ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มูโรรัง"

พิกัด: 42°19′N 140°58′E / 42.317°N 140.967°E / 42.317; 140.967
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox City Japan |Name= มุโระรัง |JapaneseName= 室蘭 |settlement_type= เมือง |MapImage= Muroran in Hokkaido Prefecture Ja.svg |image_map1...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:37, 23 พฤษภาคม 2555

มุโระรัง

室蘭
เมือง
ธงของมุโระรัง
ธง
ที่ตั้งของมุโระรัง ใน ฮกไกโด (อิบุริ)
ที่ตั้งของมุโระรัง ใน ฮกไกโด (อิบุริ)
มุโระรังตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
มุโระรัง
มุโระรัง
 
พิกัด: 42°19′N 140°58′E / 42.317°N 140.967°E / 42.317; 140.967
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคฮกไกโด
จังหวัดฮกไกโด (อิบุริ)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีทะเกะชิ อะโอะยะมะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด80.65 ตร.กม. (31.14 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (29 กุมภาพันธ์ 2012)
 • ทั้งหมด93,716 คน
 • ความหนาแน่น1,162.01 คน/ตร.กม. (3,009.6 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
- ต้นไม้Japanese Rowan
- ดอกไม้Azalea
- นกCoal Tit
- ปลาRockfish
หมายเลขโทรศัพท์0143-22-1111
ที่อยู่1-2 Saiwaichō, Muroran-shi, Hokkaidō
051-8511
เว็บไซต์www.city.muroran.hokkaido.jp

มุโระรัง (ญี่ปุ่น: 室蘭市โรมาจิMuroran-shi) เป็นเมืองในประเทศญี่ปุ่น และเป็นเมืองท่าที่ตั้งอยู่ในกิ่งจังหวัดอิบุริ ในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น และจัดเป็นศูนย์กลางของกิ่งจังหวัดอิบุริ

ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 มุโระรังมีประชากรทั้งสิ้น 93,716 คน กับ 47,868 ครัวเรือน

ประวัติศาสตร์

ที่มาของชื่อ มุโระรัง นั้น กล่าวว่ามาจากศัพท์ไอนุ ที่ว่า โมะ รุเอะระนิ ซึ่งหมายถึง "ก้นของทางลาดขนาดย่อม" ซึ่งทางลาดที่ว่าอยู่ที่หน้าวัดเซ็งไกในอดีต ในเขตซะกิโมะริ

ในช่วงปลายขิงคริสตศตวรรษที่ 16 บริเวณมุโระรังนั้นถูกปกครองโดยตระกูล มะสึมะเอะ ซึ่งมุโระรังก็ได้ถูกพัฒนาเป็นที่มั่นทางการค้าระหว่างชาวไอนุและตระกูลมะสึมะเอะ

ในปี ค.ศ. 1892 มีการเปิดท่าเรือมุโระรังขึ้น เพื่อการก่อสร้างสะพานไม้ที่ไกงัง ในเวลาเดียวกัน ก็เริ่มมีการก่อสร้างถนนสายหลักจากซัปโปะโระ ซึ่งเป็นหนึ่งในการพัฒนาประเทศเพื่อให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

จากการเปิดเส้นทางการเดินเรือจากมุโระรังไปยังโมะริ และขยายทางรถไฟไปยัง อิวะมิซะวะ เทศบาลแห่งมุโระรังจึงได้ถูกก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1922 ตั้งแต่นั้นมามุโระรังได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเหล็ก แต่น่าเสียดายที่ในสงครามโลกครั้งที่สอง โรงงานอุตสาหกรรมของบางส่วนของเมืองได้รับผลจากการระดมยิงของเรือรบอเมริกัน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 ก่อนที่ในเดือนต่อมาญี่ปุ่นจะประกาศยอมแพ้สงคราม

ปัจจุบัน มุโระรังมีโรงงานปูนซีเมนต์ขนาดใหญ่, โรงงานเหล็ก, โรงกลั่นน้ำมันและอู่ต่อเรือมากมาย ที่กระจุกตัวอยู่ตามท่าต่างๆของเมือง

จุดที่น่าสนใจ

  • สะพานฮะกุโช สะพานแขวนที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น
  • หาดอิตังกิ

มุโระรังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามแปดสถานที่เฉพาะที่เรียกว่า มุโระรัง-ฮักเก (室蘭八景) หนึ่งในนั้นที่มีชื่อเสียงมาก คือ (ญี่ปุ่น: แหลมโลกโรมาจิ地球岬ทับศัพท์: ชิคิว มิซะกิ)

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของมุโระรัง (ค.ศ. 1981-2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.3
(32.5)
0.5
(32.9)
3.9
(39)
9.5
(49.1)
14.3
(57.7)
17.5
(63.5)
20.9
(69.6)
23.4
(74.1)
21.1
(70)
15.7
(60.3)
8.9
(48)
2.9
(37.2)
11.58
(52.84)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -4.2
(24.4)
-4.1
(24.6)
-1.5
(29.3)
2.9
(37.2)
7.2
(45)
11.5
(52.7)
15.8
(60.4)
18.5
(65.3)
15.4
(59.7)
9.6
(49.3)
3.3
(37.9)
-1.8
(28.8)
6.05
(42.89)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 54.9
(2.161)
43.0
(1.693)
48.2
(1.898)
75.1
(2.957)
101.3
(3.988)
107.5
(4.232)
165.1
(6.5)
192.8
(7.591)
164.4
(6.472)
93.0
(3.661)
75.2
(2.961)
64.4
(2.535)
1,184.9
(46.65)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 65
(25.6)
56
(22)
36
(14.2)
8
(3.1)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
8
(3.1)
38
(15)
211
(83.1)
ความชื้นร้อยละ 70 71 72 75 79 87 90 88 81 72 69 69 76.9
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 28.7 24.9 20.2 4.8 0.1 0.0 0.0 0.0 0.0 0.7 11.0 24.1 114.5
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 89.7 121.9 181.6 194.2 194.1 156.5 128.0 143.0 167.8 170.2 105.0 74.4 1,726.4
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

การเดินทาง

ข้อมูลเพิ่มเติม