ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชุมพร เทพพิทักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ciwat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
| ชมรมวิจารณ์บันเทิง =
| ชมรมวิจารณ์บันเทิง =
| เมขลา = นักแสดงประกอบชายมหานิยม ประจำปี [[พ.ศ. 2554]] - ''[[เงาพราย]]'' <ref>[http://www.dailynews.co.th/entertainment/16600 ณเดชน์-ชมพู่ คว้ารางวัลเมขลา จาก[[เดลินิวส์]]]</ref>
| เมขลา = นักแสดงประกอบชายมหานิยม ประจำปี [[พ.ศ. 2554]] - ''[[เงาพราย]]'' <ref>[http://www.dailynews.co.th/entertainment/16600 ณเดชน์-ชมพู่ คว้ารางวัลเมขลา จาก[[เดลินิวส์]]]</ref>
| เมขลา =
| imdb_id = 0992123
| imdb_id = 0992123
| thaifilmdb_id = 00181
| thaifilmdb_id = 00181
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
ปัจจุบัน ชุมพร เทพพิทักษ์ ยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ ผลงานในระยะหลังๆ อาทิ ''[[บางระจัน (ภาพยนตร์)|บางระจัน]]'' ([[พ.ศ. 2543]]), ''[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ]]'' ([[พ.ศ. 2550]]), ''[[รักสยามเท่าฟ้า]]'' ([[พ.ศ. 2551]]), ''[[2022 สึนามิ วันโลกสังหาร]]'' ([[พ.ศ. 2552]]) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ ''[[ธิดาวานร|ธิดาวานร 2]]'' (พ.ศ. 2552), ''[[เงาพราย]]'' (พ.ศ. 2554) เป็นต้น
ปัจจุบัน ชุมพร เทพพิทักษ์ ยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ ผลงานในระยะหลังๆ อาทิ ''[[บางระจัน (ภาพยนตร์)|บางระจัน]]'' ([[พ.ศ. 2543]]), ''[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ]]'' ([[พ.ศ. 2550]]), ''[[รักสยามเท่าฟ้า]]'' ([[พ.ศ. 2551]]), ''[[2022 สึนามิ วันโลกสังหาร]]'' ([[พ.ศ. 2552]]) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ ''[[ธิดาวานร|ธิดาวานร 2]]'' (พ.ศ. 2552), ''[[เงาพราย]]'' (พ.ศ. 2554) เป็นต้น


==รางวัล==
*รางวัลเมขลา สาขานักแสดงสมทบชายมหานิยมจากละครโทรทัศน์ เรื่อง เงาพราย จากงานประกาศรางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 ประจําปี พ.ศ. 2554
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:00, 11 มีนาคม 2555

ชุมพร เทพพิทักษ์
ไฟล์:Chumphorn Thepphithak.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิดพ.ศ. 2482
คมสัน เทพพิทักษ์
อาชีพนักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2507-ปัจจุบัน
พระสุรัสวดีผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2520 - แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู
เมขลานักแสดงประกอบชายมหานิยม ประจำปี พ.ศ. 2554 - เงาพราย [1]
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ชุมพร เทพพิทักษ์ (ชื่อเล่น: เดียร์) นักแสดงชาวไทยและอดีตผู้กำกับภาพยนตร์ มีชื่อจริงว่า คมสัน เทพพิทักษ์

เกิดที่จังหวัดชุมพรเมื่อปี พ.ศ. 2482 จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดขันเงินและโรงเรียนศรียาภัย จากนั้นก็เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย โดยพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกับ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ (อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2544) แต่ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่ออายุได้ 17 ปี ต้องโทษจำคุกด้วยคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน แต่ได้รับสารภาพ จึงได้รับการลดโทษให้เหลือ 25 ปี จากนั้นก็ได้รับการลดหย่อนโทษมาเรื่อย ๆ จนได้รับอิสรภาพในที่สุด ซึ่งในระหว่างต้องโทษอยู่นั้นได้อยู่ห้องขังเดียวกับ แคล้ว ธนิกุล [2]

เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกด้วยการเป็นนักแสดงในบทร้ายแทน ประจวบ ฤกษ์ยามดี นักแสดงในบทตัวร้ายไม่สบาย ด้วยความที่หน้าตาเหมือน จากการชักชวนของ ปริญญา ทัศนียกุล และ ลือชัย นฤนาท โดยมีผลงานครั้งแรกในเรื่อง คมแสนคม ในปี พ.ศ. 2507 จากนั้นก็ได้รับบทตัวร้ายมาโดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2511 ได้มีผลงานทางละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม, ช่อง 5 และช่อง 7 ในยุคที่ยังแพร่ภาพด้วยระบบขาวดำ ด้วยการพลิกบทบาทมารับบทเป็นพระเอกบ้าง ซึ่งก็ได้รับการวิจารณ์ในตอนต้นว่า คนดูจะรับได้หรือไม่กับการที่ผู้ร้ายในแบบภาพยนตร์ใหญ่ มารับบทพระเอกในแบบละครโทรทัศน์ ซึ่งก็ได้รับบทพระเอกแนวลูกทุ่งหรือแอ็คชั่น และถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร

จากนั้นจึงได้หันมากำกับภาพยนตร์ มีผลงานมากมาย อาทิ ถุยชีวิต (พ.ศ. 2521), นักสู้ภูธร ในปีเดียวกัน, ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก (พ.ศ. 2522) และที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลอื่น ๆ รวมทั้งหมด 5 รางวัล

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ มยุรี เทพพิทักษ์ (นามสกุลเดิม-ศรีสินธุ์อุไร) มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง คือ ศรราม เทพพิทักษ์

ปัจจุบัน ชุมพร เทพพิทักษ์ ยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ ผลงานในระยะหลังๆ อาทิ บางระจัน (พ.ศ. 2543), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2550), รักสยามเท่าฟ้า (พ.ศ. 2551), 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร (พ.ศ. 2552) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ ธิดาวานร 2 (พ.ศ. 2552), เงาพราย (พ.ศ. 2554) เป็นต้น

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น