เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต
เกิด13 มีนาคม ค.ศ. 1825(1825-03-13)
เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต15 มีนาคม ค.ศ. 1898(1898-03-15) (73 ปี)
ประเทศนิวซีแลนด์
สัญชาตินิวซีแลนด์
คู่สมรสเอลิซาเบท นิวแมน
บุตร7 คน
ผลงานสำคัญมหาวิหารไครสต์เชิร์ช
อาคารสภาจังหวัดแคนเทอร์เบอรี

เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต (อังกฤษ: Benjamin Mountfort; 13 มีนาคม ค.ศ. 1825 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1898) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษที่ย้ายถิ่นฐานมายังนิวซีแลนด์ โดยเขาถือเป็นหนึ่งในสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศนี้ในศตวรรษที่ 19 เขาเป็นผู้มีบทบาท มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและอัตลักษณ์อันโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมของเมืองไครสต์เชิร์ช และได้รับการแต่งตั้งเป็นสถาปนิกท้องถิ่นคนแรกอย่างเป็นทางการในด้านการพัฒนาให้กับแคว้นแคนเทอร์เบอรี ตัวเขาเองได้รับอิทธิพลหลักปรัชญานิกายแองโกล-คาทอลิกเป็นอย่างมาก รองมาจากสถาปัตยกรรมวิกตอเรียช่วงแรก ผลงานการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกทั้งงานไม้และหินในแคว้นถือว่าได้สร้างเอกลักษณ์แก่นิวซีแลนด์ ปัจจุบันถือได้ว่าเขาเป็นสถาปนิกผู้หล่อหลอมให้กับแคว้นแคนเทอร์เบอรี

ชีวิตช่วงแรก[แก้]

เมานต์ฟอร์ตเกิดในเบอร์มิงแฮม เมืองอุตสาหกรรมในภาคมิดแลนส์ของอังกฤษ เป็นบุตรของผู้ทำน้ำหอมและพ่อค้าเพชรพลอย นามว่า ทอมัส เมานต์ฟอร์ต มีภรรยาชื่อ ซูซานนา (สกุลเดิม วูลฟีลด์) ในวัยหนุ่มเขาย้ายมายังลอนดอน เป็นศิษย์ของจอร์จ กิลเบิร์ต สกอตต์ในช่วงแรก (ตั้งแต่ปี 1841–46) เขายังศึกษาด้านสถาปัตยกรรมกับสถาปนิกแองโกล-คาทอลิก[1] นามว่า ริชาร์ด ครอมเวลล์ คาร์เพนเตอร์ที่รูปแบบการออกแบบแบบกอทิกยุคกลางได้มีอิทธิพลต่อเมานต์ฟอร์ตมาโดยตลอดชีพ[2] หลังสิ้นสุดการฝึกฝนในปี 1848 เมานต์ฟอร์ตปฏิบัติงานด้านสถาปัตยกรรมที่ลอนดอน เขาสมรสกับเอมิลี เอลิซาเบท นิวแมน เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1850 หลังจากนั้นอีก 18 วัน ทั้งคู่ได้ย้ายถิ่นฐานมายังนิวซีแลนด์[3] ทั้งคู่เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานคนแรก ๆ ในแคนเทอร์เบอรี มาถึงโดยเรือสี่ลำแรกที่ชื่อ ชาร์ลอตต์เจน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1850[4] ผู้ตั้งถิ่นฐานคนแรก ๆ นี้ เรียกว่า "เดอะพิลกริมส์" (The Pilgrims; นักเดินทาง)[5] ชื่อของพวกเขาเหล่านี้ถูกสลักลงบนหินสลักทำจากหินอ่อนที่คาทีดรอลสแควร์ในไครสต์เชิร์ช ที่เมานต์ฟอร์ตช่วยออกแบบ[6]

นิวซีแลนด์[แก้]

วิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี ออกแบบโดยเบนจามิน เมานต์ฟอร์ตในปี 1877 มีจุดเด่นคือหอนาฬิกากลาง ในรูปแบบของโถงยุคกลาง ที่อยู่ทางด้านขวา
เดอะเกรตฮอลล์ของวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี

เมานต์ฟอร์ตถึงแคนเทอร์เบอรีพร้อมด้วยความมุ่งมั่นและมุ่งหมาย โดยเริ่มการออกแบบในปี 1850 พร้อมกับหนึ่งในคลื่นผู้ตั้งรกรากที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษให้มาตั้งรกรากในอาณานิคมใหม่ในนิวซีแลนด์ [7][8] เขามากับภรรยาจากอังกฤษ พร้อมด้วยพี่น้อง ชาลส์, ซูซานนาห์ และภรรยาของชาลส์ ทั้งห้าคนอายุระหว่าง 21 ถึง 26 ปี ชีวิตในช่วงแรกนั้นยากเข็ญและน่าผิดหวัง เมานต์ฟอร์ตพบว่ามีความต้องการสถาปนิกอยู่บ้าง ไครสต์เชิร์ชมีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้านใหญ่เล็กน้อยที่มีกระท่อมไม้ทั่วไปบนที่ราบลมพัดแรง ชีวิตทางด้านสถาปัตยกรรมของผู้อพยพใหม่ในนิวซีแลนด์เริ่มต้นด้วยหายนะ งานแรกที่ได้รับผิดชอบในนิวซีแลนด์คือ โบสถ์โมสต์โฮลีทรินิตีในลิตเทลตัน ก่อสร้างในปี 1852 โดยไอแซก ลัก[9][10] อาคารนี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อลมแรงและถือว่าไม่ปลอดภัย อาคารถูกรื้อถอนในปี 1857[9] หายนะครั้งนี้น่าจะเกิดจากการใช้ไม้ซึ่งไม่เหมาะกับฤดูกาลและเขายังขาดความรู้ในการใช้วัสดุก่อสร้างท้องถิ่น แต่อะไรก็ตามที่เป็นสาเหตุ ผลคือได้ทำลายชื่อเสียงของเขา[4] หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเรียกเขาว่า "...สถาปนิกที่ได้รับการศึกษาครึ่ง ๆ กลาง ๆ โดยอาคารเหล่านี้ไม่ได้ให้อะไรเลยนอกจากความถูกใจ เห็นได้ชัดว่าเขาขาดความรู้พื้นฐานการก่อสร้างทั้งสิ้นทั้งปวง หรือแม้แต่เป็นช่างเขียนแบบที่ชาญฉลาดหรือชายผู้มีประสบการณ์มาบ้าง"[2]

จากที่เขาเสียชื่อเสียง เขาจึงเริ่มเปิดร้านเครื่องเขียน ทำงานเป็นพนักงานหนังสือพิมพ์ ช่างภาพเชิงพาณิชย์[11] และเขายังเรียนเขียนแบบจนกระทั่งปี 1857 เพื่อเป็นส่วนเสริมงานด้านสถาปัตยกรรม[4] ในช่วงนี้เอง ทางด้านสถาปัตยกรรม เขาได้พัฒนาความสนใจที่มีมาโดยตลอดชีวิตและยังได้เพิ่มรายได้ที่เขาขาดโดยการถ่ายภาพบุคคลให้กับเพื่อนบ้าน[12]

เมานต์ฟอร์ตเป็นฟรีเมสัน และเป็นสมาชิกลำดับแรก ๆ ของลอดจ์ออฟอันเอนิมิตี[13] ซึ่งเป็นอาคารหลังสำคัญที่เขาออกแบบในปี 1863[14][15] ลอดจ์ออฟอันเอนิมิตีเป็นลอดจ์เมสันแรกในเกาะใต้[16]

กลับมาทำงานสถาปัตยกรรม[แก้]

ในปี 1857 เขากลับมาทำงานด้านสถาปัตยกรรมและมีหุ้นส่วนธุรกิจกับสามีใหม่ของน้องสาว ซูซานนาห์ ที่ชื่อ ไอแซก ลัก เมานต์ฟอร์ตมีแรงกระตุ้นด้านการงาน เมื่อเขาได้รับมอบหมายให้ออกแบบโบสถ์เซนต์จอนส์แองกลิคันที่ไวคูไอตี (Waikouaiti) ในโอทาโก เป็นโครงสร้างไม้เล็ก ๆ ในรูปแบบกอทิก สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 1858 โดยผู้บริจาคที่ดินคือ จอห์นนี โจนส์ อดีตนักล่าวาฬ ยังคงมีการใช้งานเป็นโบสถ์อยู่ ยังถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในเกาะใต้ของนิวซีแลนด์[17]

เมืองไครสต์เชิร์ชได้อยู่ในการพัฒนาอย่างมากในช่วงเวลานั้น ด้วยความที่เพิ่งได้รับสถานะเป็นนคร และยังเป็นเมืองหลักในการปกครองแห่งใหม่ของจังหวัดไครสต์เชิร์ช เป็นเหตุให้เมานต์ฟอร์ตและลัก มีโอกาสอย่างมากในการปฏิบัติงานช่าง ในปี 1855 พวกเขาร่างแบบอาคารสภาจังหวัดแคนเทอร์เบอรีที่ทำจากไม้ อาคารก่อสร้างระหว่างปี 1857–59 แต่รูปร่างอาคารก็ถูกจำกัดไม่พ้นแบบดั้งเดิม เมื่อสภาจังหวัดมีหน้าที่ใหม่เพิ่ม ทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรและเศรษฐกิจของจังหวัด จึงได้มีการขยับขยายอาคารให้ใหญ่ขึ้นในส่วนปีกทางทิศเหนือที่ทำจากหินและหอคอยเหล็ก ในระหว่างปี 1859–60 และยังขยายห้องสภาที่ทำจากหินและห้องเครื่องดื่มระหว่างปี 1864–65[12][18] ในปัจจุบันอาคารแห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่สำคัญที่สุดของเมานต์ฟอร์ต[4]

จากภายนอก อาคารมีความเรียบง่ายดั่งผลงานในยุคแรก ๆ ของเมานต์ฟอร์ต กล่าวคือ หอคอยกลางสร้างความโดดเด่น มีปีกจั่วด้านข้างทั้งสอง ในรูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก[19] อย่างไรก็ดี ภายในมีสีสันที่สนุกสนานและคตินิยมสมัยกลางที่สามารถรับรู้ผ่านดวงตาวิกตอเรีย ที่มีการใช้หน้าต่างงานกระจกสีและนาฬิกาเรือนใหญ่สองหน้า คาดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในห้าของโลกที่มีอยู่ ห้องยังตกแต่งอย่างมั่งคั่ง เกือบจะเป็นรูปแบบรัสกินที่มีงานแกะสลักจากประติมากรท้องถิ่น วิลเลียม แบรสซิงตัน รวมถึงงานแกะสลักของชนพื้นเมืองนิวซีแลนด์[20]

สถาปัตยกรรมกอทิก[แก้]

โบสถ์เซนต์ออกัสตินในไวเมต สถาปัตยกรรมรูปแบบกอทิกที่ทำจากไม้ออกแบบโดยเมานต์ฟอร์ตในปี 1872 มีหอระฆังแบบโบสถ์ยุคกลางที่ย่อส่วนลงมา ถัดมาคือหลังคาของชาโต มีซุ้มประตูแบบโบสถ์ประจำเขตแพริชของอังกฤษ เมื่อรวมกันทั้งหมดสร้างความกลมกลืนให้กับทัศนียภาพของนิวซีแลนด์

รูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นการตอบโต้ต่อศิลปะจินตนิยมที่มีรูปแบบความคลาสสิกและทางการมากกว่า ซึ่งมีอิทธิพลในสองศตวรรษก่อนหน้านี้[21] เมานต์ฟอร์ตในวัย 16 ปี ได้รับหนังสือสองเล่มที่แต่งโดยผู้ปลุกศรัทธากอทิกขึ้นใหม่ ออกัสตัส พิวจิน คือหนังสือ The True Principles of Christian or Pointed Architecture และ An Apology for the Revival of Christian Architecture หลังจากนั้นเมานต์ฟอร์ตก็เป็นสาวกค่านิยมสถาปัตยกรรมแองโกล-คาทอลิกแบบพิวจิน[22] ค่านิยมเหล่านี้ก็มากขึ้นเมื่อปี 1846 ตอนเขาอายุ 21 ปี เมานต์ฟอร์ตเป็นศิษย์ของริชาร์ด ครอมเวลล์ คาร์เพนเทอร์[4]

คาร์เพนเทอร์มีความเหมือนกับเมานต์ฟอร์ตตรงที่มีความศรัทธาแองโกล-คาทอลิกและเห็นด้วยกับทฤษฎีลัทธิแทร็กทาเรียนิสม์และด้วยวิธีการเคลื่อนไหวแบบออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์[23] การเคลื่อนไหวด้านเทววิทยาเชิงอนุรักษ์นิยมเหล่านี้ได้สอนว่า จิตวิญญาณที่แท้จริงและการมีสมาธิในการอธิษฐานมีผลต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพและโบสถ์ยุคกลางมีความเป็นจิตวิญญาณมากกว่าต้นศตวรรษที่ 19 เป็นผลให้สถาปัตยกรรมยุคกลางเทวนิยมเป็นที่รับรู้กันว่ามีคุณค่าทางจิตวิญญาณมากกว่าสถาปัตยกรรมที่ยึดแบบปัลลาดีโอในช่วงศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19[24] แม้ออกัสตัส พิวจินยังแถลงว่าสถาปัตยกรรมยุคกลางเป็นรูปแบบเดียวที่เหมาะสมกับโบสถ์และแบบปัลลาดีโอเกือบจะผิดจารีต ทฤษฎีเช่นนี้ไม่ได้มีผลบังคับต่อสถาปนิกและยังคงมีมาอย่างโดยดีจนเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 โรงเรียนด้านความคิดเหล่านี้ได้ชักนำผู้รู้อย่างเช่น กวีชาวอังกฤษ เอซรา พาวด์ให้พึงพอใจอาคารสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์มากกว่าสถาปัตยกรรมบาโรกบนพื้นฐานที่ต่อมาได้เป็นสัญลักษณ์ของการละทิ้งโลกแห่งความชัดเจนทางปัญญาและแสงสว่างต่อคุณค่าโดยยึดจากแนวคิดเรื่องนรกและยังเพิ่มการมีอำนาจแก่สังคมนายธนาคาร ผู้ที่เคยถูกดูแคลน[25]

อะไรก็ตามที่อยู่เบื้องหลังสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ในลอนดอน กลุ่มผู้ปกครองแห่งจักรวรรดิบริติชในศตวรรษที่ 19 รู้สึกว่าสถาปัตยกรรมกอทิกมีความเหมาะสมกับอาณานิคมเพราะได้แสดงความหมายอันโดดเด่นของแองกลิคัน แสดงให้เห็นถึงการทำงานหนัก จรรยา และการเปลี่ยนความเชื่อของชนพื้นเมือง[26] มีการเหน็บแนมว่างานโบสถ์หลายงานของเมานต์ฟอร์ตเป็นโบสถ์สำหรับโรมันคาทอลิก ด้วยที่มีผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่จำนวนมากเป็นชาวไอริชดั้งเดิม[27] สำหรับช่างก่อสร้างชนชั้นกลางของจักรวรรดิ รูปแบบกอทิกทำให้ย้อนรำลึกถึงความหลังถึงเขตศาสนาเมื่อเขาละทิ้งอังกฤษ ด้วยความที่เป็นสถาปัตยกรรมยุคกลางที่แท้จริง สิ่งนี้ทำให้พวกเขาเหล่านี้เลือกสถาปนิกและการออกแบบ[28]

งานแบบกอทิกของเมานต์ฟอร์ตในช่วงแรกในนิวซีแลนด์มีความเคร่งครัดในลักษณะของแองกลิคันมากกว่า อันเนื่องจากเขาทำตามคาร์เพนเทอร์ มีองค์ประกอบหน้าต่างช่องรูปใบหอกสูงและมีหลังคาหน้าจั่วจำนวนมาก[29] เมื่อการงานเขาก้าวหน้า เขาได้พิสูจน์ตัวเองต่อฝ่ายบริหารที่จ้างเขา ผลงานการออกแบบของเขาได้พัฒนาให้มีรูปแบบยุโรปมากขึ้น โดยมีหอนาฬิกา หอคอย และเส้นหลังคาประดับตกแต่งทรงสูงแบบฝรั่งเศส รวมถึงรูปแบบที่ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของเมานต์ฟอร์ตแต่แนวทางเดียวกับสถาปนิกอย่างเช่น อัลเฟรด วอเทอร์เฮาส์ จากอังกฤษ[30]

ด้านฝีมือของเมานต์ฟอร์ตในฐานะสถาปนิก เขาได้ปรับให้เข้ากับรูปแบบความหรูหราให้เหมาะกับวัสดุที่มีจำกัดที่หาได้ในนิวซีแลนด์[12] ในขณะที่โบสถ์ไม้ทั่วไปนั้นเต็มไปด้วยองค์ประกอบบางอย่างแบบอเมริกัน มีการออกแบบด้วยความเรียบง่ายคลาสสิก ในทางตรงกันข้ามโบสถ์ไม้ของเมานต์ฟอร์ตในนิวซีแลนด์นั้นมีการประดับประดาเพ้อฝันแบบกอทิก เฉกเช่นที่เขาออกแบบในงานหิน อาจเป็นไปได้ว่าความหรูหราในงานเขานั้นสามารถอธิบายได้จากคำแถลงที่เป็นทางการที่เขาและผู้ร่วมงาน ลัก ได้เขียนไว้เพื่อประมูลชนะเมื่อการออกแบบทำเนียบรัฐบาลในออกแลนด์เมื่อปี 1857

ตามที่เราเห็นสิ่งก่อสร้างตามธรรมชาติ ภูเขาและเนินเขา ที่ไม่ได้มีกรอบเส้นสม่ำเสมอแต่มีความหลากหลาย ทั้งค้ำยัน กำแพง และหอคอย ที่ผิดแผกต่อกันซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ยังสร้างระดับชั้นผลกระทบให้ต่างจากผลงานอื่น ได้หล่อหลอมกฎเกณฑ์ของเส้นกรอบ การศึกษาง่าย ๆ เกี่ยวกับต้นโอ๊กหรือต้นเอล์ม มีความเพียงพอที่พิสูจน์ทฤษฎีความสม่ำเสมอได้ว่าผิด[31]

สถาปนิกประจำจังหวัด[แก้]

การก่อสร้างมหาวิหารไครสต์เชิร์ชออกแบบโดยจอร์จ กิลเบิร์ต สกอตต์ อำนวยการโดยเบนจามิน เมานต์ฟอร์ตที่ออกแบบยอดแหลมอาคาร
มหาวิหารไครสต์เชิร์ชสร้างเสร็จในปี 1904 จนในปี 2011 เกิดแผ่นดินไหวและยอดแหลมอาคารพังทลายลงมา ส่วนอาคารยังคงไม่เปลี่ยนแปลงแทบทั้งหมด

ในฐานะ "สถาปนิกประจำจังหวัด" ตำแหน่งใหม่ที่ตั้งขึ้นมาซึ่งเมานต์ฟอร์ตได้รับการแต่งตั้งในปี 1864[32] เมานต์ฟอร์ตได้ออกแบบโบสถ์ไม้ให้แก่ชุมชนโรมันคาทอลิกของเมืองไครสต์เชิร์ช โบสถ์ไม้นี้ต่อมามีการสร้างให้ใหญ่ขึ้นหลายครั้งจนเป็นมหาวิหาร (cathedral)[4] จนในปี 1901 ได้มีการแทนที่โดยมหาวิหารแห่งเบลสด์แซเครเมนต์ (Cathedral of the Blessed Sacrament) อาคารที่สร้างจากหินที่ดูคงทนกว่าเดิม ออกแบบโดยสถาปนิก แฟรงก์ ปีเตอร์เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกโดยยังคงเก็บรักษาอาคารของเมานต์ฟอร์ตไว้อยู่[33] งานของเมานต์ฟอร์ตมักเป็นไม้ วัสดุที่เขาไม่คิดว่าเป็นอุปสรรคต่อรูปแบบกอทิก[34] แม้เขาจะฉีกรูปแบบการเคารพต่ออาคารแบบกอทิกที่มักสร้างจากหินและปูน[35] ระหว่างปี 1869 ถึง 1882 เขาออกแบบพิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรีและต่อมาออกแบบวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีและหอนาฬิกาในปี 1877[4]

อาคารวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีซึ่งต่อมาคือมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี เริ่มต้นก่อสร้างจากหอนาฬิกา อาคารนี้เปิดเมื่อปี 1877 ถือเป็นการสร้างมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายแห่งแรกของนิวซีแลนด์ วิทยาลัยสร้างเสร็จเป็นสองส่วนภายในในรูปแบบปกติของกอทิกแบบเมานต์ฟอร์ต[4]

จอร์จ กิลเบิร์ต สกอตต์ สถาปนิกออกแบบมหาวิหารไครสต์เชิร์ช ผู้เป็นครูของเมานต์ฟอร์ตและเป็นช่างไม้ที่ปรึกษา อยากให้เมานต์ฟอร์ตเป็นผู้ตรวจงานและสถาปนิกผู้ดูแลโครงการมหาวิหารแห่งใหม่[22] ข้อเสนอนี้ เดิมทีคณะกรรมการมหาวิทหารไม่เห็นด้วย[2] อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากความล่าช้าในงานอาคารจากปัญหาด้านการเงิน ท้ายสุดตำแหน่งสถาปนิกดูแลโครงการก็ตกเป็นของเมานต์ฟอร์ตในปี 1873 เมานต์ฟอร์ตดูแลการดัดแปลงงานออกแบบของสถาปนิกที่ขาดหายไป ที่เห็นได้มากที่สุดคือหอสูงและมุขทางเข้าทิศตะวันตก เขายังได้ออกแบบอ่างล้างบาป อนุสรณ์ฮาร์เพอร์ และมุขทางเข้าทิศเหนือ[12] มหาวิทยานี้สร้างไม่เสร็จจนกระทั่งปี 1904 หกปีหลังจากที่เมานต์ฟอร์ตเสียชีวิต มหาวิหารมีรูปแบบการตกแต่งแบบกอทิกยุโรปเป็นอย่างมาก ด้วยมีหอระฆังอยู่ข้างมหาวิหาร แทนที่จะเป็นหออยู่ด้านบนเหมือนธรรมเนียมนิยมอังกฤษ[36]

ปี 1872 เมานต์ฟอร์ตได้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งแคนเทอร์เบอรีแอสโซซิเอชันออฟอาร์คิเทกส์ กลุ่มคนที่ดูแลการพัฒนาเมืองใหม่ที่ตามมาหลังจากนี้ ถือเป็นจุดสูงสุดของอาชีพเขา[21] เมานต์ฟอร์ตยังมีชื่อเสียงจากการปรับเปลี่ยนการใช้ช่องโค้งน้อยกว่าครึ่งวงกลมมากกว่าช่องโค้งในรูปแบบโรมาเนสก์ (ออกัสตัส พิวจินถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของรูปแบบกอทิก) ยังมีความท้าทายในการทำโถงใหญ่ที่จะสร้างเสร็จในปี 1882 และได้กลายมาเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในไครสต์เชิร์ช[37] นอกจากนี้รายละเอียดที่เป็นไปไม่ได้จากงานครั้งก่อนก็ปรากฏให้เห็นในการออกแบบโถงเนื่องจากมีการระดมทุนครั้งใหญ่ให้แก่วิทยาลัย การสร้างเสร็จในขั้นแรกได้รับเสียงชื่นชม แม้การขยายพื้นที่อย่างเช่น ห้องปฏิบัติการชีววิทยาในเพิ่มเข้าไปในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1890[38] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 เมานต์ฟอร์ตได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาปนิกชั้นนำด้านโบสถ์คริสต์ของนิวซีแลนด์ โดยมีชื่อในการออกแบบโบสถ์มากกว่า 40 แห่ง

พิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรี ออกแบบโดยเบนจามิน เมานต์ฟอร์ต สร้างเสร็จปี 1882 ในรูปแบบชาโตฝรั่งเศส

ในปี 1888 เขาออกแบบมหาวิหารเซนต์จอห์นในเนเพียร์[4] อาคารที่ทำจากอิฐนี้ได้ถูกรื้อถอนในภัยพิบัติแผ่นดินไหวในปี 1931 ที่ทำลายเมืองเนเพียร์ไปอย่างมาก[39] ระหว่างปี 1886 ถึง 1897 เมานต์ฟอร์ตได้ทำงานหนึ่งในโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุด คือมหาวิหารเซนต์แมรีที่ทำจากไม้ มหาวิทยาแห่งเมืองออกแลนด์ ครอบคลุมพื้นที่ 9,000 ตารางฟุต (840 ตารางเมตร) เซนต์แมรีเป็นโบสถ์ไม้ซุงที่ใหญ่ที่สุดและเป็นหลังสุดท้ายที่สร้างโดยเมานต์ฟอร์ต[40] และยังถือเป็นโบสถ์ไม้กอทิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก[4] หลังสร้างเสร็จ ได้รับการพูดถึงว่า "ในด้านการออกแบบ มีความสมบูรณ์และสวยงาม อยู่ในระดับสูงแต่ยังไม่เท่ากับระดับมุขมณฑล" การให้ความสำคัญกับตำแหน่งหลังคาอันกว้างขวางโดยหน้าต่างช่องทางด้านอันยิ่งใหญ่ทำให้เกิดสมดุลกับพื้นที่โอบล้อมอันกว้างขวางของโบสถ์ ในปี 1892 โบสถ์ทั้งหลังได้สร้างเสร็จโดยมีหน้าต่างงานกระจกสี โดยโบสถ์ถูกย้ายไปยังที่แห่งใหม่ตรงข้ามถนนของสถานที่เดิมเป็นโบสถ์แห่งใหม่ โบสถ์เซนต์แมรีที่รับการสถาปนาในปี 1898 ถือเป็นผลงานใหญ่ชิ้นสุดท้ายของเมานต์ฟอร์ต[41]

นอกเหนือจากด้านการทำงานแล้ว เมานต์ฟอร์ตมีความสนใจด้านศิลปะและเป็นศิลปินผู้มีพรสวรรค์ แม้งานด้านศิลปะจะปรากฏว่าอยู่ในขอบเขตของสถาปัตยกรรม เขายังเป็นสมาชิกคริสตจักรแห่งอังกฤษและเป็นสมาชิกสภาโบสถ์แองกลิคันและคณะกรรมการมุขมณฑล[42]

บั้นปลายชีวิตของเมานต์ฟอร์ต มีเรื่องไม่พอใจจากตำแหน่งในฐานะสถาปนิกประจำจังหวัดคนแรก เขาถูกโจมตีจากคนรุ่นใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ เบนจามิน เมานต์ฟอร์ตเสียชีวิตเมื่อปี 1898 สิริอายุได้ 73 ปี ศพถูกฝังที่สุสานตรีเอกภาพแอวอนไซด์ โบสถ์ที่เขาต่อเติมในปี 1879[4][12]

มรดก[แก้]

อาคารสภาจังหวัดแคนเทอร์เบอรี หนึ่งในผลงานแรกสุดในรูปแบบกอทิกของนิวซีแลนด์ นี่ถือเป็นรูปแบบที่เป็นตราสินค้าของเขา

เมื่อประเมินผลงานของเมานต์ฟอร์ตในปัจจุบัน ไม่ควรตัดสินจากภูมิหลังที่ดูคล้ายการออกแบบในยุโรป ในคริสต์ทศวรรษ 1960 นิวซีแลนด์เป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งวัสดุและทรัพยากรที่มีมากมายในยุโรปแต่ที่นี่กลับไม่ปรากฏ หากมีก็มักจะด้อยกว่า เมานต์ฟอร์ดได้ค้นพบไม้ซึ่งไม่เหมาะกับฤดูกาลซึ่งก่อให้เกิดหายนะในโครงการแรกของเขา อาคารแรกของเขานั้นสร้างขึ้นในภูมิลำเนาใหม่นี้ก็มักจะสูงเกินไป หรือไม่ก็มีระดับชันเกินไป ไม่คำนึงถึงภูมิอากาศที่ไม่ใช่ยุโรป รวมถึงภูมิประเทศ อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ได้ดัดแปลงและพัฒนาทักษะการทำงานด้วยวัสดุหยาบ ๆ[12]

โรงพยาบาลบ้าซันนีไซด์ในไครสต์เชิร์ช สร้างเสร็จปี 1891 ถือเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นสุดท้ายของเมานต์ฟอร์ต ออกแบบลักษณะกอทิก มีหน้าต่างบานใหญ่ ก่อให้เกิดลมแบบคฤหาสน์ชนบท มากกว่าจะปิดทึบ

ไครสต์เชิร์ชและสภาพแวดล้อมที่มีเอกลักษณ์ของนิวซีแลนด์ในด้านรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมกอทิก ที่สามารถแสดงลักษณะเฉพาะของเบนจามิน เมานต์ฟอร์ตได้ทันทีทันใด ขณะที่เมานต์ฟอร์ตรับผิดชอบงานอาคารพักอาศัยเล็ก ๆ ซึ่งในปัจจุบันเขาเป็นที่รู้จักในด้านงานออกแบบงานสาธารณะ อาคารของรัฐ และโบสถ์ อาคารของรัฐที่สำคัญแบบกอทิกที่ทำจากหินในไครสต์เชิร์ช ประสบความสำเร็จอย่างน่าประหลาดใจจากการใช้วัสดุอันขัดสน โบสถ์หลายแห่งอันโดดเด่นของเขา ที่สร้างจากไม้ รูปแบบกอทิก ในปัจจุบันเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของแคนเทอร์เบอรีในศตวรรษที่ 19 อาคารเหล่านี้ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของทัศนียภาพ ด้วยเหตุนี้ความสำเร็จของเมานต์ฟอร์ตนี้ ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมในทำนองเดียวกัน โดยสร้างอัตลักษณ์ให้แก่แคนเทอร์เบอรี[29] หลังจากที่เขาเสียชีวิต ซีริล หนึ่งในบุตรเจ็ดคนของเขา ยังคงทำงานในรูปแบบกอทิกแบบพ่อของเขา เมื่อเข้าไปสู่ศตวรรษที่ 20[12] ซีริล เมานต์ฟอร์ตดูแลโบสถ์แห่งเซนต์ลู้กของเมือง ซึ่งเป็นงานออกแบบของพ่อเขาที่ยังทำไม่เสร็จ[43] ด้วยเหตุนี้ ยังคงมีการใช้ผลงานอาคารสาธารณะของเขาอยู่ทุกวัน มรดกของเมานต์ฟอร์ตยังคงสืบทอดเรื่อยมา ปัจจุบันเขาและรอเบิร์ต ลอว์สัน ถือเป็นสถาปนิกที่ยอดเยี่ยมที่สุดในศตวรรษที่ 19 ของนิวซีแลนด์[4]

อาคารบางส่วน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Homan, Roger (2006). The Art of the Sublime. Ashgate Publishing. p. 130. ISBN 978-0-7546-5073-7.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Benjamin Mountfort and the Gothic Revival". Christchurch Libraries. Retrieved on 11 August 2008.
  3. Lochhead 1999, p. 51
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 Lochhead 1990
  5. "The First Four Ships". Christchurch Libraries. Retrieved on 12 August 2008.
  6. "Cathedral Square First Four Ships Commemorative Plaques". Christchurch City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2008. Retrieved on 13 August 2008.
  7. Smith, p. 54
  8. The 1966 Encyclopedia of New Zealand claims that he studied with George Gilbert Scott before this.
  9. 9.0 9.1 Lochhead 1999, pp. 66–76.
  10. "Isaac Luck (1817–1881)". Christchurch City Libraries. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
  11. paperspast.natlib.govt.nz https://paperspast.natlib.govt.nz/newspapers/LT18571024.2.3.4. สืบค้นเมื่อ 2019-01-17. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 Pascoe, Paul; McLintock, A. H., บ.ก. (1966). "Mountfort, Benjamin Woolfield". An Encyclopaedia of New Zealand. Ministry for Culture and Heritage.
  13. "Unamity's Jewel" (PDF). Freemasons' Gazette. New Zealand Freemasons. 30 (1): 21. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009.
  14. "Christchurch City Council Archives – 18–25 October 2000 Heritage Week". Christchurch City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22. Retrieved on 12 August 2008.
  15. "Christ Church City Council Archives – 13–20 October 2000 Heritage Week". Christchurch City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22. Retrieved on 12 August 2008.
  16. "Celebrating 150 years of English Constitution Freemasonry in New Zealand". Freemason Southern Star Lodge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2008. Retrieved on 12 August 2008.
  17. Porter, 1983, p.166; Otago Daily Times, 19 December 2008
  18. Lochhead 1999, pp. 93–117
  19. "Canterbury Provincial Government Buildings". Register of Historic Places. Heritage New Zealand. สืบค้นเมื่อ 22 August 2008.
  20. "Canterbury Provincial Council Buildings: Stone Chamber and Bellamys'". Christchurch City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2008. Retrieved on 22 August 2008.
  21. 21.0 21.1 Lochhead 1999, "Introduction"
  22. 22.0 22.1 "B.W. Mountfort and the Gothic Revival: a Centennial Exhibition". Christchurch Art Gallery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2008. Retrieved on 25 August 2008.
  23. "The Nineteenth-Century High Church: Tractarianism, the Oxford Movement, and Ritualism". National University of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2008. Retrieved on 26 August 2008.
  24. Livingston, James C.; และคณะ (2006). Modern Christian Thought. Fortress Press. p. 163. ISBN 978-0-8006-3795-8.
  25. Pound, Ezra; Zinnes, Harriet (1980). Ezra Pound and the Visual Arts. New Directions Publishing. ISBN 978-0-8112-0772-0.
  26. Kruft, Hanno-Walter; Taylor, Ronald (1996). A History of Architectural Theory. Princeton Architectural Press. p. 330. ISBN 978-1-56898-010-2.
  27. Smith, p. 81
  28. Scase, Wendy; Copeland, Rita; Lawton, David (2005). New Medieval Literatures. Vol. 1. Oxford University Press. p. 11. ISBN 978-0-19-927365-2.
  29. 29.0 29.1 Gardner, W.J; และคณะ (1971). A History of Canterbury. Whitcombe & Tombs. p. 483. ISBN 978-0-7233-0321-3.
  30. Daniels, Rebecca; Brandwood, Geoff (2003). Ruskin & Architecture. Spire Books. p. 172. ISBN 978-0-9543615-1-8.
  31. Walker, Paul. "The 'Maori House' at the Canterbury Museum". University of Auckland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2008. Retrieved on 11 August 2008.
  32. Fletcher, p. 1306
  33. "Appendix Five: Religious Art in Central Christchurch Accessible to the Public". Christchurch Art Gallery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2008. Retrieved on 4 September 2008.
  34. Turner, Jane (1996). The Dictionary of Art. Grove's Dictionaries. p. 230. ISBN 978-1-884446-00-9.
  35. Smith, Thomas R. (2008). Architecture, Gothic and Renaissance. Kessinger Publishing. p. 143. ISBN 978-1-4367-8070-4.
  36. "The Belltower and Spire, ChristChurch Cathedral". Christchurch Libraries. สืบค้นเมื่อ 11 September 2008.
  37. Lochhead 1999, pp. 274–277
  38. Lochhead 1999, p. 283
  39. Lochhead, Ian (1997). "A Pitiful Pile of Bricks". Fabrications. 8: 64–86. doi:10.1080/10331867.1997.10525110.
  40. Lochhead 1999, p. 174
  41. Lochhead 1999, pp. 175–178
  42. Fletcher, p. 1308
  43. "History of St Luke's in the City". St Luke's in the City. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2011. Retrieved on 14 September 2008.
  44. Scott, Don. "The old Canterbury Provincial Chambers (image)". The Press. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  45. Duncan, Layton. "Damage caused by Christchurch earthquake (image)". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  46. Broughton, Cate (9 June 2012). "Technology to save Trinity Church". The Press. p. A13. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  47. "เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต". Register of Historic Places. Heritage New Zealand.
  48. Lochhead 1999, Appendix 3

บรรณานุกรม[แก้]