลี้ยง (เพลงเก่าของ เจ เจตริน จำหน่ายเป็นลำดับที่ 3 ในโปรเจกต์ ต่อจาก No More Tear และ Zeal)
  • Sound of Silence (2553) จัดจำหน่ายครั้งแรกโดยการสั่งจองพร้อมเสื้อ Special Edition ทางเว็บ sweetmulletband.com แถลงข่าวเปิดตัวอัลบัม วันที่ 27 เมษายน 2553 สถานที่ร้าน Inch รัชดาภิเษก
  1. กับดัก
  2. สัญญาณ
  3. สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
  4. หัวใจที่หายไป
  5. คมมีด
  6. ภาพติดตา
  7. สงครามเย็น Feat Nappa Retrospect
  8. เหตุผลที่ยังหายใจ
  9. คอนเสิร์ตลืมโลก
  10. พลังแสงอาทิตย์
  11. Cold War Assassin Version by DJ.Blast Beats
  • หนังสั้น (2556)
  1. band of the dead
  1. ขอโทษในสิ่งที่เธอไม่รู้
  2. จะเป็นจะตาย
  3. เจ็บทุกลมหายใจ
  4. เผชิญ (Never Give Up) - เพลงพิเศษร่วมกับวง Retrospect สำหรับคอนเสิร์ต RTSM VS The World
  5. นิทานหลอกเด็ก
  6. ไม่ทิ้งกัน (TOGETHER) - เพลงพิเศษร่วมกับวง Retrospect สำหรับคอนเสิร์ต RTSM FEST : Revolution
  7. I (ไอ)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น