20 ถนนเฟนเชิร์ช

พิกัด: 51°30′41″N 0°05′01″W / 51.51139°N 0.08361°W / 51.51139; -0.08361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
20 ถนนเฟนเชิร์ช
20 ถนนเฟนเชิร์ช ถ่ายเมื่อปี 2015 จากซิทีฮอลล์
20 ถนนเฟนเชิร์ชตั้งอยู่ในเกรเทอร์ลอนดอน
20 ถนนเฟนเชิร์ช
ที่ตั้งภายในเกรเทอร์ลอนดอน
20 ถนนเฟนเชิร์ชตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ
20 ถนนเฟนเชิร์ช
20 ถนนเฟนเชิร์ช (ประเทศอังกฤษ)
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
สถาปัตยกรรมนีโอ-ฟิวเจอริสม์
ที่ตั้งลอนดอน, EC3
พิกัด51°30′41″N 0°05′01″W / 51.51139°N 0.08361°W / 51.51139; -0.08361
เริ่มสร้างมกราคม 2009
แล้วเสร็จเมษายน 2014[1]
เจ้าของลี คุม คี
ความสูง
หลังคา160 m (525 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น37 (+ 3 ชั้น "สวนลอยฟ้า")
พื้นที่แต่ละชั้นสำนักงาน: 668,926 ตารางฟุต (62,100 ตารางเมตร)[2]
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกราฟาเอล วิโญลี
ผู้พัฒนาโครงการแลนด์ซีคีวริที และ คานารีวาร์ฟ
วิศวกรโครงสร้างฮอลโครวส์
ผู้รับเหมาก่อสร้างคานารีวาร์ฟคอนแทร็กเตอร์
รางวัลคาร์บันเคิลคัพ

20 ถนนเฟนเชิร์ช (อังกฤษ: 20 Fenchurch Street) เป็นตึกระฟ้าเชิงพาณิชย์ในลอนดอน ตั้งอยู่บนถนนเฟนเชิร์ชในย่านการค้าซิทีออฟลอนดอน ตึกนี้เป็นที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "เดอะวอล์คกีทอล์คที" (อังกฤษ: The Walkie-Talkie; แปลว่า วิทยุสื่อสาร) ซึ่งได้มาจากรูปร่างของอาคาร[3] การก่อสร้างอาคารเสร็จในปี 2014[4] มีความสูง 38 ชั้นที่ 160 เมตร นับตั้งแต่กรกฎาคม 2017 อาคารนี้เป็นของเครือลีคุมคี

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารคือ ราฟาเอล วิโญลี ด้วยมูลค่าก่อสร้าง £200 ล้าน ชั้นทางเข้าและชั้น 34 เป็นที่ตั้งของจุดชมวิว ส่วนบาร์และภัตตาคารอยู่ที่ชั้น 35 ถึง 37[5]

แปลนแรกของอาคารต้องการให้มีความสูงที่ 200 เมตร แต่ถูกลดขนาดลงมาด้วยความกังวลปัญหาทางทัศนียภาพต่ออาสนวิหารเซนต์พอลกับหอคอยลอนดอนซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกัน และได้รับการอนุมัติก่อสร้างในปี 2006 ที่ความสูงเท่าที่ก่อสร้างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อการบดบังทัศนียภาพของเมืองยังคงดำรงอยู่ และเลขาธิการคณะกรรมการเพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น รูธ เคลลี ได้ให้โครงการจัดการรับฟังเสียงสาธารณะอีกครั้ง[6] กระทั่งในปี 2007 ซึ่งแปลนก่อสร้างสามารถดำเนินต่อไปและได้รับการอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่อย่างเต็มที่[7] ในปี 2015 อาคารได้รับรางวัลคาร์บันเคิลคัพสำหรับอาคารใหม่ที่ออกแบบได้ห่วยแตกที่สุดในสหราชอาณาจักรในรอบ 12 เดือน[8][9]

คำวิจารณ์[แก้]

รางวัลคาร์บันเคิล[แก้]

อาคารได้รับรางวัลคาร์บันเคิลคัพในปี 2015 โดยนิตยสาร บิลดิงดีไซน์ สำหรับอาคารใหม่ที่ออกแบบห่วยแตกที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา[8][9][10] ในขณะที่นักผังเมืองประจำสถาบันผังเมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับอาคารเรียกขานอาคารนี้ว่าเป็น "เครื่องเตือนใจรายวัน[ทุกครั้งที่เดินผ่าน]ว่าโปรดอย่าปล่อยให้เกิดภัยพิบัติการวางแผนเช่นนี้ขึ้นอีก"[9]

ปัญหารังสีอาทิตย์[แก้]

นับตั้งแต่ขณะอาคารอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีผู้พบว่าเป็นเวลามากถึง 2 ชั่วโมงต่อวันที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงปะทะกับอาคารโดยจัง ส่วนอาคารซึ่งมีรูปร่างดังกล่าวก็ทำหน้าที่เป็นเหมือนกระจกเว้าทำให้แสงเกิดการรวมและส่องโฟกัสลงไปบนท้องถนนทางใต้[11] ที่ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิบนถนนสูงถึง 91 องศาเซลเซียส (196 องศาฟาเรนไฮต์)[12] และ 117 องศาเซลเซียส (243 องศาฟาเรนไฮต์) เท่าที่มีการบันทึกไว้[13] ในช่วงฤดูร้อนปี 2013 มีการคำนวณระบุว่าแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกจากอาคารลงบนถนนมีความเข้มแสงสูงกว่าแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงถึง 6 เท่า และทำลายรถยนต์ที่จอดอยู่บนถนนด้านล่าง[14] ในจำนวนนี้รถคันหนึ่งซึ่งจอดบนถนนอีสชีพปรากฏส่วนบอดีของรถยนต์หลอมละลาย เจ้าของรถฟ้องร้องค่าเสียหายได้จำนวน £946 จากเจ้าของอาคาร นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวของซิทีเอเอ็ม จิม วอเทอร์ซัน ยังเคยสาธิตความร้อนบนถนนจากการรวมแสงนี้โดยการทอดไข่ในกะทะที่วางบนพื้นถนนออกโทรทัศน์[15] ร้านค้าที่อยู่บนถนนด้านล่างรายงานว่าพรมทางเข้าประตูของร้านค้าถูกเผาไหม้ จนอาคารได้รับฉายาจากสื่อว่า "วอล์กคี-สกอร์ชี" (Walkie-Scorchie, จากชื่อเล่น Walkie-Talkie; วิทยุสื่อสาร, ผสมคำว่า Scorch; ทำให้ไหม้เกรียม)[16][17][18] และ "ฟรายสเครเปอร์" (Fryscraper, จากคำว่า Skyscraper; ตึกระฟ้า, ผสมคำว่า Fry; ทอด)[11][19][20]

ในปี 2014 ได้มีการติดตั้งนั่งร้านถาวรบนชั้นสูง ๆ ของอาคารฝั่งใต้เพื่อแก้ปัญหานี้[21]

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร ราฟาเอล วิโญลี ยังคงเป็นผู้ออกแบบโรงแรมวาดาราในลาสเวกัสซึ่งประสบปัญหาการสะท้อนแสงอาทิตย์ที่รุนแรงเหมือนอาคารนี้ จนโรงแรมนั้นได้รับขนานนามว่าเป็น "รังสีมรณะวาดารา" (Vdara death ray)[22] ที่ซึ่งต่อมาแก้ปัญหาโดยการติดฟิล์มกันสะท้อน[23]

สวนลอยฟ้า[แก้]

สวนลอยฟ้าชั้น 36 - 38

สวนลอยฟ้า (Sky Garden) ที่ซึ่งเริ่มแรกระบุส่าจะเป็นจุดชมวิวจากยอดอาคาร มีพื้นที่กว้างสีเขียว และเปิดแก่วาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นเหตุผลที่ให้นักผังเมืองยินยอมให้สร้างอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ขึ้นบนชายขอบของพื้นที่อนุรักษ์ใจกลางลอนดอนเช่นนี้ ภาพเรนเดอร์จากคอมพิวเตอร์แสดงสวนประกอบไปด้วยต้นไม้เขียวสูงใหญ่ อย่างไรก็ตามสวนกลับออกมาเป็นเนินที่มีเฟิร์นกับพืชอวบน้ำแทน[24]

ปัจจุบันสวนลอยฟ้าเปิดให้เข้าชมต่อสาธารณะเป็นรอบ รอบละ 90 นาทีถึงเวลา 18:00 ซึ่งจะปิดต่อสาธารณะและเปิดให้บริการสำหรับลูกค้าของภัตตาคารและบาร์ด้านบนเท่านั้น[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. Beioley, Kate (13 January 2014). "DWF to move into Walkie Talkie building". The Lawyer. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
  2. "Schedule of areas". 20 Fenchurch Street. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2014. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
  3. Heathcote, Edwin (4 November 2011). "Points on views". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 3 September 2013.
  4. "20 Fenchurch Street Opens". Skyscrapernews.com. 8 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-04. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
  5. https://skygarden.london/sky-garden
  6. "20 Fenchurch Street Called In". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
  7. Land Securities (July 2007). "LAND SECURITIES' 20 FENCHURCH STREET TOWER APPROVED" (PDF). landsecurities.com. Land Securities Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 September 2007. สืบค้นเมื่อ 10 July 2007.
  8. 8.0 8.1 Lane, Thomas (2 September 2015). "Carbuncle Cup 2015 winner announced". Building Design. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
  9. 9.0 9.1 9.2 Wainwright, Oliver (2 September 2015). "Carbuncle Cup: Walkie Talkie wins prize for worst building of the year". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
  10. "London's Walkie Talkie judged UK's worst building". BBC News. 2 September 2015. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
  11. 11.0 11.1 Sherwin, Adam (2 September 2013). "Walkie Talkie City skyscraper renamed Walkie Scorchie after beam of light melts Jaguar car parked beneath it". The Independent.
  12. "Who, what, why: How does a skyscraper melt a car?". BBC. 3 September 2013. สืบค้นเมื่อ 4 September 2013.
  13. "London's 'fryscaper' draws crowd on hottest day". Mississauga.com. 6 September 2013. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
  14. Smith-Spark, Laura (3 September 2013). "Reflected light from London skyscraper melts car". CNN. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
  15. Spence, Peter. "Eggsclusive: We use the Walkie Scorchie light beam to fry an egg". City A.M.
  16. Jefford, Kasmira; Waterson, James (28 August 2013). "Walkie Talkie building scorches Londoners". CITY A.M. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
  17. Waterson, James (2 September 2013). "Exclusive: Walkie Scorchie melted my Jag". CITY A.M. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-04. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
  18. "London Walkie-Scorchie Skyscraper Cost-Cutting Blamed for Car-Melting, Egg-Frying Reflected Sunbeams". International Business Times. 1 January 2013. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
  19. Marsden, Sam (2 September 2013). "Glare from Walkie-Talkie skyscraper 'damaged vehicles'". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 3 September 2013.
  20. Spillane, Chris (4 September 2013). "London's Walkie-Talkie 'Fryscraper' Draws Crowds in Heat". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
  21. Antonia Molloy (15 May 2014). "Walkie Talkie skyscraper to be fitted with permanent sunshade after it". The Independent.
  22. "'Death ray' at Vegas hotel pool heats up guests". NBC News. 30 September 2010.
  23. Wainwright, Oliver (6 September 2013). "Walkie Talkie architect 'didn't realise it was going to be so hot'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 September 2013.
  24. 24.0 24.1 Oliver Wainwright (6 January 2015). "London's Sky Garden: the more you pay, the worse the view". The Guardian.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]