สาธารณรัฐโรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 18)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Roman Republic (18th century))
สาธารณรัฐโรมัน

Repubblica Romana
ค.ศ. 1798–ค.ศ. 1799
ธงชาติสาธารณรัฐโรมัน
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐโรมัน
ตราแผ่นดิน
สาธารณรัฐโรมันใน ค.ศ. 1798
สาธารณรัฐโรมันใน ค.ศ. 1798
สถานะสาธารณรัฐพี่น้องของฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติ
เมืองหลวงโรม
ภาษาทั่วไปอิตาลี
การปกครองคณะกรรมาธิการของสาธารณรัฐ
คณะกรรมาธิการ 
• ค.ศ. 1798–99
คณะกรรมาธิการโรมัน
สภานิติบัญญัติที่ปรึกษาของสภานิติบัญญัติ
ยุคประวัติศาสตร์สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798
• การรุกรานโดยนาโปลี
30 กันยายน ค.ศ. 1799
สกุลเงินสกูโด, ไบอ็อกโก
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐพระสันตะปาปา
สาธารณรัฐเอนคอนเนน
สาธารณรัฐทิเบอร์รินา
รัฐพระสันตะปาปา
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอิตาลี
นครรัฐวาติกัน

สาธารณรัฐโรมัน (อิตาลี: Repubblica Romana; อังกฤษ: Roman Republic) ได้รับการประกาศก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 หลังจากที่หลุยส์-อเล็กซานเดอร์ แบร์เทียร์ นายพลของนโปเลียน ได้รุกรานกรุงโรม เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ โดยสาธารณรัฐนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งใน "สาธารณรัฐพี่น้อง" ของอิตาลีในการปฏิวัติฝรั่งเศส มันถูกอยู่ในตำแหน่งภายใต้รัฐบาลกรรมาธิการฝรั่งเศส และประกอบด้วยดินแดนที่ได้ยึดครองมาจากรัฐพระสันตะปาปา โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ถูกเนรเทศไปยังฝรั่งเศส และได้สิ้นพระชนม์ที่นั่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1799 สาธารณรัฐโรมันได้ทำการเข้าควบคุมคณะบริหารของการปฏิวัติ ในอดีตของพระสันตะปาปาอีกสองแห่งในทันที ได้แก่สาธารณรัฐทิเบอร์รินา และสาธารณรัฐเอนคอนเนน โดยสาธารณรัฐโรมันได้พิสูจน์แล้วว่ามีอายุสั้น เนื่องจากกองกำลังเนเปิลได้ฟื้นฟูรัฐพระสันตะปาปา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1799

การผนวกโรม[แก้]

การรบของนโปเลียน บนคาบสมุทรอิตาลี ระหว่าง ค.ศ. 1796 จนถึง ค.ศ. 1797 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพฝรั่งเศสในช่วงสงครามแห่งสาธารณรัฐ หลังจากการประสานมิตรแรก (ได้แก่ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, บริเตนใหญ่, ปรัสเซีย, สเปน, เนเปิลส์ ฯลฯ) ใน ค.ศ. 1792 นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ตั้งใจว่า จะต่อสู้กับสหสัมพันธมิตรในอิตาลีตอนเหนือ เพื่อบีบบังคับให้ชาวออสเตรียเข้าร่วมการเจรจา ผ่านการรุกรานเพลียดมอนท์ ในเวลาเดียวกันเขาตั้งใจว่า จะเสริมกำลังกองทัพฝรั่งเศสแห่งอิตาลี ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า ออสเตรียและรัฐในอิตาลี การรุกรานคาบสมุทรอิตาลีในครั้งนี้ถือเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเช่นกัน เนื่องจากสหสัมพันธมิตรที่หนึ่งคาดว่าจะมีการรุกรานหลักที่แม่น้ำไรน์ โรม ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐพระสันตะปาปาเป็นส่วนหนึ่งของสหสัมพันธมิตรที่หนึ่ง พร้อมกับรัฐอื่นๆ ในอิตาลีอีกมากมาย

หลังจากการข้ามเทือกเขาแอลป์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1796 และสามารถเอาชนะกองทัพเพลียดมอนท์ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1796 ในยุทธการที่ม็องเตนน็องเต และในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1796 ในยุทธการม็องโตวี โบนาปาร์ต ได้หันความสนใจ โดยไปทางใต้ของเพลียดมอนท์เพื่อจัดการกับรัฐพระสันตะปาปา โบนาปาร์ตสงสัยในคำสั่งที่แบ่งแยกเพื่อการรุกราน โดยส่งจดหมายสองฉบับไปยังคณะกรรมาธิการ จดหมายนั้นปล่อยให้ดีแร็กตัวร์ผ่อนปรนการรุกรานเพียงชั่วขณะ ออสเตรียซึ่งพ่ายแพ้ในยุทธการโลดิเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1796 และร่นถอยไปยังมีนีโก ภายใต้สนธิสัญญาโตเลนติโน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1797 โรมถูกบีบบังคับให้รับการทูตของสาธารณรัฐฝรั่งเศส[1] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 ฝรั่งเศสรุกรานและยึดครองรัฐพระสันตะปาปา ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากการสังหาร มัวร์แต็งนิงก์ แลเอนาร์ต ตัวร์ป็องเต ซึ่งเป็นนายพลฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1797 หลังจากประสบความสำเร็จจากการรุกราน รัฐพระสันตะปาปาได้กลายเป็นรัฐบริวาร ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐโรมัน ภายใต้การนำของหลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย นายพลคนหนึ่งของโบนาปาร์ต[2] สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ถูกจับเข้าคุก และออกจากกรุงโรม เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 และถูกเนรเทศไปฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาพระองค์ได้สิ้นพระชนม์

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการต่อสู้และความอดอยากภายใน ทำให้สาธารณรัฐอยู่ได้ไม่นานนัก และการสนับสนุนที่ไม่ได้รับความนิยม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1798 ซึ่งเป็นวันที่สงครามประสานมิตรครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้น กองทัพแห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์ซึ่งอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1713–1799 ได้เดินเข้าไปในกรุงโรมที่ได้รับการพิทักษ์อย่างเบาบาง อย่างแท้จริง ก่อนจะจากไปและกลับไปทางใต้สู่ประเทศของตน ในปี ค.ศ. 1798–1799 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1798 ฌาคส์ แม็คโดนัลด์ ผู้ว่าการสาธารณรัฐโรมันในขณะนั้น นำกองกำลังของเขาในยุทธการที่ฟอร์เร็งติโน่ ที่ฟอร์เร็งติโน่ ใน ค.ศ. 1798 หลังจากนั้น ในยุทธการที่อ็อตตรีโดรี ที่อ็อตตรีโดรี ในปีเดียวกัน และในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1798 ในยุทธการที่คีวิตา คาลสแตร์ลนา ที่คีวิตา คาลสแตร์ลนา ซึ่งตามมาด้วยตำแหน่งข้าราชการทหารที่คาลวีร์ ริโกสคา และครั้งที่ 2 ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1799 ที่กาปัวร์ ก่อนที่เขาจะลาออกจากการบังคับบัญชา

หลังจากการรุกรานของเนเปิลส์ ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1799 รัฐพระสันตะปาปาได้รับการฟื้นฟูภายใต้รัชสมัยของพระสันตปาปาปิอุสที่ 7 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1800[3] ฝรั่งเศสได้ยึดครองรัฐพระสันตะปาปาอีกครั้งใน ค.ศ. 1808 หลังจากนั้นก็ถูกแบ่งแยกระหว่างฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอิตาลี จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามนโปเลียนใน ค.ศ. 1815

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Imperial City: Rome under Napoleon, Susan Vandiler, {pp.20}
  2. "Napoleon's Campaign in Italy, 1796–97".
  3. Imperial City: Rome under Napoleon, Susan Vandliver, {p.21}

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • www.historyofwar.org/articles/campaign_napoleon_italy_1796.html
  • Imperial City: Rome under Napoleon, Susan Vandiver Nicassio, (October 15, 2009, University of Chicago Press), {pp. 20 to 21}