ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nefernebet (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox pharaoh|Reign=872–837 ปีก่อนคริสกตาล|PrenomenHiero=|Prenomen=ยูเซอร์มาอัตเร เซเตเพน...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:28, 29 มีนาคม 2561

ยูเซอร์มาอัตเร เซเตเพนอามุน โอซอร์คอนที่ 2 เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้า[1] ของราชวงศ์ที่ยี่สิบสองแห่งอียิปต์โบราณและเป็นพระราชโอรสชองฟาโรห์ทาเคลอตที่ 1 และสมเด็จพระราชินีคาเปส พระองค์ปกครองอียิปต์ระหว่าง 872 ถึง 837 ปีก่อนคริสตกาล โดยปกครองอยู่ที่เมืองทานิส ซึ่งเป็นเมืองหลวงประจำราชวงศ์นี้

หลังจากได้ครองราชย์ต่อจากพระบิดาชองพระองค์ ฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ได้เผชิญหน้ากับกฎการแข่งขันทางการเมืองของลูกพี่ลูกน้องนามว่า ฮาร์เซียเซ A ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองธีบส์และโอเอซิสทางตะวันตกของอียิปต์ พระองค์กลัวว่าผู้ปกครองฮาร์เซียเซ A จะทำการแย่งชิงอำนาจของพระองค์ แต่ฮาร์เซียเซ A สิ้นพระชนม์ใน 860 ปีก่อนคริสตกาล, จึงทำให้พระองค์มั่นใจว่าปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นอีกโดยการแต่งตั้งพระโอรสของพระองค์เองนามว่า นิมลอต C ให้เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งเทพอามุนที่เมืองธีบส์เพื่อที่จะรวบรวมอำนาจในอียิปต์บน จึงหมายความว่าพระองค์ทรงได้ปกครองทั่วทั้งอาณาจักรอียิปต์โบราณ ในช่วงรัชกาลของพระองค์จะเป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่และความรุ่งเรืองของอียิปต์

พระมเหสีและพระโอรส-ธิดา

ฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 เป็นที่รู้กันว่ามีพระมเหสีอย่างน้อยสามพระองค์:

  • ไอเซทเอมเคบ เป็นที่รู้จักว่าเป็นมารดาของสตรีนามว่า ทเจสบาสต์เพรู ซึ่งได้อภิเษกสมรสกับนักบวชชั้นสูงแห่งเทพพทาห์นามว่า ทาเคลอต B[2]
  • ดเจดมัตเอสอังค์ที่ 4 เป็นมารดาของนักบวชชั้นสุงแห่งเทพอามุนนามว่า นิมลอต C ซึ่งเป็นพระราชโอรสชองฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 และเป็นบิดาของทาเคลอต F/ทาเคลอตที่สอง
  • สมเด็จพระราชินี คาโรมามา เป็นที่รู้จักกันมากในบรรดาพระมเหสีของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาของพระโอรส 2 พระองค์และพระธิดา 3 พระองค์:[3][4]
    • เจ้าชาย โชเชงค์ D เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งเทพพทาห์
    • เจ้าชาย ฮอร์นัคท์ เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งเทพอามุนในเมืองทานิส[5] และหลังจากนั้นฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ได้เลื่อนขั้นให้เป็นหัวหน้านักบวชชั้นสูงแห่งเทพอามุนที่ทานิส เพื่อเสริมอำนาจปกครองของพระองค์ในอียิปต์ล่าง อย่างไรก็ตามเจ้าชายฮอร์นัคท์ก็สิ้นพระชนม์ในอายุที่ยังไม่ถึง 10 ปี[6]
    • เจ้าหญิง ทาชาเคเปอร์ ทำหน้าที่เป็นพระมเหสีแห่งอามุนในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ทาเคลอตที่สาม
    • เจ้าหญิงคาโรมามา C, อาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับพระนางคาโรมามา เมริตมัต ซึ่งทำหน้าที่เป็นพระมเหสีแห่งอามุน
    • เจ้าหญิง [ทา?]อิไอร์เมอร์

และนอกจากนี้พระโอรสและธิดาของฟาโรห์โอซอร์คอนได้รวมถึงผู็สืบทอดบัลลังก์นามว่า โชเชงค์ที่สาม และพระนางเทนต์เซเพ (D) เป็นภรรยาของพทาฮูดจ์อังค์เคฟ ซึ่งเป็นบุตรของนิมลอต C จึงทำให้มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2

หลุมฝังพระศพ

นักขุดค้นชาวฝรั่งเศสชื่อว่า ปิแอร์ มองเตต ได้ค้นพบหลุมฝังศพของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ที่ทานิส เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1939 เผยให้เห็นว่าฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ได้ถูกฝังอยู่ในโลงหินแกรนิตขนาดใหญ่ที่มีฝาปิดสลักจากรูปปั้น เพียงบางส่วนของโลงศพรูปเหยี่ยวและโถคาโนปิก ยังคงอยู่ในหลุมฝังศพที่เคยถูกปล้น[7] เครื่องประดับตกแต่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองในรัชสมัยของพระองค์[8]

อ้างอิง

  1. Osorkon (II) Usermaatre, Digital Egypt for Universities.
  2. Aidan Dodson & Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, 2004, ISBN 0-500-05128-3
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DH2
  4. Kitchen, The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC). 3rd ed. Warminster: Aris & Phillips Limited. 1996
  5. .Nos ancêtres de l'Antiquité, 1991. Christian Settipani, p.153 and 166
  6. Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Blackwell Books, 1992. p.325
  7. San el-Hagar
  8. Bob Brier, Egyptian Mummies: Unravelling the Secrets of an Ancient Art, William Morrow & Company Inc., New York, 1994. p.144