ข้ามไปเนื้อหา

ซัมเมอร์สแลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก SummerSlam (2023))
ซัมเมอร์สแลม
ข้อมูล
สมาคมดับเบิลยูดับเบิลยูอี
ค่ายรอว์
สแมคดาวน์
จัดครั้งแรกซัมเมอร์สแลม (1988)

ซัมเมอร์สแลม (SummerSlam) เป็นศึกมวยปล้ำ ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี โดยจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม ซัมเมอร์สแลมกำเนิดขึ้นเป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว รายการที่ 3 ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี โดยจักขึ้นครั้งแรกในปี 1988 จึงถูกเรียกให้เป็น 1 ใน Big Four ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ซึ่ง Big Four นั้นประกอบไปด้วย รอยัลรัมเบิล, เรสเซิลมาเนีย, ซัมเมอร์สแลม และ เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์

ประวัติ[แก้]

ซัมเมอร์สแลม ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ที่ เมดิสัน สแควร์ การ์เดน ใน นิวยอร์ก ซิตี้, นิวยอร์ก

การพัฒนา[แก้]

เมดิสันสแควร์การ์เดนได้เป็นเจ้าภาพ "ซัมเมอร์สแลม" ถึง 3 ครั้ง, ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์การสถาปนารายการ, ซัมเมอร์สแลม (1988), ซัมเมอร์สแลม (1991) และซัมเมอร์สแลม (1998).
จากปี 2009 ถึงปี 2014,"ซัมเมอร์สแลม" ที่จัดขึ้นเฉพาะที่ เซ็นเตอร์

ในช่วงทศวรรษปี 1980 สมาคมเวิลด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น ของวินซ์ แม็กแมน ได้แข่งขันในอุตสาหกรรมมวยปล้ำอาชีพหลักของจิมคร็อกเก็ตโปรโมชันส์ แม็กแมนได้จัดรายการเพย์-เพอร์-วิว เพื่อตอบโต้รายการเพย์-เพอร์-วิวของจิม คร็อกเก็ตที่ประสบความสำเร็จ สตาร์เคด ซึ่งเริ่มออกอากาศในปี ค.ศ. 1983 โดยสร้างสรรค์แฟรนไชส์ เรสเซิลเมเนีย ,หลังจากศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 3 เป็นต้นมาก็ได้ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์รายการเพย์-เพอร์-วิวของมวยปล้ำอาชีพ, แม็กแมนสร้างสรรค์แฟรนไชส์เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ ซึ่งออกอากาศในวันเดียวกันกับ สตาร์เคด (1987) ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1987 หลังจากที่เอาชนะครอกเก็ตต์ในเรตติ้งรายการ แม็กแมนก็ได้สร้างสรรค์ รอยัลรัมเบิล ซึ่งออกอากาศครั้งแรกในช่องฟรีทีวี USA Network ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1988 ซึ่งได้บันทึกเรตติ้งของเครือข่ายที่มี 8 ล้านครัวเรือน จูนหาคลื่นเพื่อดูรายการ ,ในการตอบโต้นั้น คร็อกเก็ตก็ได้สร้างสรรค์รายการ Clash of the Champions ซึ่งออกอากาศพร้อมกันกับศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 4 ซึ่งปรากฏว่าเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 4 มีรายการเรตติ้งสูงกว่า และหลังจากนั้นไม่นาน คร็อกเก็ต ถูกสั่งฟ้องล้มละลายและขายบริษัทของเขาให้กับเท็ด เทอร์เนอร์ ,ผู้ที่เปลี่ยนชื่อเป็นมาเป็นเวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง (WCW)[1]

ในขณะที่ WWF ได้เปลี่ยนแทนที่การฉายแบบโทรทัศน์วงจรปิด พร้อมกับฉายรายการเพย์-เพอร์-วิว วินซ์ แม็กแมน ได้เพิ่มรายการเพย์-เพอร์-วิวอื่นๆ ที่ลงทุนจากความสำเร็จของรายการก่อนหน้านี้ของเขา นอกเหนือจาก เรสเซิลเมเนีย ที่จัดในเดือนมีนาคม ,รอยัลรัมเบิล ในเดือนมกราคม และเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ ในเดือนพฤศจิกายน แม็กแมนยังได้สร้างสรรค์รายการในเดือนสิงหาคม ซึ่งชื่อว่า "ซัมเมอร์สแลม" เพื่อให้ WWF มีรายการเพย์-เพอร์-วิวที่ผูกขาดในการตลาด ,เทอร์เนอร์ ได้เริ่มต้นออกอากาศรายเดือน รายการเพย์-เพอร์-วิว WCW และทั้งสองบริษัทก็เริ่มต้นทำรายได้หลายร้อยล้านดอลลาร์เข้าบริษัท

ต่อมา "ซัมเมอร์สแลม" ก็ได้กลายเป็น 1 ในรายการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และเป็น 1 ในรายการรายการเพย์-เพอร์-วิว Big Four ของเวิลด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น (ปัจจุบันเป็นชื่อ เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และล่าสุดเหลือเพียงชื่อ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี) พร้อมกับรายการเรสเซิลเมเนีย ,เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ และรอยัลรัมเบิล[2][3]

วันที่และสถานที่ของซัมเมอร์สแลม[แก้]

# รายการ วันที่จัด เมืองที่จัด สถานที่จัด เมนอีเวนท์ (คู่เอก)
1 ซัมเมอร์สแลม (1988) 29 สิงหาคม ค.ศ. 1988 นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก มาดิสัน สแควร์ การ์เด้น
2 ซัมเมอร์สแลม (1989) 28 สิงหาคม ค.ศ. 1989 รูเธอร์ฟอร์ด ตะวันออก, รัฐนิวเจอร์ซีย์ มีอาโด้แลนด์ อารีนา
3 ซัมเมอร์สแลม (1990) 27 สิงหาคม ค.ศ. 1990 ฟิลาเดลเฟีย, รัฐเพนซิลเวเนีย เดอะ สเปกทัม
4 ซัมเมอร์สแลม (1991) 26 สิงหาคม ค.ศ. 1991 นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก มาดิสัน สแควร์ การ์เด้น
5 ซัมเมอร์สแลม (1992) 26 สิงหาคม ค.ศ. 1992 ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ เวมบ์ลี้ สแทดซึม
6 ซัมเมอร์สแลม (1993) 30 สิงหาคม ค.ศ. 1993 อูเบริน ฮิลล์ส, รัฐมิชิแกน เดอะ พาเรด ออฟ อูเบริน ฮิลล์ส
7 ซัมเมอร์สแลม (1994) 29 สิงหาคม ค.ศ. 1994 ชิคาโก, รัฐอิลลินอยส์ ยูเนเต็ด เซ็นเตอร์
เบรต ฮาร์ต ปะทะ โอเว่น ฮาร์ต ในแมทช์ สตีล เคจ แมทช์ เพื่อ แชมป์ WWF
ดิอันเดอร์เทเกอร์ ปะทะ "ดิอันเดอร์เทเกอร์
8 ซัมเมอร์สแลม (1995) 27 สิงหาคม ค.ศ. 1995 พิตต์สเบิร์ก, รัฐเพนซิลเวเนีย พิตต์สเบิร์ก ซิวิค อารีนา
9 ซัมเมอร์สแลม (1996) 18 สิงหาคม ค.ศ. 1996 คลีฟแลนด์, รัฐโอไฮโอ กันด์ อารีนา
10 ซัมเมอร์สแลม (1997) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1997 รูเธอร์ฟอร์ด ตะวันออก, รัฐนิวเจอร์ซีย์ คอนติเนนเทล แอร์ไลน์ส อารีนา
11 ซัมเมอร์สแลม (1998) 30 สิงหาคม ค.ศ. 1998 นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก มาดิสัน สแควร์ การ์เด้น
12 ซัมเมอร์สแลม (1999) 30 สิงหาคม ค.ศ. 1999 มินนีแอโพลิส, รัฐมินนิโซตา ทาร์เก็ท เซ็นเตอร์
13 ซัมเมอร์สแลม (2000) 27 สิงหาคม ค.ศ. 2000 ราลี, รัฐนอร์ทแคโรไลนา เอ็นเตอร์เทนเมนต์ แอนด์ สปอร์ตส อารีนา
เดอะ ร็อก(c) ปะทะ เคิร์ต แองเกิล ปะทะ ทริปเปิลเอช ในแมทช์การปล้ำสามเส้า เพื่อชิงแชมป์WWF Championship
14 ซัมเมอร์สแลม (2001) 19 สิงหาคม ค.ศ. 2001 แซนโฮเซ, รัฐแคลิฟอร์เนีย คอมเพค เซ็นเตอร์
บูเกอร์ ที (WCW) (c) ปะทะ เดอะ ร็อก (WWE) เพื่อชิงแชมป์WCW Championship
15 ซัมเมอร์สแลม (2002) 25 สิงหาคม ค.ศ. 2002 อันชั่นเดล, รัฐนิวยอร์ก แนสสู เวเทอแรนส เมโมเรียล โคลิซึม
เดอะ ร็อก(c) ปะทะ บร็อก เลสเนอร์ เพื่อชิงแชมป์Undisputed WWE Championship
16 ซัมเมอร์สแลม (2003) 24 สิงหาคม ค.ศ. 2003 ฟีนิกซ์, รัฐแอริโซนา อเมริกา วิท อารีนา
เคน ปะทะ ร็อบ แวน แดม ในแมทช์การปล้ำไม่มีกฎกติกา
ทริปเปิลเอช(c) ปะทะ คริส เจริโค ปะทะ เควิน แนช ปะทะ ชอว์น ไมเคิลส์ ปะทะ แรนดี ออร์ตัน ปะทะ โกลด์เบิร์ก ในแมทช์การปล้ำอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ เพื่อชิงแชมป์World Heavyweight Championship
17 ซัมเมอร์สแลม (2004) 15 สิงหาคม ค.ศ. 2004 โทรอนโต, รัฐออนแทรีโอ, ประเทศแคนาดา แอร์ แคนนาดา เซ็นทริล
18 ซัมเมอร์สแลม (2005) 15 สิงหาคม ค.ศ. 2005 วอชิงตัน ดี.ซี. เอ็มซีไอ เซ็นเตอร์
19 ซัมเมอร์สแลม (2006) 20 สิงหาคม ค.ศ. 2006 บอสสัน, แมสสาชูเสทท์ ทีดี แบงค์นอร์ธ การ์เด้น
20 ซัมเมอร์สแลม (2007) 20 สิงหาคม ค.ศ. 2007 รูเธอร์ฟอร์ด ตะวันออก, รัฐนิวเจอร์ซีย์ คอนติเนนเทล แอร์ไลน์ส อารีนา
จอห์น ซีนา(c) ปะทะ แรนดี ออร์ตัน เพื่อชิงแชมป์WWE Championship
21 ซัมเมอร์สแลม (2008) 17 สิงหาคม ค.ศ. 2008 อินเดียแนโพลิส, รัฐอินดีแอนา[4] คอนเสโค ฟิลด์เฮ้าส์
22 ซัมเมอร์สแลม (2009) 23 สิงหาคม ค.ศ. 2009[5] ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย[5] สเตเปิลส์ เซ็นเตอร์[5]
23 ซัมเมอร์สแลม (2010) 15 สิงหาคม ค.ศ. 2010[6]
ทีมWWE ปะทะ เดอะเน็กซัส ในแมทช์การปล้ำแทกทีม 14 ใครแพ้คัดออก
24 ซัมเมอร์สแลม (2011) 14 สิงหาคม ค.ศ. 2011[7]
จอห์น ซีนา ปะทะ ซีเอ็ม พังก์ เพื่อชิงแชมป์Undisputed WWE Championship โดยมีทริปเปิลเอช เป็นกรรมการพิเศษ
25 ซัมเมอร์สแลม (2012) 19 สิงหาคม ค.ศ. 2012
26 ซัมเมอร์สแลม (2013) 18 สิงหาคม ค.ศ. 2013
จอห์น ซีนา ปะทะ แดเนียล ไบรอัน เพื่อชิงแชมป์WWE Championship โดยมีทริปเปิล เอช เป็นกรรมการพิเศษ
27 ซัมเมอร์สแลม (2014) 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014
จอห์น ซีนา (c) ปะทะ บร็อก เลสเนอร์ เพื่อชิงแชมป์WWE World Heavyweight Championship
28 ซัมเมอร์สแลม (2015) 23 สิงหาคม ค.ศ. 2015 นครนิวยอร์ก ,รัฐนิวยอร์ก บาร์เคลย์เซ็นเตอร์
29 ซัมเมอร์สแลม (2016) 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016[8]
30 ซัมเมอร์สแลม (2017) 20 สิงหาคม ค.ศ. 2017[8]

การออกอากาศ[แก้]

ในศึกนี้จะทำการถ่ายทอดสด ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งในบางประเทศ จะนำออกอากาศในรูปแบบ เทป

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Assael, Shaun. Sex, Lies, & Headlocks, 74–80.
  2. Keith, Scott (2004). Wrestling's One Ring Circus: The Death of the World Wrestling Federation. Citadel Press. p. 160. ISBN 0-8065-2619-X.
  3. Hamilton, Ian (2006). Wrestling's Sinking Ship: What Happens to an Industry Without Competition. Lulu.com. p. 160. ISBN 1-4116-1210-8.
  4. "Kevin's Random Reviews: WWE SummerSlam 2008". 411Mania (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
  5. 5.0 5.1 5.2 Martin, Adam (2008-11-20). "Reader Notes: Bret Hart, WWE in Elmira, 2009 PPVs". WrestleView. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21.
  6. "SummerSlam". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
  7. ">Gerweck, Steve (2010-07-27). "Upcoming dates for WWE PPV events in 2011". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-04. สืบค้นเมื่อ 2010-07-28.
  8. 8.0 8.1 "WWE SummerSlam returns to Barclays Center in 2016 and 2017". WWE. สืบค้นเมื่อ September 28, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]