เกสตาโพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกสตาโป)
เกสตาโพ
Gestapo

สายลับเกสตาโพ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง26 เมษายน ค.ศ.1933
หน่วยงานก่อนหน้า
  • ทบวงตำรวจลับปรัสเซีย
ยุบเลิก8 พฤษภาคม ค.ศ.1945
ประเภทตำรวจลับ
เขตอำนาจ เยอรมนี และเขตที่เยอรมนียึดครอง
สำนักงานใหญ่Prinz-Albrecht-Straße, เบอร์ลิน
52°30′26″N 13°22′57″E / 52.50722°N 13.38250°E / 52.50722; 13.38250
บุคลากร32,000 นาย ป. 1944[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงาน อัลเกอไมเนอ เอ็สเอ็ส
ทบวงกลางความมั่นคงไรช์
ซีแชร์ไฮท์สโพลีไซ

เกสตาโพ (เยอรมัน: Gestapo) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ เกไฮเม สตาทส์โพลิไซ (Geheime Staatspolizei แปลความหมาย: ทบวงตำรวจลับของรัฐ) เป็นตำรวจลับอย่างเป็นทางการของนาซีเยอรมนีและในยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง

กองกำลังได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยแฮร์มัน เกอริงใน ค.ศ. 1933 โดยทำการประสมประสานหน่วยงานตำรวจทางการเมืองต่าง ๆ ของปรัสเซียเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งองค์กร เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1934 การควบคุมดูแลของเกสตาโพถูกส่งต่อไปยังหัวหน้าหน่วยชุทซ์ชตัฟเฟิล(เอ็สเอ็ส) ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีตำรวจเยอรมันโดยฮิตเลอร์ใน ค.ศ. 1936 แทนที่จะเป็นหน่วยงานของรัฐปรัสเซียโดยเฉพาะ เกสตาโพกลายเป็นหน่วยงานระดับชาติแห่งหนึ่งซึ่งเป็นสำนักงานย่อยของซิชเชอร์ไฮทซ์โพลีทไซหรือซีโพ(ทบวงตำรวจความมั่นคง) ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1939 อยู่ภายใต้การบริหารของกรมการใหญ่ความมั่นคงไรช์(RSHA) กลายเป็นที่รู้จักในชื่อว่า อัมท์ (Amt - แผนก) 4 ของ RSHA และถือว่าเป็นองค์กรพี่น้องของซิชเชอร์ไฮทซ์ดีนสท์ หรือเอ็สเด (ทบวงอำนวยความปลอดภัย)

เกสตาโพได้กระทำทารุณโหดร้ายอย่างกว้างขวางในช่วงที่ดำรงอยู่ อำนาจของเกสตาโพได้ถูกใช้เพื่อพุ่งเป้าหมายไปที่ศัตรูทางการเมือง ผู้เห็นต่างทางอุดมการณ์(องค์กรนักบวชและศาสนา) พวกอาชญากร ประชากรชาวซินติและโรมา ผู้พิการ พวกรักร่วมเพศ และเหนือสิ่งอื่นใดคือชาวยิว[2] ผู้ที่ถูกเกสตาโพจับกุมมักถูกควบคุมตัวโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมและนักโทษการเมืองทั่วทั้งเยอรมนี -และตั้งแต่ ค.ศ. 1941 ทั่วทั้งดินแดนที่ถูกยึดครองภายใต้กฤษฏีกาค่ำคืนและสายหมอก(นัคท์ อุนท์ เนเบิล) -เพียงแค่ทำให้หายตัวไปในขณะอยู่ในการควบคุมตัวของเกสตาโพ[3] ตรงกันข้ามกับการรับรู้ของประชาชนส่วนใหญ่ ๆ แท้จริงแล้วเกสตาโพเป็นองค์กรที่ค่อนข้างเล็กและมีความสามารถในการเฝ้าระวังที่จำกัด อย่างไรก็ตาม เกสตาโพได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพอย่างมาก เนื่องจากชาวเยอรมันทั่วไปเต็มใจที่จะรายงานถึงเรื่องเพื่อนร่วมชาติ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เกสตาโพมีบทบาทที่สำคัญในฮอโลคอสต์ ภายหลังสงครามยุติลง เกสตาโพได้ถูกประกาศให้เป็นองค์กรอาชญากรรมโดยศาลทหารระหว่างประเทศ(IMT) และสมาชิกเกสตาโพระดับสูงหลายคนถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิต

อ้างอิง[แก้]

  1. Gellately 1992, p. 44.
  2. Johnson 1999, pp. 483–485.
  3. Snyder 1994, p. 242.
  • Lumsden, Robin (2002). A Collector's Guide To: The Allgemeine – SS, Ian Allan Publishing, Inc. ISBN 0-7110-2905-9.