ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 71: บรรทัด 71:


=== ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ===
=== ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ===
หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จไปเยือนกรุง[[ปารีส]] ทรงพบกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำ[[ฝรั่งเศส]] เป็นครั้งแรก<ref>{{cite web |year=1988 |url=http://www.asiasource.org/society/bhumiboladulyadej.cfm |title=Bhumibol Adulyadej |work=The Encyclopedia of Asian History the Asia Society 1988. |publisher=Asia Source |accessdate=2007-09-25}}</ref> โดยที่ตอนนั้นทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุเพียง 21 และ 15 พรรษาตามลำดับ
ระหว่างประทับในต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ [[3 ตุลาคม|3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2491|พ.ศ. 2491]] ได้เข้ารักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลในเมืองโลซาน โดย ม.ร.ว. สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเยี่ยมเป็นประจำจนหายประชวร นับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองพระองค์ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด<ref>{{cite web |url = http://srinai.tripod.com/guide/King.html |title = A Royal Romance |publisher = Srinai Tripod.com|accessdate = 2006-07-12}}</ref><ref name="BKP">{{cite web | date = [[December 5]], [[2005]] |url = http://www.bangkokpost.net/60yrsthrone/60yrsthrone/index.html |title = The Making of a Monarch |publisher = Bangkok Post |accessdate = 2006-07-12}}</ref><ref>Handley, Paul M. (2006). [[The King Never Smiles]]. Yale University Press, Page 104. ISBN 0-300-10682-3.</ref>

ในระหว่างประทับในต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ [[3 ตุลาคม|3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2491|พ.ศ. 2491]] ขณะที่พระองค์ทรงขับรถเฟียส ทอปอลิโน จาก[[เจนีวา]]ไปยัง[[โลซาน]] ก็ได้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้เข้ารักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลในเมืองโลซาน โดย ม.ร.ว. สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเยี่ยมเป็นประจำจนหายประชวร นับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองพระองค์ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด<ref>{{cite web |url = http://srinai.tripod.com/guide/King.html |title = A Royal Romance |publisher = Srinai Tripod.com|accessdate = 2006-07-12}}</ref><ref name="BKP">{{cite web | date = [[December 5]], [[2005]] |url = http://www.bangkokpost.net/60yrsthrone/60yrsthrone/index.html |title = The Making of a Monarch |publisher = Bangkok Post |accessdate = 2006-07-12}}</ref><ref>Handley, Paul M. (2006). [[The King Never Smiles]]. Yale University Press, Page 104. ISBN 0-300-10682-3.</ref>


=== พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ===
=== พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:55, 20 พฤศจิกายน 2551

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ไฟล์:Bhumibol Adulyadej.jpg
ประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย
ครองราชย์9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(ปัจจุบัน 62 ปี)
ราชาภิเษก5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
รัชกาลก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ประสูติ5 ธันวาคม พ.ศ. 2470
วันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก
พระบรมราชินีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชบุตร- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
วัดประจำรัชกาล
วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย
พระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบรมราชชนกสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบรมราชชนนีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงปัจจุบัน ทรงพระสถานะเป็นประมุขแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีสถิติว่าพระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐที่มีพระชนมชีพอยู่และทรงอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลก[1] และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติได้นานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยด้วยเช่นกัน[2]

พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระภัทรมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง" ต่อมาได้มีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช" เมื่อ พ.ศ. 2530 และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช" อนึ่ง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง" บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่

มีรายงานข่าวว่าพระองค์ทรงเป้นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ด้วยการมีทรัพย์สินถึง 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

ความหมายของพระนาม

  • ปรมินทร(า) - มาจากการสนธิระหว่าง "ปรมา + อินทร์" หมายความว่า "ผู้ยิ่งใหญ่"
  • ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
  • อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"[4]

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

ไฟล์:800px-Mahidols-1938.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ขวา) สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี (กลาง) และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงฉายใน พ.ศ. 2481 โดยสามารถเห็นผู้ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ได้ในกระจกด้านหลัง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เหตุที่มีพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น

ทั้งนี้ ใกล้สถานที่พระบรมราชสมภพ มีจัตุรัสแห่งหนึ่งซึ่งนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ขอพระราชทานพระนามว่า “จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช” (King Bhumibol Adulyadej Square) เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเคมบริดจ์และโรงพยาบาลอันเป็นที่พระราชสมภพ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จไปทรงรับมอบการอุทิศจัตุรัสแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2533 ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายแผ่นจารึกพระราชประวัติ ณ ที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535[5]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"[6][7]

พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน [6][8]

ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า "Bhumibala" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น "Bhumibol"[6]

เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา

การศึกษา

พ.ศ. 2477 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์" (ฝ. École Nouvelle de la Suisse Romande, เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์) เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน ฝ. Chailly-sur-Lausanne)

พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง[9]

เสด็จขึ้นครองราชย์

ดูบทความหลักที่ เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน[10] สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ

การตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศไทยและคนไทยคลายความโศกเศร้า จากการที่ต้องเสียพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเท่านั้น แต่ยังทำให้ประเทศไทยได้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ที่ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ที่จะอุทิศพระวรกายและพระราชหฤทัยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน[11]

ไฟล์:Chut-king.jpg
ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า จะทรงครองราชสมบัติเฉพาะในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียมพระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเ สด็จพระราชดำเนินไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"[12] เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจว่าต่อมาอีกประมาณ 20 ปี ขณะทรงเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด ทรงได้พบชายผู้ร้องตะโกนคนนั้น ชายผู้นั้นกราบบังคมทูลว่า ที่เขาร้องตะโกนออกไปเช่นนั้นเพราะรู้สึกว้าเหว่และใจหาย เขาเห็นพระพักตร์เศร้ามาก จึงร้องไปเหมือนคนบ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า "นั่นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา"[13]

ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์

หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จไปเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก[14] โดยที่ตอนนั้นทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุเพียง 21 และ 15 พรรษาตามลำดับ

ในระหว่างประทับในต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ขณะที่พระองค์ทรงขับรถเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ก็ได้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้เข้ารักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลในเมืองโลซาน โดย ม.ร.ว. สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเยี่ยมเป็นประจำจนหายประชวร นับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองพระองค์ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด[15][16][17]

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

ดูบทความหลักที่ พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ในรัชกาลที่ 9

ไฟล์:Portrait bhumibol sirikit.jpg
ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ในวันราชาภิเษกสมรส

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ดูบทความหลักที่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" และในโอกาสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี[18]

ทรงผนวช

ดูบทความหลักที่ พระราชพิธีทรงผนวช ในรัชกาลที่ 9

ไฟล์:ทรงผนวช.jpg
ทรงรับบาตร ขณะทรงผนวช

เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น

เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ

ดูบทความหลักที่ พระราชกรณียกิจทรงเยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ ในรัชกาลที่ 9

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภูมิภาค (คือ ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออก และ ภาคใต้) และทุกจังหวัดในประเทศไทย เพื่อทรงศึกษาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร เพื่อทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์อย่างแท้จริง

เสด็จฯ เยือนต่างประเทศ

ดูบทความหลักที่ พระราชกรณียกิจทรงเยือนต่างประเทศ ในรัชกาลที่ 9

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศทั่วโลก ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปออสเตรเลีย จำนวนถึง 27 ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรี กับบรรดามิตรประเทศทั้งหลาย รวมถึงได้ทรงนำความปรารถนาดีของชาวไทย ไปมอบให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ เหล่านั้นด้วย

พระราชบุตร

ไฟล์:20060612-134536-King-60th.jpg
(จากทางขวา) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยกันสี่พระองค์ตามลำดับดังต่อไปนี้

  1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: 5 เมษายน 2494, สถานพยาบาลมงต์ชัวซี เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อทรงสมรสกับนายปีเตอร์ เจนเซ่น ชาวอเมริกัน โดยมีพระโอรสหนึ่งองค์และพระธิดาสององค์ ทั้งนี้ คำว่า "ทูลกระหม่อมหญิง" เป็นคำเรียกพระราชวงศ์ที่มีพระชนนีเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
  2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร; ประสูติ: 28 กรกฎาคม 2495, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ นางสุจาริณี วิวัชรวงศ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ ตามลำดับ โดยมีพระโอรสหนึ่งพระองค์และสี่องค์ กับพระธิดาสองพระองค์
  3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์; ประสูติ: 2 เมษายน 2498, พระที่นั่งอัมพรสถาน)
  4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (ประสูติ: 4 กรกฎาคม 2500, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน โดยมีพระธิดาสองพระองค์

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 คุณพุ่ม เจนเซ่น พระโอรสของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสียชีวิตจากคลื่นสึนามิ ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547[19]

บทบาทการเมืองไทย

ดูบทความหลักที่ พระราชอำนาจทางการเมือง ในรัชกาลที่ 9 (เนื้อหาเหมือนกัน)

สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเป็นช่วงที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น จอมพลแปลกมีแนวคิดชาตินิยมอย่างรุนแรง และประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยมีความเจริญเสมอนานารยประเทศ จอมพลแปลกในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีจึงมีนโยบาย "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" โดยพยายามชูบทบาทของตนเองให้โดดเด่นกว่าพระมหากษัตริย์ และ ไม่สนับสนุนให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และควบคุมการใช้จ่ายของพระมหากษัตริย์[20]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและจอมพลแปลกเองมีเรื่องกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในโอกาสฉลองพุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500[21][22] รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์เสด็จมาทรงเป็นประธานซึ่งก็ทรงตอบรับเป็นที่เรียบร้อย แต่ครั้นถึงวันงานทรงพระประชวรปัจจุบันทันด่วน ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเป็นประธานเปิดพิธีเอง และในเดือนสิงหาคมของปีดังกล่าว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาโจมตีรัฐบาลของจอมพลแปลกว่าละเมิดพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งข่าวการระหองระแหงกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและงรัฐบาลดังกล่าว ทำให้สาธารณะเริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากขึ้น[20] [23]

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลแปลกได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อขอให้ทรงสนับสนุนรัฐบาล[24] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเตือนจอมพลแปลกว่าขอให้ลาออกจากตำแหน่งเสียเพื่อมิให้เกิดรัฐประหาร แต่จอมพลแปลกปฏิเสธ[25] เย็นวันดังกล่าว จอมพลสฤษฎดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทันที และสองชั่วโมงหลังจากการประกาศยึดอำนาจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร[26] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการฉบับหลังมีความว่า[27]

สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

สมัยจอมพลถนอม กิติขจร

สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

สมัยพฤษภาทมิฬ

ไฟล์:200535.jpg
โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ถ่ายทอดสดการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทของพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
ดูบทความเพิ่มเติมที่ พฤษภาทมิฬ

รัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) อันมี พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้า ในวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2534 ทำให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่ "วงจรอุบาทว์" อีกครั้ง[28] ซึ่งภายหลังจากที่ รสช. ได้จัดให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปแล้ว พรรคการเมืองที่มีจำนวนผู้แทนราษฎรมากที่สุดคือพรรคสามัคคีธรรม จำนวนเจ็ดสิบเก้าคน ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนราษฎรมากที่สุดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่านางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แถลงว่า นายณรงค์เป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด[29]

ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อพลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้ซึ่งเคยกล่าวจะไม่สืบทอดอำนาจและไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ อีกภายหลังจากที่ รสช. พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว โดยพลเอกสุจินดาแถลงว่า ตนจำเป็นต้อง "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ขณะเดียวกันก็มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าไม่เป็นประชาธิไตย

การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดานำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน โดยมีร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม เป็นแกนนำ ซึ่งรัฐบาลของพลเอกสุจินดาได้สั่งให้ปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงโดดเฉียบขาด กลายเป็นเหตุการณ์นองเลือดในที่สุด[30]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการให้เรียกพลเอกสุจินดาและพลตรีจำลองเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายทอดการนี้สดด้วย

ในเหตุการณ์ถ่ายทอดสด นายทหารทั้งสองคุกเข่าลงนั่งกับพื้นในระดับต่ำกว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รับพระราชทานพระราโชวาทให้ยุติการนองเลือดและให้เร่งฟื้นฟูปรกติภาวะโดยเร็ว จากนั้น พลเอกสุจินดากราบบังคมทูลพระกรุณาขอลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นายกรัฐมนตรีแทน เพื่อให้อำนวยการการเลือกตั้งทั่วไปในโอกาสข้างหน้า[30]

สมัยการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2549

ไฟล์:King CDRM L.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานสภาองคมนตรี และ รัฐบุรุษ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อเวลา 00.19 น. วันพุธที่ 20 กันยายนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต[31]

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อันมีพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้สึกรู้รักสามัคคีของ คนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ประชาชนส่วนหนึ่งเคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ อย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหา และ อุปสรรค หลายประการ แม้หลายภาคส่วนของสังคม จะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์ มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้[32]

เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (อักษรย่อ CDRM) ต่อมาได้ตัดคำว่า under Constitutional Monarchy ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น Council for Democratic Reform (อักษรย่อ CDR) โดยยังคงใช้ชื่อภาษาไทยตามเดิม [33]

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดย หัวหน้า คปค. ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภา และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

หลังจากนั้นจึงได้แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี[32]

พระราชอำนาจ

พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่นโดยสังเขป

เขื่อนภูมิพล
ดูบทความหลักที่ พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงเป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย[34]

พระเกียรติยศ

ไฟล์:ภปร.gif
ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและเกียรติยศต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากบุคคลและคณะบุคคลในประเทศและต่างประเทศ อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจและพระราชอัธยาศัยในการแสวงหาความรู้ ที่สำคัญเป็นต้นว่า

ชีวิตส่วนพระองค์

สุขภาพ

ดนตรี

การเล่นเรือใบ

ความยุติธรรม

พระราชทรัพย์

พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น โดยแบ่งออกได้เป็นส่วนๆ โดยสังเขป คือทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์สินของส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[36] และได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[37] บริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคลภายใต้ชื่อ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น โดยปัจจุบันมีผู้เช่าที่ดินทั่วประเทศมากกว่า 3 หมื่นสัญญา [37] โดยแปลงสำคัญ ๆ ประกอบด้วย ที่ดินโรงแรมโฟร์ซีซั่น ที่ดินสยามพารากอน ที่ดินเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ที่ดินองค์การสะพานปลา และ ที่ดินริมถนนพระรามที่ 4 ฝั่งเหนือ จากสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ยาวจรด ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้บริษัทซีบีริชาร์ดเอลลิส บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ที่ 32,500 ไร่ (13,000 เอเคอร์) โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่ [38] ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย โดยถ้านับรวมทั้งหมด หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 7.5% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหุ้นไทย [38] ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร Forbes ให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[39] อย่างไรก็ตาม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ชี้แจงถึงกรณีนี้ว่า "บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่า ทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริง มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่น ที่บทความเดียวกันนี้ไม่ได้จัดอันดับฐานะความร่ำรวย เพราะทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่ใช่ของกษัตริย์ หากแต่เป็นของคนทั้งชาติ"[36]

ทรัพย์สินส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เอง โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) 43.87% บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18.56% บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 2.04% [40] [41] [42] เป็นต้น ทรัพย์สินส่วนพระองค์นี้ยังหมายรวมถึง เงินทูลเกล้าถวายฯ ตามพระราชอัธยาศัยต่างๆ ซึ่งทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นไม่ได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี และต้องเสียภาษีอากรตามปกติ[37]

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชชนก:
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระอัยกาฝ่ายพระราชชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระราชชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระราชชนก:
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระปัยกาฝ่ายพระราชชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชชนก:
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
พระราชชนนี:
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระอัยกาฝ่ายพระราชชนนี:
พระชนกชู
พระปัยกาฝ่ายพระราชชนนี:
คหบดี (ชุ่ม)
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชชนนี:
ไม่ทราบนาม
พระอัยยิกาฝ่ายพระราชชนนี:
พระชนนีคำ
พระปัยกาฝ่ายพระราชชนนี:
ไม่ทราบนาม
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชชนนี:
ผา

ดูเพิ่ม

แหล่งอ้างอิงและเชิงอรรถ

  1. สถิติดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก สมเด็จพระราชาธิบดีมาลีเอตัว ตานุมาฟิลิ ที่ 2 แห่ง รัฐเอกราชซามัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550
  2. "A Royal Occasion speeches". Worldhop.com Journal. 1996. สืบค้นเมื่อ 2006-07-05.
  3. Forbes, The World's Richest Royals, 11 August 2008
  4. Kanchanapisek.or.th (อังกฤษ)
  5. ศาสตราจารย์ประภาศรี สีหอำไพ, พระคือพลังแผ่นดิน ณ "King Bhumibol Adulyadej Square", สกุลไทย (11 พฤษภาคม 2547).
  6. 6.0 6.1 6.2 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์. กรุงเทพ : ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549. 450 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7047-55-1
  7. "The Illustrious Chakri Family". Tudtu. สืบค้นเมื่อ 2006-08-13.
  8. Wimuttanon, Suvit (ed.) (2001). Amazing Thailand (special collector's edition). World Class Publishing. pp. Page 33. ISBN 974-91020-3-7. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  9. "Biography of His Majesty King Bhumibol Adulyadej". The Golden Jubilee Network. Kanchanapisek Network. 1999. สืบค้นเมื่อ 2006-08-05.
  10. Asia Biography:Bhumibol Adulyadej (อังกฤษ)
  11. Bhirom Bhakdi, Soravij. "Queens of the Chakri Dynasty". สืบค้นเมื่อ 2006-08-01.
  12. ภปร., พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2511, ไม่มีเลขหน้า.
  13. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, "เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์", วงวรรณคดี (สิงหาคม 2490).
  14. "Bhumibol Adulyadej". The Encyclopedia of Asian History the Asia Society 1988. Asia Source. 1988. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25.
  15. "A Royal Romance". Srinai Tripod.com. สืบค้นเมื่อ 2006-07-12.
  16. "The Making of a Monarch". Bangkok Post. December 5, 2005. สืบค้นเมื่อ 2006-07-12. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. Handley, Paul M. (2006). The King Never Smiles. Yale University Press, Page 104. ISBN 0-300-10682-3.
  18. "Royal Power Controversy". 2Bangkok.com. สืบค้นเมื่อ 2007-01-04.
  19. "Khun Poom Jensen, Son of Princess Ubolratana". Soravij.com. สืบค้นเมื่อ 2007-11-24.
  20. 20.0 20.1 นรนิติ เศรษฐบุตร, บรรณาธิการ. (2549). การเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
  21. Handley, Paul M. (2006). The King Never Smiles. Yale University Press. pp. Page 129–130, 136–137. ISBN 0-300-10682-3.
  22. Thak Chaloemtiarana (1979). Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. Social Science Association of Thailand. pp. Page 98.
  23. Thak Chaloemtiarana (1979). Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. Social Science Association of Thailand, Page 98. (อังกฤษ)
  24. Suwannathat-Pian, Kobkua (1995). Thailand's Durable Premier. Oxford University Press. pp. Page 30. ISBN 967-65-3053-0.
  25. Suwannathat-Pian, Kobkua (1995). Thailand's Durable Premier. Oxford University Press, Page 30. ISBN 967-65-3053-0. (อังกฤษ)
  26. พระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกษาทั่วราชอาณาจักร. (2500, 16 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 74, ตอน 76). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/2.PDF. (4 มิถุนายน 2551).
  27. พระบรมราชโองการตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร. (2500, 16 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 74, ตอนพิเศษ 76 ก). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/1.PDF. (4 มิถุนายน 2551).
  28. กล่าวคือ มีการรัฐประหาร การยกเลิกรัฐธรรมนูญ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเลือกตั้งทั่วไป การจัดตั้งรัฐบาล และวกกลับเข้าสู่การรัฐประหาร การยกเลิกรัฐธรรมนูญ การ... วนไปเช่นเดิม
  29. "Development Without Harmony". Southeast Asian Ministers of Education Organization. 2000. สืบค้นเมื่อ 2007-09-26.
  30. 30.0 30.1 "BIOGRAPHY of Chamlong Srimuang". The 1992 Ramon Magsaysay Award for Government Service. Ramon Magsaysay Award Foundation. 2000. สืบค้นเมื่อ 2007-09-26.
  31. "Coup as it unfolds". The Nation. September 20, 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  32. 32.0 32.1 McGeown, Kate (September 21, 2006). "Thai king remains centre stage". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "kate" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  33. http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30014778
  34. Chitbundid, Chanida (2003). /2546_ANTH.htm "The Royally-initiated Projects: The Making of Royal Hegemony (B.E. 2494–2546)". Thammasat University. สืบค้นเมื่อ 2006-07-06. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  35. "With new Human Development award, Annan hails Thai King as example for the world". UN News Center. 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-07-05.
  36. 36.0 36.1 บทความพิเศษของนิตยสาร Forbes เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด จาก เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
  37. 37.0 37.1 37.2 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (www.crownproperty.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  38. 38.0 38.1 Thai King Strengthens Grip on Stocks as Nation's No. 1 Investor (www.bloomberg.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  39. The World's Richest Royals. No. 5, King Bhumibol Adulyadej (www.forbes.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  40. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) : SAMCO (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  41. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : TIC (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  42. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : MINT (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  • ธนากิต, พระราชประวัติ 9 รัชกาลและพระบรมราชินี, สุวีริยาสาส์น, 2542, หน้า 383-427.
  • วิเชียร เกษประทุม, ราชาศัพท์และพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมพระราชวงศ์ โดยสังเขป, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา, 2546, หน้า 147-157.
  • พระเจ้าอยู่หัว, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2530.

แหล่งข้อมูลอื่น


รัชสมัยก่อนหน้า:
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระมหากษัตริย์ไทย
ราชวงศ์จักรี พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน


แม่แบบ:Link FA