ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารไทยพาณิชย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Scbemedia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Venezier (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ข้อมูลบริษัท
{{ข้อมูลบริษัท
| company_name = ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
| ชื่อ = ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
| company_logo = [[ไฟล์:SCB_2010Logo.png|280px]]
| ภาพ = [[ไฟล์:SCB_2010Logo.png|250px]]
| company_type = [[บริษัทมหาชน]] {{SET|SCB}}
| ประเภท = [[บริษัทมหาชน]] {{SET|SCB}}
| foundation = [[30 มกราคม]] [[พ.ศ. 2449]] (หากในกรณีสากลสมควรนับเป็นปี [[พ.ศ. 2450]])
| ก่อตั้ง = [[30 มกราคม]] [[พ.ศ. 2449]] (หากในกรณีสากลสมควรนับเป็นปี [[พ.ศ. 2450]])
| location = [[เอสซีบีพาร์กพลาซา]] เลขที่ 9 [[ถนนรัชดาภิเษก]] [[แขวงจตุจักร]] [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| ที่ตั้ง = [[เอสซีบีพาร์กพลาซา]] เลขที่ 9 [[ถนนรัชดาภิเษก]] [[แขวงจตุจักร]] [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| key_people = วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร<br/>กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่
| บุคลากรหลัก = [[กรรณิกา ชลิตอาภรณ์]] [[กรรมการผู้จัดการใหญ่]]
| บริการ = ธนาคาร
| industry =
| มูลค่าตลาด = {{รายได้ กำไร}}351,136.20 ล้านบาท (2553) <ref>http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=SCB&language=th&country=TH</ref>
| num_employees =
| รายได้ = {{รายได้ กำไร}}79,714.76 ล้านบาท (2553) <ref>http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=SCB&language=th&country=TH</ref>
| revenue =
| กำไร = {{รายได้ กำไร}}24,205.97 ล้านบาท (2553) <ref>http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=SCB&language=th&country=TH</ref>
| company_slogan = ไปด้วยกัน ไปได้ไกล
| ทรัพย์สิน = {{รายได้ กำไร}}1,476,763.79 ล้านบาท (2553) <ref>http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=SCB&language=th&country=TH</ref>
| homepage = [http://www.scb.co.th www.scb.co.th]
| หุ้น = 3,392,859,991 หุ้น (2553) <ref>http://www.settrade.com/C04_01_stock_quote_p1.jsp?txtSymbol=SCB&selectPage=1</ref>
| คำขวัญ = ไปด้วยกัน ไปได้ไกล
| เว็บไซต์ = http://www.scb.co.th
}}
}}


'''ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)''' ({{lang-en|Siam Commercial Bank Public Company Limited}}) เป็น[[ธนาคาร]]ไทยแห่งแรกในประเทศ ก่อตั้งโดยพระบรมราชานุญาตในปี [[พ.ศ. 2449]]
'''ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)''' ([[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย|SET]]:[http://marketdata.set.or.th/mkt/stockquotation.do?symbol=SCB&language=th&country=TH '''SCB''']) ({{lang-en|Siam Commercial Bank Public Company Limited}}) เป็น[[ธนาคาร]]ไทยแห่งแรกในประเทศ ก่อตั้งโดยพระบรมราชานุญาตในปี [[พ.ศ. 2449]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
บรรทัด 19: บรรทัด 22:


== ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ==
== ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ==
* พ.ศ. 2449 - ธนาคารฯ เปิดทำการ ในที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ [[อำเภอพระนคร]] [[จังหวัดพระนคร]]
* [[พ.ศ. 2449]] - ธนาคารฯ เปิดทำการ ในที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ [[อำเภอพระนคร]] [[จังหวัดพระนคร]]
* [[พ.ศ. 2453]] - ธนาคารฯ ย้ายสำนักงานไปยัง ตำบลตลาดน้อย [[อำเภอสัมพันธวงศ์]] จังหวัดพระนคร
* [[พ.ศ. 2453]] - ธนาคารฯ ย้ายสำนักงานไปยัง ตำบลตลาดน้อย [[อำเภอสัมพันธวงศ์]] จังหวัดพระนคร
* [[พ.ศ. 2455]] - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ [[16 ตุลาคม]]
* [[พ.ศ. 2455]] - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ [[16 ตุลาคม]]
บรรทัด 76: บรรทัด 79:
** [[บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด]] ผู้ร่วมก่อตั้ง [[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]]
** [[บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด]] ผู้ร่วมก่อตั้ง [[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]]


== กรรมการบริษัท <ref>http://www.settrade.com/C04_04_stock_boardofdirector_p1.jsp?txtSymbol=SCB&selectPage=4</ref>==
== ผู้บริหาร ==
* นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] นายกกรรมการ
*นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] นายกกรรมการ
* ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร
*นาย[[วิชิต สุรพงษ์ชัย]] ประธานกรรมการบริหาร
* นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่
*นาง[[กรรณิกา ชลิตอาภรณ์]] กรรมการผู้จัดการใหญ่

== ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ <ref>http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=SCB&selectPage=5</ref>==
{|class="wikitable"
|-style="background:gainsboro"
| ลำดับที่ || รายชื่อผู้ถือหุ้น || จำนวนหุ้นสามัญ || สัดส่วนการถือหุ้น
|-
| 1 || [[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] || 722,941,958 || 21.31%
|-
| 2 || กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) || 392,899,100 || 11.58%
|-
| 3 || กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) || 392,899,100 || 11.58%
|-
| 4 || Chase Nominees Limited 42 || 173,448,600 || 5.11%
|-
| 5 || [[บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด]] || 131,444,388 || 3.87%
|}


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
บรรทัด 85: บรรทัด 104:
* [http://www.thaibankmuseum.or.th พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย]
* [http://www.thaibankmuseum.or.th พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย]
* [http://www.scbfoundation.com มูลนิธิสยามกัมมาจล]
* [http://www.scbfoundation.com มูลนิธิสยามกัมมาจล]
* [https://www.scbeasy.com SCB Easy]
* [http://www.scbchallenge.com โครงการ กล้าใหม่...ใฝ่รู้]
* [http://www.scbchallenge.com โครงการ กล้าใหม่...ใฝ่รู้]

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}


{{ธนาคารไทย}}
{{ธนาคารไทย}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:40, 25 พฤษภาคม 2554

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:SCB
ISINTH0015010R16 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมธนาคารไทยพาณิชย์ Edit this on Wikidata
ก่อตั้ง30 มกราคม พ.ศ. 2449 (หากในกรณีสากลสมควรนับเป็นปี พ.ศ. 2450)
ผู้ก่อตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่เอสซีบีพาร์กพลาซา เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริการธนาคาร
พนักงาน
20,000 (พ.ศ. 2552) Edit this on Wikidata
เว็บไซต์http://www.scb.co.th

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SET:SCB) (อังกฤษ: Siam Commercial Bank Public Company Limited) เป็นธนาคารไทยแห่งแรกในประเทศ ก่อตั้งโดยพระบรมราชานุญาตในปี พ.ศ. 2449

ประวัติ

กิจการของธนาคารเริ่มต้นขึ้นในนาม “บุคคลัภย์” (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ก่อตั้งโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เนื่องจากขณะนั้นทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็น ต้องมีระบบการเงินธนาคาร เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ หลังจากบุคคลัภย์ขยายตัวทางธุรกิจขึ้นเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานอำนาจพิเศษ ให้จัดตั้ง “บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด” เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ นับแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

  • พ.ศ. 2449 - ธนาคารฯ เปิดทำการ ในที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
  • พ.ศ. 2453 - ธนาคารฯ ย้ายสำนักงานไปยัง ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร
  • พ.ศ. 2455 - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2463 - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ในส่วนภูมิภาค คือสาขาทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็นอาคารคลังพัสดุ ในย่านสถานีชุมทางทุ่งสง) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม
  • พ.ศ. 2470 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สอง คือสาขาเชียงใหม่ ข้างโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ซึ่งอยู่หน้าสถานีรถไฟเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม
  • พ.ศ. 2473 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สาม คือสาขาลำปาง จังหวัดลำปาง นับเป็นสาขาภูมิภาคที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งยังคงให้บริการในที่ทำการเดิมมาจนถึงทุกวันนี้
  • พ.ศ. 2476 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสาขาเชียงใหม่ เข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2482 - ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาไทย จากแบงก์สยามกัมมาจล เป็นธนาคารไทยพาณิชย์ และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก The Siam Commercial Bank, Limited เป็น The Thai Commercial Bank, Limited ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม เป็นต้นไป
  • พ.ศ. 2485 - ธนาคารฯ แต่งตั้ง นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ชาวไทยคนแรก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
  • พ.ศ. 2486 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สี่ คือสาขานครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้บริการพ่อค้าประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พ.ศ. 2489 - ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ กลับมาเป็น The Siam Commercial Bank, Limited
  • พ.ศ. 2505 - ธนาคารฯ เริ่มใช้เครื่องลงบัญชีเดินสะพัด โพสต์-โทรนิก ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่นับว่าทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2516 - ธนาคารฯ เริ่มรับพนักงานสตรีเข้าปฏิบัติงานเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2525 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการฝากและถอนต่างสาขา กับบัญชีเงินฝากครบทุกประเภท เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2526 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการเงินด่วน ด้วยเครื่องเอทีเอ็ม เป็นครั้งแรก และแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม เป็นต้นไป
  • พ.ศ. 2531 - ธนาคารฯ มีปริมาณสินทรัพย์รวม 103,298.1 ล้านบาท เมื่อถึงสิ้นปีดังกล่าว
  • พ.ศ. 25322535 - ธนาคารฯ ได้รับรางวัล "ธนาคารแห่งปี" (Bank of the Year) จากนิตยสารการเงินธนาคาร เป็นเวลา 4 ปีซ้อน ในฐานะที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทย ที่มีผลงานโดดเด่นอย่างรอบด้าน รวมทั้งการขยายตัวของธนาคารฯ และการเตรียมพร้อมรองรับความเจริญในอนาคต
  • พ.ศ. 2536 - ธนาคารฯ เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และชื่อภาษาอังกฤษว่า Siam Commercial Bank Public Company Limited
  • พ.ศ. 2539 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่ จากถนนชิดลม ไปยังอาคารเอสซีบีพาร์กพลาซา บนถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม เป็นต้นไป
  • พ.ศ. 2541-2542 "ก้าวกล้าฝ่ามรสุม" - สืบเนื่องจากวิกฤตทางการเงินในเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2540 ส่งผลต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจไทยโดยรวม ที่ซบเซาลงอย่างหนัก และการดำเนินมาตรการที่เข้มงวด ตามกรอบนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารฯ จึงต้องรับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นับเป็นยุควิกฤตของธนาคารฯ เนื่องจากมีปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ทางธนาคารฯ จึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ด้วยความพยายามรักษาระดับของเงินกองทุนให้เพียงพอ, การปรับปรุงโครงสร้างหนี้, การปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารฯ ตลอดจนตัดทอนค่าใช้จ่ายต่างๆ ร่วมกับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ด้วยการเพิ่มทุน ซึ่งล้วนแต่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทั้งการเสนอขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นเดิม, แก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ และการออกหุ้นกู้ ซึ่งถือเป็นการขายหุ้นเพิ่มทุน ครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยวารสารการเงินหลายฉบับ กล่าวขวัญว่า เป็นข้อตกลงที่ควรพิจารณาแห่งปีของเอเชีย ซึ่งมาตรการทั้งหมดนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากพนักงานของธนาคารฯ เป็นอย่างดียิ่ง
  • พ.ศ. 2549 - ธนาคารฯ มีปริมาณสินทรัพย์เป็นอันดับที่สาม มูลค่าเกินหนึ่งล้านล้านบาท โดยมีมูลค่าตลาดรวม เพิ่มสูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ตลอดจนมีจำนวนสาขา และเครื่องเอทีเอ็มทั่วประเทศ มากที่สุดในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2553 - ธนาคารฯ ปรับปรุงอัตลักษณ์และตราของธนาคาร ให้มีความเรียบง่ายและทันสมัยมากขึ้น และเปิดดำเนินกิจการจนครบหนึ่งพันสาขา โดยสาขาที่ 1,000 ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดที่ทำการ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม[ต้องการอ้างอิง]

กิจการในเครือ

ไฟล์:Scb headoffice.jpg
อาคารสำนักงานใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์

กรรมการบริษัท [6]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ [7]

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 722,941,958 21.31%
2 กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 392,899,100 11.58%
3 กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 392,899,100 11.58%
4 Chase Nominees Limited 42 173,448,600 5.11%
5 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 131,444,388 3.87%

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง