เจ้าหญิงฌานูวารียาแห่งบราซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงฌานูวารียาแห่งบราซิล
พระราชกุมารีแห่งบราซิล
เคาน์เตสแห่งอาควิลา
พระฉายาลักษณ์ ขณะมีพระชนมายุ 43 พรรษา พ.ศ. 2408
ประสูติ11 มีนาคม พ.ศ. 2365
พระราชวังเซา กริชตูเบา รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
สิ้นพระชนม์13 มีนาคม พ.ศ. 2444
(พระชนมายุ 79 พรรษา)
นีซ ประเทศฝรั่งเศส
พระราชสวามีเจ้าชายลูอิจี เคานต์แห่งอาควิลา
พระราชบุตรเจ้าชายลูอิจี เคานต์แห่งร็อกคากูเกลมา
เจ้าหญิงมารีอา อิซาเบลลาแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง
เจ้าชายฟิลิปโปแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง
เจ้าชายมารีอา เอมานูเอเลแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง
พระนามเต็ม
ฌานูวารียา มารีอา ฌูอานา การ์โลตา ลีโอโพลดินา กังดิดา ฟรังซิชกา ซาเวียร์ ดึ เปาลา มิกาเอลา กาเบรียลา ราฟาเอลา กองซากา
ราชวงศ์บรากังซา
พระราชบิดาจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
พระราชมารดาอาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย

เจ้าหญิงฌานูวารียาแห่งบราซิล (พระนามเต็ม: ฌานูวารียา มารีอา ฌูอานา การ์โลตา ลีโอโพลดินา กังดิดา ฟรังซิชกา ซาเวียร์ ดึ เปาลา มิกาเอลา กาเบรียลา ราฟาเอลา กองซากา;[1] 11 มีนาคม พ.ศ. 2365 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2444) ทรงเป็นเจ้าหญิงบราซิลและเป็นเจ้าหญิงโปรตุเกส เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลกับอาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย[1]

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ[แก้]

เจ้าหญิงฌานูวารียาทรงประสูติในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2365 ณ พระราชวังเซา กริชตูเบาในรีโอเดจาเนโร ทรงดำรงเป็นเจ้าหญิงโปรตุเกส เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลกับจักรพรรดินีมาเรีย ลีโอโพลดีนา เจ้าหญิงทรงเข้ารับพิธีศีลจุ่มในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2365 ในวิหารหลวง และมีพระนามลำลองว่า "เจ้าหญิงแห่งอิสรภาพ" (Princesa da Independência)

เจ้าหญิงฌานูวารียาทรงเจริญพระชันษาพร้อมๆกับพระอนุชาและพระภคินีของพระนาง เจ้าชายเปดรู, เจ้าหญิงเปาลา และ เจ้าหญิงฟรังซิชกา พระนามของเจ้าหญิงทรงถูกเลือกโดยพระราชบิดาเพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดรีโอเดจาเนโร เจ้าหญิงฌานูวารียาประสูติหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายฌูเอา การ์ลุช พระเชษฐาเพียงหนึ่งเดือน

เจ้าหญิงทรงสูญเสียพระราชมารดาขณะมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษาและทรงเห็นพระราชบิดาต้องเสด็จออกไปยังโปรตุเกสพร้อมกับพระมารดาเลี้ยงและพระเชษฐภคินีขณะมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เจ้าหญิงต้องทรงเจริญพระชันษาด้วยการศึกษาที่เข้มงวดมาก

ในปีพ.ศ. 2376 เจ้าหญิงเปาลา พระขนิษฐาสิ้นพระชนม์ก่อนที่จะมีพระชนมายุครบ 10 พรรษา เจ้าหญิงฌานูวารียาทรงมีลายพระหัตถ์ไปถึงพระราชบิดาว่า

"ถึงเสด็จพ่อที่รัก ทั้งๆที่คำอธิษฐานของพวกเราคงจะไปถึงสวรรค์ น้องสาวที่น่ารักของเรา เปาลา มาเรียนาจากไปแล้ว ไม่พบการปลอบประโลม น้องสาวที่รักของเราจะไม่ได้อยู่กับเราอีกต่อไปแล้ว นอกจากนี้ เปดรินโฮกลายเป็นคนป่วยจริงๆแล้ว คิดว่าเขาคงติดไข้เดียวกันจากเปาลา มาเรียนา แต่ขอขอบคุณสวรรค์ เขาอาการดีขึ้นและตอนนี้ยังคงนั่งเรียนอยู่ ในการแสดงความกตัญญูเรามานาชิและลูก ยาโนเรีย ธิดา จะไม่กินน้ำตาลจนกระทั่งวันครบรอบวันเกิดของเปดรู วันที่ 2 ธันวาคม เสด็จพ่อที่รักของลูก พวกเรากำลังหมดหวังและกังวลมาก พ่อจะมีค่ากับเราและยังรู้สึกคิดถึงพระพี่นางมาเรีย ดา กลอเรียและทุกคนที่อยู่กับเสด็จพ่อที่ลิสบอน เราจะสัญญาว่าจะเป็นเด็กที่เชื่อฟังและทรงโปรดรักฌานูวารียา, ฟรังซิชกา และเปดรูด้วย"

เจ้าหญิงพระราชกุมารี[แก้]

จากซ้าย: เจ้าหญิงฟรังซิชกา, จักรพรรดิเปดรูที่ 2 และเจ้าหญิงฌานูวารียา ทรงฉลองพระองค์ไว้ทุกข์การสวรรคตของพระราชบิดา ราวปีพ.ศ. 2378

ด้วยการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลเพื่อเสด็จไปยังยุโรปและทำการฟื้นฟูราชบัลลัก์โปรตุเกสให้แก่พระราชธิดาพระองค์โตของพระองค์ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย ดา กลอเรีย ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์บราซิลต้องมีการปรับเปลี่ยน จากปีพ.ศ. 2378 จนถึงพ.ศ. 2388 เจ้าหญิงทรงได้รับพระอิศริยยศ พระราชกุมารีแห่งบราซิลในฐานะทายาทโดยสันนิษฐานของพระอนุชา จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล[1] โดยสภาสมัชชาแห่งชาติ เมื่อพระเชษฐภคินี สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์ด้วยกฎหมายมาตราที่ 91 ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2378 เจ้าหญิงฌานูวารียาจึงทรงกลายเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐานของราชบัลลังก์แห่งจักรวรรดิบราซิล

ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2379 เจ้าหญิงฌานูวารียาทรงพระดำเนินไปยังห้องโถงของพระราชวังวุฒิสภา ทรงฉลองพระองค์ที่เต็มไปด้วยสีทองซึ่งจะสามารถเห็นเครื่องยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์กางเขนและทรงปรากฏพระองค์ในพระหัตถ์ที่ทรงถือบทสวดมนต์ ทรงประกาศด้วยพระสุรเสียงเคร่งขรึมว่า

"ข้าพเจ้าสาบานที่จะปกปักษ์รักษา คาทอลิก,สมณทูต,โรมัน; จะยินยอมทำตามรัฐธรรมนูญแห่งชาติบราซิลและจะเชื่อฟังกฎหมายและองค์จักรพรรดิ"

ดังนั้นเจ้าหญิงฌานูวารียาจึงทรงได้เป็นพระราชกุมารี รัชทายาทแห่งจักรวรรดิบราซิล จนกระทั่งการประสูติของเจ้าชายอาฟงซู พระราชโอรสในจักรพรรดิเปดรูที่ 2 พระอนุชา

ความพยายามเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[แก้]

เจ้าหญิงฌานูวารียาแห่งบราซิล ในปีพ.ศ. 2402

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 พระอนุชา ยังทรงพระเยาว์ ในปีพ.ศ. 2379 รัฐบาลผู้สำเร็จราชการกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต และในตอนนี้เจ้าหญิงยาโนเรียทรงเริ่มเข้ามาในฐานะที่เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนที่เป็นฝ่ายเสรีนิยมปานกลางได้ทำการถกเถียงว่าการสำเร็จราชการแทนพระองค์ถูกส่งผ่านไปอยู่กับเจ้าหญิงฌานูวารียา พระเชษฐภคินีในจักรพรรดิเปดรูที่ 2 และทรงเป็นเจ้าหญิงรัชทายาทแห่งบราซิล ในขณะนั้นมีพระชนมายุ 15 พรรษา ดังนั้นพระนางจะสามารถรับเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้ แต่ความคิดนี้ไม่ได้รับการดำเนินต่อ จากนั้นรัฐบาลจึงเข้าจัดการเสียเอง

อภิเษกสมรส[แก้]

ในฐานะที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์บราซิลที่สามารถสืบราชบัลลังก์ต่อได้ มันจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่จะจัดพิธีอภิเษกสมรสสำหรับเจ้าหญิงฌานูวารียา มารีอา, จักรพรรดิเปดรูที่ 2 และเจ้าหญิงฟรังซิชกา พระภคินี[2]

คู่อภิเษกสมรสของทั้งเจ้าหญิงฌานูวารียาและจักรพรรดิเปดรูที่ 2 มาจากราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง พระนางอภิเษกสมรสกับเจ้าชายลูอิจี เคานท์แห่งอาควิลา (พระอนุชาในพระมเหสีของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 คือ เจ้าหญิงเตเรซา กริสตินาแห่งทูซิชิลี) พระราชพิธีได้ถูกจัดในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2387 ณ กรุงรีโอเดจาเนโร บราซิล[1] พระสวามีของพระนางเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 แห่งทูซิชิลีกับพระมเหสีพระองค์ที่สอง เจ้าหญิงมาเรีย อิซาเบลลาแห่งสเปน[1] ด้วยความไม่ลงรอยกันระหว่างเคานต์แห่งอาควิลากับองค์จักรพรรดิ เจ้าหญิงฌานูวารียากับเคานต์แห่งอาควิลาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เสด็จออกจากบราซิลในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2387 ในปีพ.ศ. 2388 ฐานะการเป็นพระราชกุมารีของเจ้าหญิงฌานูวารียาได้หมดไปเมื่อมีการประสูติของเจ้าชายอาฟงซู พระราชโอรสในจักรพรรดิเปดรูที่ 2 พระอนุชา[3]

สิ้นพระชนม์[แก้]

เจ้าหญิงฌานูวารียาทรงฉายพระรูปร่วมกับเจ้าชายลูอิจีและเจ้าชายฟิลิปโป พระโอรส ราวปีพ.ศ. 2400

เจ้าหญิงฌานูวารียา เคาน์เตสแห่งอาควิลาสิ้นพระชนม์ที่นีซ ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 สิริพระชนมายุ 79 พรรษา เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 และจักรพรรดินีมาเรีย ลีโอโพลดีนาที่สิ้นพระชนม์เป็นพระองค์สุดท้าย ชื่อเมืองยาโนเรียในรัฐมีนัสเชไรส์ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติแก่พระนาง

พระโอรสธิดา[แก้]

เจ้าหญิงยาโนเรียและเจ้าชายหลุยส์มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ได้แก่

  • เจ้าชายลูอิจี เคานต์แห่งร็อกคากูเกลมา (18 กรกฎาคม พ.ศ. 2388 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452) เจ้าชายทรงอภิเษกสมรสต่างฐานันดรกับมาเรีย อเมเลีย เบโลว์-ฮาเมล และมีบุตร 2 พระองค์
  • เจ้าหญิงมารีอา อิซาเบลลาแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2389 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402)
  • เจ้าชายฟิลิปโปแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2390 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2465) เจ้าชายทรงอภิเษกสมรสต่างฐานันดรกับฟลอรา บูเนน และไม่มีบุตร
  • เจ้าชายมารีอา เอมานูเอเลแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง (24 มกราคม พ.ศ. 2394 - 26 มกราคม พ.ศ. 2394)

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 11 มกราคม พ.ศ. 2365 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2365 : อิงฟังตาฌานูวารียาแห่งโปรตุเกส
  • 12 ตุลาคม พ.ศ. 2365 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2378 : เจ้าหญิงฌานูวารียาแห่งบราซิล, อิงฟังตาแห่งโปรตุเกส
  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2378 - 28 เมษายน พ.ศ. 2387 : พระราชกุมารีแห่งบราซิล[1]
  • 28 เมษายน พ.ศ. 2387 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 : พระราชกุมารีแห่งบราซิล, เคาน์เตสแห่งอาควิลา
  • 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2440 : เคาน์เตสแห่งอาควิลา
  • 5 มีนาคม พ.ศ. 2440 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2444 : เคาน์เตสม่ายแห่งอาควิลา

พระราชตระกูล[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าโจเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. อาร์คดัสเชสมาเรีย อันนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าโจเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงมาเรียนา วิกโตเรียแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
2. จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าหญิงยาโนเรียแห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
12. จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
 
 
 
 
 
 
 
6. จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน(=20)
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงมาเรีย หลุยซาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี(=21)
 
 
 
 
 
 
 
3. อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน(=20)
 
 
 
 
 
 
 
14. พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งทูซิชิลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี(=21)
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลีส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์(=24)
 
 
 
 
 
 
 
15. อาร์คดัสเชสมาเรีย แคโรไลนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา(=25)
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1977). Burke's Royal Families of the World, Volume 1: Europe & Latin America. London: Burke's Peerage. p. 49. ISBN 0-85011-023-8.
  2. Barman, Roderick J. (1999). Citizen Emperor: Pedro II and the Making of Brazil, 1825–1891. Stanford, California: Stanford University Press. pp. 62, 75, 103. ISBN 0-8047-3510-7.
  3. Barman, Roderick J. (1999). Citizen Emperor: Pedro II and the Making of Brazil, 1825–1891. Stanford, California: Stanford University Press. pp. 49, 106. ISBN 0-8047-3510-7.

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Januária, Princess Imperial of Brazil