อักษรลนตารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อักษรลนตารา/มากาซาร์)
อักษรลนตารา
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ พ.ศ. 2243–ปัจจุบัน
ทิศทางLeft-to-right Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาบูกิส
ภาษามากาซาร์
ภาษามันดาร์
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
อักษรบาหลี
อักษรบาตัก
อักษรบายบายิน
อักษรบูฮิด
อักษรฮานูโนโอ
อักษรชวา
อักษรซุนดา
อักษรเรนชอง
อักษรเรชัง
อักษรตักบันวา
ISO 15924
ISO 15924Bugi (367), ​Buginese
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Buginese
ช่วงยูนิโคด
U+1A00–U+1A1F
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรลนตารา หรือ อักษรมากาซาร์ (Lontara or Makasar alphabet) พัฒนามาจากอักษรพราหมี คำว่าลนตาราเป็นภาษามลายูหมายถึงชื่อของใบปาล์มลนตราที่ใช้เขียนหนังสือในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย ตรงกับใบลานในภาษาไทยใช้เขียน ภาษาบูกิส ภาษามากาซาร์ และภาษามันดาร์ ภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในเกาะซูลาเวซี ปัจจุบันใช้เขียนเฉพาะภาษามากาซาร์

ประวัติ[แก้]

อักษรลนตาราสืบทอดมาจากอักษรกวิ ที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทะเลเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 ไม่แน่นอนว่าอักษรนี้จะสืบทอดโดยตรงจากอักษรกวิหรือพัฒนามาจากลูกหลานของอักษรกวิอีกทีหนึ่ง อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าอักษรนี้เกิดขึ้นทีหลังอักษรเรยัง เพราะมีรูปร่างอักษรคล้ายกัน แต่อักษรลนตาราบางตัวที่ไม่ม้วนงออาจพัฒนาขึ้นมาทีหลัง

คำว่าลนตารามีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของบูกิส และตำนานของซูเรก ฆาลีโฆ อักษรชนิดนี้เคยใช้เขียนเกี่ยวกับกฎหมาย แผนที่ บันทึกการเดินทาง โดยเขียนลงบนใบของพืชวงศ์ปาล์มที่เรียกลนตารา แม้ว่าปัจจุบันอักษรละตินจะเข้ามาแทนที่อักษรลนตารา แต่ยังคงใช้อย่างจำกัดในหมู่ชาวบูกิสและมากาซาร์ ในบูกิสจะใช้ในโอกาสงานเฉลิมฉลอง เช่น งานแต่งงาน ใช้ตีพิมพ์วรรณคดีพื้นเมืองของชาวบูกิส ในมากาซาร์ใช้เขียนเอกสารส่วนตัว เช่นจดหมาย

การใช้งาน[แก้]

อักษรบูกิสเป็นอักษรในตระกูลเดียวกับอักษรพราหมี มีพยัญชนะ 23 ตัว และแต่ละตัวมีพื้นเสียงเป็นสระ /a/ ซึ่งออกเสียงเป็น “ออ” ในภาษาบูกิส มีรูปสระเพื่อแทนเสียง /i/, /u/, /e/, /ə/, /o/ เสียงนาสิก เสียง อ ที่มีในภาษาบูกิสจะไม่เขียน ทำให้เอกสารค่อนข้างกำกวมสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้เป็นภาษาแม่ ปกติเขียนจากซ้ายไปขวา หรือจะเขียนสลับซ้ายไปขวาแล้วขวาไปซ้ายซึ่งจะพบการเขียนแบบนี้ในเอกสารเก่าๆ

ตัวอักษร[แก้]

พยัญชนะ[แก้]

ka ga nga ngka pa ba ma mpa ta da na nra
ca ja nya nca ya ra la wa sa a ha

สระ[แก้]

เครื่องหมายแสดงสระเรียก ana’ surə’ ใช้เปลี่ยนเสียงสระที่เกาะกับพยัญชนะ มี 5 ตัวโดย /ə/ ไม่ใช้ในภาษามากาซาร์ แบ่งได้สองชุดคือ จุด (tətti’)และเครื่องหมายขีด(kəccə’)[1]

a i u e ə o
- Tətti’ riasə’ Tətti’ riawa kəccə’ riolo kəccə’ riasə’ kəccə’ rimunri


อักษรลนตาราในคอมพิวเตอร์[แก้]

อักษรลนตาราได้ถูกเพิ่มในยูนิโค้ดตั้งแต่รุ่น 4.1

อักษรลนตารา
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+1A0x
U+1A1x ◌ᨗ ◌ᨘ ◌ᨙ ◌ᨚ ◌ᨛ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lontara' Ugi « Dunia Kata-Kata Ku". Chimutluchu.wordpress.com. 2010-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.