ข้ามไปเนื้อหา

เยื่อตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Conjunctiva)
เยื่อตา
(Conjunctiva)
ครึ่งบนของภาพตัดแบ่งซ้ายขวาผ่านด้านหน้าของลูกตา (เยื่อตาอยู่ตรงกลางด้านขวาของภาพ)
ภาพตัดแนวขวางของลูกตา (เยื่อตาอยู่ด้านบนซ้ายของภาพ)
รายละเอียด
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงต่อมน้ำตา (lacrimal artery), หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซิลิอารี (anterior ciliary arteries)
ประสาทเส้นประสาทต่อมน้ำตา (lacrimal nerve)
ตัวระบุ
MeSHD003228
TA98A15.2.07.047
TA26836
FMA59011
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เยื่อตา (อังกฤษ: Conjunctiva) เป็นเยื่อเมือกใสประกอบด้วยเซลล์และเยื่อฐานซึ่งคลุมส่วนของตาขาวและบุด้านในของหนังตา เยื่อตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิว

หน้าที่[แก้]

เยื่อตาทำหน้าที่หล่อลื่นตาโดยการผลิตเมือกและน้ำตา แม้ว่าปริมาณน้ำตาที่ผลิตได้จะน้อยกว่าที่ต่อมน้ำตาผลิตขึ้น[1] นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้จุลชีพผ่านเข้าสู่ดวงตา

มิญชวิทยาของเยื่อตา[แก้]

เยื่อตาโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสามส่วน

ส่วน บริเวณ
เยื่อตาส่วนหนังตา
(Palpebral or tarsal conjunctiva)
บุหนังตา
ส่วนทบเยื่อตา
(Fornix conjunctiva)
เป็นส่วนที่ด้านในของหนังตาและลูกตามาบรรจบกัน เยื่อตาส่วนหนังตามาพับทบที่ส่วนทบด้านบน และส่วนทบด้านล่างจะกลายเป็นเยื่อตาส่วนลูกตา บริเวณนี้มีลักษณะหลวมและยืดหยุ่นได้ ทำให้สามารถกลอกตาและขยับหนังตาได้สะดวก จักษุแพทย์จะใช้ใส่ยาหยอดลงในช่องว่างหนังตาด้านล่าง สารนี้จะทำงานไปตามพื้นผิวของลูกตาและซึมลงภายในตา[2]
เยื่อตาส่วนลูกตา
(Bulbar or ocular conjunctiva)
คลุมลูกตาโดยอยู่เหนือตาขาว บริเวณนี้จะยึดติดแน่นและเคลื่อนไปพร้อมการกลอกตา

โรคและความผิดปกติ[แก้]

ความผิดปกติของเยื่อตาและกระจกตาเป็นที่มาที่สำคัญของปัญหาเกี่ยวกับดวงตา พื้นผิวของดวงตานั้นสามารถได้รับปัจจัยต่างๆ ภายนอกได้หลายชนิดและมักไวต่อการบาดเจ็บ การติดเชื้อ สารระคายเคืองทางเคมี และปฏิกิริยาภูมิแพ้ โรคที่พบบ่อยของเยื่อตาคืออาการเยื่อตาอักเสบ หรือที่มักเรียกกันว่าตาแดง นอกจากนี้การระคายเยื่อตาเป็นหนึ่งในผลด้านสุขภาพหลังจากการได้รับสารระเหยอินทรีย์ (Volatile organic compounds)

ดูเพิ่ม[แก้]

ภาพอื่นๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. London Place Eye Center (2003). Conjunctivitis เก็บถาวร 2004-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved July 25, 2004.
  2. Eye, human Encyclopaedia Britannica

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]