รางวัลวูล์ฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลวูล์ฟ
รางวัลสำหรับผลงานดีเด่นด้านการเกษตร เคมี คณิตศาสตร์ แพทยศาสตร์ ฟิสิกส์ และศิลปะ
ประเทศประเทศอิสราเอล
จัดโดยมูลนิธิวูล์ฟ
รางวัล100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
รางวัลแรก1978; 46 ปีที่แล้ว (1978)
เว็บไซต์www.wolffund.org.il
มูลนิธิวูล์ฟ

รางวัลวูล์ฟ (อังกฤษ: Wolf Prize) เป็นรางวัลที่จัดตั้งโดยมูลนิธิวูล์ฟ มีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978 เพื่อนักวิทยาศาสตร์และศิลปินที่ "มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สีผิว ศาสนา เพศ และมุมมองทางการเมือง"[1]

ประวัติ[แก้]

รางวัลวูล์ฟมีการมอบที่อาคารรัฐสภาเนสเซ็ท (Knesset Building) ประเทศอิสราเอล โดยมูลนิธิวูล์ฟ ที่ก่อตั้งโดยนักประดิษฐ์และเอกอัครราชทูตคิวบา ดร. ริคาร์โด วูล์ฟ (1887–1981) ประกอบด้วย 6 สาขา คือ เกษตรกรรม, เคมี, คณิตศาสตร์, การแพทย์, ฟิสิกส์ และศิลปะ (หมุนเวียนทุกปี ระหว่างจิตรกรรม, ดนตรี, สถาปัตยกรรม และประติมากรรม) ผู้ที่ได้รับรางวัลจะได้โล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ความสำคัญ[แก้]

รางวัลวูล์ฟเป็นรางวัลที่มีเกียรติสูงส่งเป็นรองแค่รางวัลโนเบลเท่านั้น[2] ในสาขาฟิสิกส์ ถือว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การได้รับรางวัลโนเบลในภายหลัง ช่วงปี 1978-2010 มีผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล 14 คนที่ได้รับรางวัลวูล์ฟร่วมด้วย นอกจากนี้ รางวัลวูล์ฟยังถูกยกย่องให้เป็น "รางวัลโนเบล" ในสาขาต่างๆ ที่รางวัลโนเบลไม่มีอีกด้วย เช่น สาขาคณิตศาสตร์ ก็เป็นหนึ่งในรางวัลที่ถูกเรียกว่าเป็น "รางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์"[3] เช่นเดียวกับสาขาเกษตรกรรม ที่ถูกเรียกให้เป็น "รางวัลโนเบลสาขาเกษตรกรรม"[4] เช่นกัน

สาขา[แก้]

ทุกสาขายกเว้นสาขาศิลปะ มีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี 1978 ในขณะที่สาขาศิลปะมีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี 1981

อ้างอิง[แก้]

  1. [1]
  2. [2]
  3. [3]
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 2014-10-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]