ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกยุทธ อัญชันบุตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Iamion (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
|จำนวนหน้า=190
|จำนวนหน้า=190
}}
}}
<references />



{{เรียงลำดับ|อเกยุทธ อัญชันบุตร}}
{{เรียงลำดับ|อเกยุทธ อัญชันบุตร}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:34, 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไฟล์:เอกยุทธ อัญชันบุตร.jpg
เอกยุทธ อัญชันบุตร

นายเอกยุทธ อัญชันบุตร หรือ จอร์จ ตัน นักธุรกิจการเงินและอสังหาริมทรัพย์ เป็นเจ้าของเว็บไซต์ ไทยอินไซเดอร์ ซึ่งต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในอดีตเคยต้องคดีแชร์ชาร์เตอร์ และกบฏทหารนอกราชการ เมื่อ พ.ศ. 2528 และหลบคดีออกนอกประเทศ เพิ่งจะเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากคดีหมดอายุความแล้ว

เอกยุทธ อัญชันบุตร เกิดเมื่อ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2502 เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวน 5 คน ของ ร้อยโทแปลก อัญชันบุตร และนางนันทา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ศึกษาที่โรงเรียนแม้นศรีวิทยา โรงเรียนเทพประสาทวิทยา และเรียนไฮสกูลที่เมืองโอมาฮา มลรัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา กลับมาทำธุรกิจรับเหมาก่อก่อสร้างกับพี่ชาย และไปเรียนต่อด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน การคลังที่มหาวิทยาลัยแปซิฟิก ฮาวาย พร้อมประกาศไฟเขียวให้กลุ่มสตรีทั่วประเทศ ตอบโต้ และเข้าแจ้งความเอาผิด

เมื่อวันที่ 4พ.ย. ที่หอประชุมโรงเรียนสุรวิทยาคาร อ.เมือง จ.สุรินทร์ นางลัดดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ประธานเสียงสตรี พร้อมด้วยกลุ่มเสียงสตรีจากหลายจังหวัดและประธานเสียงสตรีภาคกลาง ได้ร่วมกันแถลงข่าวตอบโต้ กรณีที่นายเอกยุทธ อันชัญบุตร ได้พิมพ์ข้อความลงในเฟชบุ๊ค ซึ่งข้อความดังกล่าวถือเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของสตรีอย่างรุนแรง[1]


แชร์ชาร์เตอร์

เมื่อเรียนจบ เอกยุทธเริ่มทำธุรกิจซื้อขายคอมมอดิตี้ส์ และซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า จากนั้นจึงเปิดบริษัทนายหน้าซื้อขายคอมมอดิตี้ส์ และเงินตราต่างประเทศ ชื่อ ชาร์เตอร์อินเวสต์เมนต์ เมื่อ พ.ศ. 2525

เมื่อ พ.ศ. 2526 เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศสูง ถึง 12% เอกยุทธได้คิดหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย โดยกู้เงินจากต่างประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประมาณ 3% มาฝากในสถาบันการเงินในประเทศเพื่อทำกำไร และนำกำไรที่ได้ไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม

ไฟล์:เอกยุทธ อัญชันบุตร2.jpg
ประกาศจับ คดีฉ้อโกงประชาชน เมื่อ พ.ศ. 2527

บริษัทนายหน้าของเอกยุทธ ในระยะแรกมีเงินลงทุนจากนายทหาร และนักการเมืองเป็นจำนวนมาก เมื่อเริ่มมีชื่อเสียงจึงมีประชาชนทั่วไปนำเงินเข้ามาลงทุน และรุ่งเรืองที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2527 เมื่อประชาชนสมัยนั้นนิยมการลงทุนในเงินนอกระบบเช่น แชร์แม่ชม้อย แชร์แม่นกแก้ว และหันมาลงทุนกับ แชร์ชาร์เตอร์ เป็นทอดๆ

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2527 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยนายสมหมาย ฮุนตระกูล ประกาศลดค่าเงินบาท และออก พระราชบัญญัติการกู้ยืมเงิน อันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มีการดำเนินการทางกฎหมายกับนางชม้อย ทิพยโส หัวหน้าวงแชร์แม่ชม้อย และพันจ่าอากาศเอกหญิงนกแก้ว ใจยืน หัวหน้าวงแชร์แม่นกแก้ว

เอกยุทธเดินทางออกนอกประเทศหลังจากมีข่าวว่าทางการจะออกหมายจับ เมื่อ กลางปี พ.ศ. 2528 และเกิดความตื่นตระหนกขึ้นเมื่อมีนายทหารฟ้องคดีเช็คของเอกยุทธ ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และทำให้มีผู้เข้าร้องเรียนกับกองปราบเป็นจำนวนหลายพันคน ทางการประกาศอายัดทรัพย์สินของเอกยุทธ อัญชันบุตร บริษัท ชาร์เตอร์ และผู้ถือหุ้น เพื่อนำออกขายทอดตลาด

กบฏ 9 กันยายน 2528

ในระหว่างที่เอกยุทธ หลบคดีแชร์ชาร์เตอร์ อยู่ในประเทศเยอรมนี ก็ได้พบกับพันเอกมนูญ รูปขจร โดยการประสานงานกับกลุ่มผู้นำสหภาพแรงงาน และร่วมกันก่อการกบฏทหารนอกราชการ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 เพื่อล้มล้างรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แต่ไม่สำเร็จ ในเหตุการณ์ครั้งนี้ มีประชาชนเสียชีวิต 2 คน เป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศชาวอเมริกันและชาวออสเตรเลีย

หลังเหตุการณ์ เอกยุทธหลบหนีไปอยู่ที่เยอรมนี แล้วย้ายไป เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ และนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

จอร์จ ตัน

เอกยุทธ อัญชันบุตร หลบหนีออกจากประเทศไทย ไปที่มาเลเซีย และเดินทางต่อไปเยอรมนี เปลี่ยนชื่อเป็น จอร์จ ตัน และขอลี้ภัยการเมืองที่สวิตเซอร์แลนด์ จากนั้นจึงย้ายไปนิวยอร์ก และเริ่มทำธุรกิจในตลาดค้าหุ้นวอลล์สตรีท และทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันมีธุรกิจหลักอยู่ในลอนดอน และกัวลาลัมเปอร์

กลับมาเมืองไทย

เอกยุทธ อัญชันบุตร กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้งในกลางปี พ.ศ. 2547 เมื่อได้เข้าไปที่พรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับ นายอัมรินทร์ คอมันตร์ เพื่อเจรจาทางการเมืองซึ่งกล่าวกันว่า นายเอกยุทธพยายามจะให้เงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เพื่อใช้ในการโค่นล้มรัฐบาล แต่ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้แถลงข่าวปฏิเสธและไม่ได้รับเงินไว้ จากนั้น นายเอกยุทธได้ร่วมกับกลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์จัดปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นที่ท้องสนามหลวงในเดือนกันยายน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากผู้ร่วมชุมนุมมีไม่มากนัก จากนั้น นายเอกยุทธจึงได้ออกข่าวเป็นระยะ ๆ วิพากษ์และโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่อยมา และได้เปิดเว็บไซต์ส่วนตัว อีกทั้งในบางครั้งบางช่วงก็ได้วิพากษ์และโจมตี นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำผู้หนึ่งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย

เวบไซตส่วนตัว

http://akeyuth.name/mid2009/

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • ไพศาล มังกรไชยา, อัญชลี ไพรีรัก, เถกิง สมทรัพย์. ยุทธการล้มทักษิณ, ความคิด ชีวิตพิศดาร "เอกยุทธ อัญชัญบุตร" เจ้าพ่อแชร์ชาร์เตอร์. นนทบุรี : เบญจภาคี, พ.ศ. 2547. 190 หน้า. ISBN 974-92554-0-2
  1. http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=174110